ReadyPlanet.com




การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง

เคยได้ยินคำพูดประมาณว่า "จะลงทุนทำอะไรมันก็เสี่ยงทั้งนั้น....ฝากธนาคารก็ยังเสี่ยง" กันบ้างมั้ยครับ จะว่าไปแล้วก็ไม่ผิดหรอกนะครับ เพียงแต่ ก็ไม่ได้ถูกไปซะทั้งหมด เพราะ แน่นอนว่า การฝากธนาคาร แม้จะเสี่ยง เช่น แบงค์อาจจะล้ม (ปัจจุบัน กฎหมายประกันเงินฝากไม่คุ้มครอง100%) แต่ก็เสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนอย่างอื่นมาก อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า เมื่อความเสี่ยงน้อย ผลตอบแทนก็น้อยลงไป คำถามคือ แล้วเราจะมีวิธีการอย่างไรที่จะวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างกันไป ให้ออกมาเป็นตัวเลขที่วัดได้

               ในทางทฤษฎีแล้ว เรื่องการตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยงที่แตกต่างกันนั้น นักวิชาการก็มีการสรุปออกมาเป็นหลักการ โดยใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เข้าช่วย คือ เรื่องของความน่าจะเป็น

ทฤษฎีความน่าจะเป็นจะเกี่ยวกับโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ทั้งหมดที่เป็นไปได้ ยกตัวอย่างเช่น โยนเหรียญบาท 1 ครั้ง เหตุการณ์ทั้งหมดที่เป็นได้มีเพียง 2 กรณี คือ หัว หรือ ก้อย เพราะฉะนั้น โอกาสที่จะออกหัวเท่ากับ 0.5 และโอกาสที่จะออกก้อยเท่ากับ 0.5

                ก่อนที่เราจะตัดสินใจ เราจะต้องมีข้อมูลให้พร้อมก่อน คือ  ทางเลือกต่างๆที่เราสามารถตัดสินใจได้, เหตุการณ์ทั้งหมดที่เป็นไปได้สำหรับแต่ละทางเลือก, และโอกาสหรือความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นสำหรับแต่ละเหตุการณ์ , และเมื่อเกิดเหตุการณ์นั้นๆขึ้นแล้ว ผลลัพธ์คืออะไร  ในส่วนของความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนี้ เราจะต้องสามารถประเมินออกมาเป็นตัวเลขได้

                หลังจากนั้น เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ได้ง่ายขึ้น เราก็อาจจะใช้แผนผังต้นไม้ ดังตัวอย่างที่ 1

 

 

 

                                                                  

                                                            ตัวอย่างที่ 1

 

 

               D คือ จุดตัดสินใจ โดยมีทางเลือกอยู่สองทาง คือ A และ ในแต่ละทางเลือก A และ B จะมีโอกาสเกิดเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ซึ่งมีโอกาสความน่าจะเป็น และ ผลลัพธ์(กำไร)ตามตัวเลขที่แสดงในแผนผัง

               

               ในการคำนวณนั้น เราจะใช้ค่าคาดหมายของกำไรในแต่ละทางเลือก โดย

 

ค่าคาดหมาย A = PA1*(RA1) + PA2*(RA2)

และ

ค่าคาดหมาย B = PB1*(RB1) + PB2*(RB2)

 

เมื่อแทนตัวเลขลงไปจะได้

 

ค่าคาดหมาย A = 0.7(1200) + 0.3(-200) = 780

ค่าคาดหมาย B = 0.6(1300)+0.4(-300) = 660

 

เมื่อดูจากข้อมูลที่ให้มา ค่าคาดหมายของทางเลือก A ได้ผลตอบแทนมากกว่า จึงควรตัดสินใจเลือกทางเลือก A

 

อันนี้ก็เป็นตัวอย่างง่ายๆนะครับ เพื่อให้เข้าใจแบบพื้นฐาน ในชีวิตจริง ลองนึกดูเล่นๆก็จะพบว่า ทางเลือกไหนความเสี่ยงสูง หรือ ต่ำ ผลตอบแทนก็จะแปรผันไปตามนั้น เพียงแต่อาจจะยากในการประเมินออกมาเป็นตัวเลขสำหรับความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น เช่น ถ้าทางเลือกหนึ่งคือ ปล้นธนาคาร เหตุการณ์ที่เป็นไปได้คือ ปล้นสำเร็จ กับ โดนตำรวจจับ อาจจะประมาณความน่าจะเป็น ได้ 0.1 กับ 0.9 และผลลัพธ์ ถ้าปล้นสำเร็จคือ +4 ล้านบาท กับ ถ้าติดคุก -1 ล้าน (ค่าเสียเวลาและความลำบาก) เมื่อคำนวณค่าความคาดหมายออกมาแล้วก็จะได้เท่ากับ 0.1*(4 ล้าน) + 0.9*(-1 ล้าน) = -0.5 ล้าน ก็เป็นทางเลือกที่ไม่น่าสนใจ แต่สำหรับบางคนแล้วอาจจะเถียงว่า ถ้าวางแผนดีๆโอกาสสำเร็จกับโดนจับเปลี่ยนเป็น 50-50 หรือ อาจจะบอกว่า ติดคุกเรื่องเล็ก ค่าเสียเวลาคิดเป็นเงินประมาณสองแสนก็พอแล้ว เมื่อเปลี่ยนตัวเลขตามที่ประเมินใหม่ ก็ได้ค่าคาดหมายเป็นบวก และกลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ อันนี้ก็แล้วแต่ท่านครับ แต่ถ้าโดนจับ อย่าบอกว่า ผมแนะนำให้มาปล้นธนาคารก็แล้วกัน

ก็คุยกันเล่นๆนะครับ เพื่อแสดงให้เห็นว่า ในทางปฏิบัติแล้วก็อาจจะมีทางเลือกมากมาย, แต่ละทางเลือกนั้นก็จะมีเหตุการณ์ที่เป็นไปได้อีกหลายๆเหตุการณ์ เพราะฉะนั้นแผนผังที่เกิดขึ้นก็จะซับซ้อนกว่ามาก อีกทั้ง โอกาส หรือ ผลลัพธ์ต่างๆก็อาจจะประมาณออกมาเป็นตัวเลขได้ยาก แต่วิธีที่ว่ามานี้ก็เป็นหลักการหนึ่งที่เราอาจจะเอาไปประยุกต์ใช้ได้ และ หากศึกษาลึกลงไป ในทางทฤษฎีแล้ว ตัวเลขเหล่านี้ ก็จะมีหลักทางสถิติศาสตร์อีกหลายๆอย่าง ที่จะมาช่วยรองรับความผันผวนของการประมาณตัวเลขครับ

ฉบับนี้ก็ลาไปก่อน สวัสดีครับ

 

อ้างอิง ไพบูลย์ แย้มเผื่อน, เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม, กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2548.

 

ดร.อภิชาติ ชยานุภัทร์กุล

ผู้จัดการฝ่ายผลิต บจก. พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีล เซ็นเตอร์

ตีพิมพ์ในวารสารเพื่อนสเตนเลส ปีที่ 3 ฉบับที่ 36/ มีนาคม 2552


 




บทความจากวารสารเพื่อนสเตนเลส

ความแตกต่างของการทำวีคัทจากเครื่อง NC และ CNC
งานคิ้วและกรุยเชิงด้วยเทคนิค วีคัท ใช้ในงานตกแต่งอะไรบ้าง?
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
วิธีดูงานเนี้ยบ VS งานหยาบ ในการพับและม้วนโลหะของชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์
ตัดพับโลหะและการเชื่อมโลหะ ขั้นตอนในการทำชิ้นส่วนของเครื่องจักรหลายประเภท
5 สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนออกแบบงานพับเหล็กและงานดัดโค้ง
เทคนิคการทำ วีคัท อย่างไรให้ได้ชิ้นงานที่สวยสำหรับงานตกแต่ง
การนำท่อสแตนเลส ท่อเหล็ก และเพลาเหล็กขนาดต่าง ๆ ไปใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม
การทำสีโลหะทองเหลืองและทองแดง
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
งานสแตนเลสแบบใด ที่เหมาะกับการตัดพลาสมา
ความแตกต่างระหว่างคิ้วสแตนเลสสำเร็จรูปและคิ้วสแตนเลสแบบสั่งทำ
ไอเดีย เลือกสีคิ้วสแตนเลสให้เข้ากับกระเบื้อง สไตล์ Mood&Tone
คุณสมบัติของเหล็กเกรดต่าง ๆ ส่งผลต่อแรงดันในการตัดพับเหล็กอย่างไร
นวัตกรรม Anti-Fingerprint บนสแตนเลสแผ่น
การทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องเลเซอร์เหล็กกับ AutoCAD
เลเซอร์เหล็กรูปแบบใดบ้าง ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
ตัดเลเซอร์ 3D สามารถใช้ตัดงานขึ้นรูปโลหะแบบไหนได้บ้าง
เลเซอร์เหล็กและตัดพับเหล็ก เหมาะกับการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมใดบ้าง
ขั้นตอนการเตรียมพื้นผิวงานสแตนเลสสั่งทํา
เลเซอร์ตัดเหล็กกับความหนา-บางของวัสดุ
งานสแตนเลสสั่งทํากับงานสถาปัตยกรรม
เศษจากการเลเซอร์เหล็ก สามารถนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง
ลักษณะการใช้งานของคิ้วสแตนเลสตัว T และ ตัว U
การออกแบบและเลือกใช้หลอดไฟ LED สำหรับป้ายอักษรโลหะ
วิธีแก้รื้อ แก้ไขป้ายอักษรโลหะ ให้พื้นผิวเสียหายน้อยที่สุด
ปัจจัยที่ทำให้งานขึ้นรูปโลหะไม่ได้คุณภาพ มีอะไรบ้าง
ข้อห้ามที่ไม่ควรทำกับพื้นผิวคิ้ว/กรุยเชิงสแตนเลส
ทำไมต้องใช้ คิ้ว /กรุยเชิงสแตนเลสในการตกแต่งอาคาร
การติดตั้งคิ้วสแตนเลส กรุยเชิงสแตนเลส
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีป้ายอักษรโลหะและป้ายประเภทอื่น ๆ
ประโยชน์ของการใช้ป้ายอักษรโลหะในธุรกิจ
วิธีการบำรุงรักษาป้ายอักษรโลหะเพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนาน
ไอเดียการออกแบบป้ายอักษรโลหะให้เหมาะกับธุรกิจ
ประโยชน์ของการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
วิธีการพับโลหะแผ่น
ขั้นตอนการขัดผิวงานสแตนเลส Finishing stainless steel
การเปรียบเทียบ Punching สแตนเลส กับวิธีการอื่น ๆ ในการปั๊มเจาะรูโลหะ
ข้อดีของการใช้สแตนเลสเป็นหน้ากากอาคาร
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
ประโยชน์และการทำงาน รวมถึงข้อจำกัดของงานวีคัท
ปัจจัยที่สำคัญและเทคนิคการเชื่อมเลเซอร์ในงานอุตสาหกรรม
การบำรุงรักษาเครื่องตัดเลเซอร์ เพื่อให้ได้งานตัดเลเซอร์ที่มีคุณภาพ
ตกแต่งบ้านให้ดูหรูหรา ทันสมัย ด้วยกรุยเชิงสแตนเลส
งานตัดพับเหล็กที่มีคุณภาพ มีลักษณะเป็นอย่างไร
ปัจจัยในเลือกเกรดสแตนเลสแผ่นให้เหมาะกับการใช้งาน
มาทำความรู้จักคุณลักษณะของพื้นผิวสแตนเลสแผ่นแต่ละชนิด
เครื่องเลเซอร์ตัดเหล็ก กับงานอุตสาหกรรม
การตัดสแตนเลสแผ่นด้วยเครื่องจักรเลเซอร์ VS แรงงานคน
คุณสมบัติของราวบันไดสแตนเลสและกับการตกแต่งอาคาร
วิธีการดูแลรักษาสแตนเลสแผ่น (แผ่นสีเงิน)
การทำสีโลหะด้วยสีฝุ่นและสีน้ำมัน แตกต่างกันอย่างไร
งานสแตนเลสสั่งทำ กับการตกแต่งบ้านและอาคาร
ไอเดียออกแบบป้ายอักษรโลหะอย่างไร ให้ร้านค้าดูสวยโดดเด่น
กระบวนการในการขึ้นรูปโลหะ
การเลือกใช้แผ่นสแตนเลสสีในงานประกอบ
ความแตกต่างระหว่าง คิ้วสเเตนเลส บัวสเเตนเลสและอะลูมิเนียม
เครื่องตัดเลเซอร์มีกี่ประเภท
งานสแตนเลสสั่งทำ เชื่อมสแตนเลส เชื่อมเหล็ก
สแตนเลสแผ่นกับการทำฝ้าเพดาน
รอยต่อการเชื่อมเหล็กในงานโครงสร้าง
เครื่องจักรญี่ปุ่นที่มีมาตรฐานสูง ส่งผลต่อคุณภาพของงานตัดพับเหล็ก ตัดสแตนเลสอย่างไร
ทำไมต้องใช้แผ่นสแตนเลสสี ของ BLISS metal
ก่อนทำป้ายอักษรโลหะขนาดใหญ่ ต้องรู้อะไรบ้าง
วิวัฒนาการของการทำสีสแตนเลส
งานสแตนเลสกับงาน Interior Design
งานโลหะ ตัดเลเซอร์ พับ ม้วนโลหะแผ่น เจาะรู เชื่อม ทำสี ครบจบวงจรที่ P&S Stainless
สแตนเลสกับสนิม
ปัจจัยที่มีผลกับราคาของงานขึ้นรูปโลหะ ทำไมราคาของแต่ละที่ถึงต่างกัน
Give and Take
อลูมิเนียม
Big Data Analytics
Win – Win
ธุรกิจเพื่อผู้สูงอายุ
จริยธรรมในธุรกิจ
Infographics
เดินประชุม
Internet of Things (IoT)
โฟกัสกลุ่มเป้าหมาย article
ศรัทธากับความจริง
โลกสมัยใหม่กับพ่อค้าคนกลาง
รถยนต์จากบริษัท IT
พลังแห่งการลืม
AND THIS TOO SHALL PASS
Coworking Space
SMALL IS BEAUTIFUL
การใช้ระบบ IT ในองค์กร
เซกานิก เอฟเฟค
เยี่ยมชมโรงงานที่ญี่ปุ่น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาสเตนเลส
Sheet Metal Exhibitions
เทคโนโลยีที่ล้มเหลว
ไมอีลิน
Frank Gehry กับงานสถาปัตยกรรมสเตนเลส
พัฒนาการของ Metal 3D printer
ความเป็นเยอรมัน
Folding Machine article
ความไร้เหตุผลของความเห็นอกเห็นใจ article
EoS กับ Tesla



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (38666)
ผลลัพธ์ในทางปฏิบัติไม่น่าจะเป็นค่าคงที่นะครับ เช่น อาจแปรผันทางเวลาได้ และการใช้วิธีนี้ผมคิดว่า เหมาะสำหรับการ ทำธุรกิจหลายๆครั้งจน ผลลัพธ์เข้าใกล้ expextation ซึ่งในบางธรุกิจอาจเกิดความเสียหายได้ไม่กี่ครั้งเท่านั้น
ผู้แสดงความคิดเห็น Mr. AAA วันที่ตอบ 2010-10-14 01:55:41



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล