ReadyPlanet.com




จดหมายจากผู้อ่าน

 

มีเมล์จากผู้อ่านฉบับหนึ่งเขียนมาถามผมถึงการคิดราคาค่าตัดเลเซอร์ที่เคยเขียนลงในบทความ ซึ่งผมก็ได้ให้คำแนะนำไปพอสมควร แต่เห็นว่ามีหลายประเด็นที่น่าสนใจ ผมจึงขออนุญาตเอามาคุยกันในคอลัมน์ฉบับนี้นะครับ

1. การคำนวณหาเวลาที่ใช้ในการตัดยังไม่ได้ค่าที่ใกล้เคียงความจริง บางครั้งต้องลองวาดแบบแล้วเอาเข้าไปในโปรแกรมของเครื่องเลเซอร์ ให้โปรแกรมช่วยคำนวณเวลาให้ซึ่งเสียเวลามาก ควรจะทำอย่างไร?

ในขั้นตอนการเสนอราคานั้น หากเราต้องนำแบบไปคำนวณในโปรแกรมเลเซอร์จะเป็นเรื่องที่เสียเวลาและทรัพยากรมากครับ เพราะเรายังไม่รู้ว่าจะได้ออร์เดอร์หรือเปล่า แถมยังไปเบียดเบียนทรัพยากรฝ่ายผลิตที่ควรจะนำไปใช้สำหรับการผลิตจริงอีกด้วย  เพราะฉะนั้นเราก็หาเวลาให้ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ ซึ่งก็จะมีตัวแปรหลักๆ 3 ตัวที่เราหาให้ได้สำหรับแต่ละวัสดุ/ความหนา คือ (a) Feed (อัตราเร็วที่หัวเดิน), (b) เวลาเจาะรู, และ (c) เวลาเดินหักมุม เรื่อง Feed นั้น ทางผู้ขายเครื่องจะมีตารางconditionมาให้อยู่แล้ว แต่ในทางปฏิบัติ แม้วัสดุ/ความหนาเดียวกัน ก็อาจจะใช้ค่าที่แตกต่างกันบ้าง แต่จะมีอยู่บางค่าที่เราใช้บ่อยที่สุดก็ยึดค่านั้นเป็นหลัก หรือ อาจจะหาค่าเฉลี่ย ถ้าใช้หลายๆค่าพอๆกัน  เอาเข้าจริงๆแล้วมันไม่ได้ต่างกันมากนัก  สำหรับเวลาเจาะรูนั้นก็จะมีค่าในตาราง condition เช่นกัน แต่อาจจะไม่ตรงนัก ก็ต้องลองจับข้อมูลดูแล้วมาเทียบกัน ก็คงต้องขอความร่วมมือจากหัวหน้าฝ่ายผลิต ให้เค้าช่วยจับเวลาที่ใช้ในการเจาะรู/รูสำหรับแต่ละวัสดุ/ความหนา จากงาน Production จริง อาจจะไม่ต้องหาทุกความหนาก็ได้ แต่ให้มันกระจายๆกัน เช่น 1mm, 3mm, 5mm, 8mm,12mm แล้วความหนาที่อยู่ระหว่างนั้น (2mm, 4mm, 6mm ฯลฯ) ก็เทียบบัญญัติไตรยางค์เอา เวลาจับพยายามให้เริ่มและจบเหมือนๆกันทุกครั้ง คือ เริ่มกดจับตอนเครื่องมาหยุดจุดที่จะเจาะ และกดหยุดตอนที่เครื่องเจาะทะลุ จับดูหลายๆครั้งแล้วหาค่าเฉลี่ยเอา เพราะบางทีอาจมีความคลาดเคลื่อนจากการที่เครื่อง purge gas หรือ การกดจับเวลาของพนักงาน สุดท้ายเรื่องเวลาเดินหักมุมนั้น อาจจะมีผลน้อยที่สุด แต่สำหรับงานหนาๆที่มีมุมเยอะๆ อาจส่งผลให้การคำนวณผิดพลาดเป็นเท่าตัว การกดจับเวลานั้นคงจะทำได้ลำบากเพราะ เวลาตรงนี้ค่อนข้างน้อยมากและไม่รู้จะเริ่มจะจบตรงไหน เราก็อาจจะทำการทดลองลักษณะนี้ครับ ลองตัดรูป 2 รูป ที่มีเส้นรอบรูปเท่ากันและจำนวนรูเท่ากัน เพื่อจะได้เปรียบเทียบส่วนต่างของเวลารวมแล้วมาหารจำนวนมุม อย่างเช่นรูปนี้ครับ

 

 

  

 

 

อันนี้ผมวาดคร่าวๆนะครับให้เป็นไอเดีย แต่หลักการคือเราต้องการให้รูปทั้งสองมีเส้นรอบรูปเท่ากัน และ มีจำนวนรูเท่ากัน เพื่อควบคุมตัวแปรที่มีผลกระทบทั้งหมด เมื่อตัดออกมาแล้วจะพบว่าเวลาที่ใช้ทั้งสองรูปนี้จะต่างกัน ซึ่งส่วนต่างนี้คือเวลาเสียไปในการหักมุมนั่นเองครับ ถ้าอย่างรูปสี่เหลี่ยมข้างบนนี้มี 40 มุม ทีนี้เราก็เอาส่วนต่างมาหาร 40 การทดลองแบบนี้ต้องเสียทั้งเวลาและวัสดุ ก็คงทำไม่ได้ทุกความหนา/วัสดุ อาจจะต้องเทียบบัญญัติไตรยางค์และดูข้อมูลของงาน Production จริงประกอบด้วย

คราวนี้ได้ ทั้งสามค่ามาแล้ว ก็ลองแทนค่าในสูตรดู แล้วเก็บข้อมูลเทียบเวลาคำนวณตอนเสนอราคากับเวลาจริงที่เครื่องตัดสำหรับงานที่ได้ออร์เดอร์ แล้วค่อยๆปรับค่าไป ช่วงแรกๆก็คงต้องขอความร่วมมือจากทางช่างฝ่ายผลิตให้ช่วยเก็บข้อมูลให้ละเอียดหน่อย

อันที่จริงแล้วนอกจากตัวแปรเหล่านี้ ยังมีเวลาที่หัวเคลื่อนย้ายตำแหน่งโดยไม่ได้ตัดอีกด้วย แต่ส่วนนั้นผมไม่ได้เอามาคิด เพราะ 1. แทบจะเป็นไปไม่ได้ในการหาเส้นทางที่หัวเคลื่อนในลักษณะนั้น นอกจากจะเอาไปทำในโปรแกรม NC 2. เวลาเหล่านี้โดยทั่วไปแล้วมีค่าน้อยมาก และ 3. เวลาเหล่านี้เครื่องไม่ได้ใช้แก๊สเพราะไม่ได้ทำการตัด ต้นทุนตรงนี้ก็ถือว่าน้อยมากจนพอจะตัดทิ้งไปได้ เพราะฉะนั้น เวลาที่คำนวณได้ก็อาจจะไม่ได้ตรงกับเวลาจริง 100% หรอกนะครับ แต่สิ่งที่เราพยายามทำก็คือให้ใกล้เคียงมากที่สุด โดยควบคุมตัวแปรที่มีผลกระทบเท่าที่จะทำได้ ซึ่งมันก็คงไม่ได้แม่นยำไปกว่าเอา dwg เข้าไปใส่ในโปรแกรมของเครื่องเลเซอร์ แต่เพื่อตอบสนองลูกค้าให้ได้รวดเร็ว บางทีเราก็ต้องยอมประนีประนอมกับความแม่นยำของเวลาที่ใช้ และโดยเฉพาะถ้าลูกค้าไม่มีไฟล์ CAD มาให้ เราก็สามารถเสนอราคาได้โดยไม่ต้องไปวาดให้เสียเวลา (โดยเฉพาะถ้าลูกค้าไม่สั่ง) บางทีราคาผ่านแต่เสนอช้ากลายเป็นไม่ได้ออร์เดอร์ไปเสียอีก

เดี๋ยวฉบับหน้ามาคุยกันต่อครับ

 

ดร.อภิชาติ ชยานุภัทร์กุล

ผู้จัดการฝ่ายผลิต บจก. พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีล เซ็นเตอร์

ตีพิมพ์ในวารสารเพื่อนสเตนเลส ปีที่ 2 ฉบับที่ 29/ สิงหาคม 2551




บทความจากวารสารเพื่อนสเตนเลส

ความแตกต่างของการทำวีคัทจากเครื่อง NC และ CNC
งานคิ้วและกรุยเชิงด้วยเทคนิค วีคัท ใช้ในงานตกแต่งอะไรบ้าง?
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
วิธีดูงานเนี้ยบ VS งานหยาบ ในการพับและม้วนโลหะของชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์
ตัดพับโลหะและการเชื่อมโลหะ ขั้นตอนในการทำชิ้นส่วนของเครื่องจักรหลายประเภท
5 สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนออกแบบงานพับเหล็กและงานดัดโค้ง
เทคนิคการทำ วีคัท อย่างไรให้ได้ชิ้นงานที่สวยสำหรับงานตกแต่ง
การนำท่อสแตนเลส ท่อเหล็ก และเพลาเหล็กขนาดต่าง ๆ ไปใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม
การทำสีโลหะทองเหลืองและทองแดง
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
งานสแตนเลสแบบใด ที่เหมาะกับการตัดพลาสมา
ความแตกต่างระหว่างคิ้วสแตนเลสสำเร็จรูปและคิ้วสแตนเลสแบบสั่งทำ
ไอเดีย เลือกสีคิ้วสแตนเลสให้เข้ากับกระเบื้อง สไตล์ Mood&Tone
คุณสมบัติของเหล็กเกรดต่าง ๆ ส่งผลต่อแรงดันในการตัดพับเหล็กอย่างไร
นวัตกรรม Anti-Fingerprint บนสแตนเลสแผ่น
การทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องเลเซอร์เหล็กกับ AutoCAD
เลเซอร์เหล็กรูปแบบใดบ้าง ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
ตัดเลเซอร์ 3D สามารถใช้ตัดงานขึ้นรูปโลหะแบบไหนได้บ้าง
เลเซอร์เหล็กและตัดพับเหล็ก เหมาะกับการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมใดบ้าง
ขั้นตอนการเตรียมพื้นผิวงานสแตนเลสสั่งทํา
เลเซอร์ตัดเหล็กกับความหนา-บางของวัสดุ
งานสแตนเลสสั่งทํากับงานสถาปัตยกรรม
เศษจากการเลเซอร์เหล็ก สามารถนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง
ลักษณะการใช้งานของคิ้วสแตนเลสตัว T และ ตัว U
การออกแบบและเลือกใช้หลอดไฟ LED สำหรับป้ายอักษรโลหะ
วิธีแก้รื้อ แก้ไขป้ายอักษรโลหะ ให้พื้นผิวเสียหายน้อยที่สุด
ปัจจัยที่ทำให้งานขึ้นรูปโลหะไม่ได้คุณภาพ มีอะไรบ้าง
ข้อห้ามที่ไม่ควรทำกับพื้นผิวคิ้ว/กรุยเชิงสแตนเลส
ทำไมต้องใช้ คิ้ว /กรุยเชิงสแตนเลสในการตกแต่งอาคาร
การติดตั้งคิ้วสแตนเลส กรุยเชิงสแตนเลส
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีป้ายอักษรโลหะและป้ายประเภทอื่น ๆ
ประโยชน์ของการใช้ป้ายอักษรโลหะในธุรกิจ
วิธีการบำรุงรักษาป้ายอักษรโลหะเพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนาน
ไอเดียการออกแบบป้ายอักษรโลหะให้เหมาะกับธุรกิจ
ประโยชน์ของการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
วิธีการพับโลหะแผ่น
ขั้นตอนการขัดผิวงานสแตนเลส Finishing stainless steel
การเปรียบเทียบ Punching สแตนเลส กับวิธีการอื่น ๆ ในการปั๊มเจาะรูโลหะ
ข้อดีของการใช้สแตนเลสเป็นหน้ากากอาคาร
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
ประโยชน์และการทำงาน รวมถึงข้อจำกัดของงานวีคัท
ปัจจัยที่สำคัญและเทคนิคการเชื่อมเลเซอร์ในงานอุตสาหกรรม
การบำรุงรักษาเครื่องตัดเลเซอร์ เพื่อให้ได้งานตัดเลเซอร์ที่มีคุณภาพ
ตกแต่งบ้านให้ดูหรูหรา ทันสมัย ด้วยกรุยเชิงสแตนเลส
งานตัดพับเหล็กที่มีคุณภาพ มีลักษณะเป็นอย่างไร
ปัจจัยในเลือกเกรดสแตนเลสแผ่นให้เหมาะกับการใช้งาน
มาทำความรู้จักคุณลักษณะของพื้นผิวสแตนเลสแผ่นแต่ละชนิด
เครื่องเลเซอร์ตัดเหล็ก กับงานอุตสาหกรรม
การตัดสแตนเลสแผ่นด้วยเครื่องจักรเลเซอร์ VS แรงงานคน
คุณสมบัติของราวบันไดสแตนเลสและกับการตกแต่งอาคาร
วิธีการดูแลรักษาสแตนเลสแผ่น (แผ่นสีเงิน)
การทำสีโลหะด้วยสีฝุ่นและสีน้ำมัน แตกต่างกันอย่างไร
งานสแตนเลสสั่งทำ กับการตกแต่งบ้านและอาคาร
ไอเดียออกแบบป้ายอักษรโลหะอย่างไร ให้ร้านค้าดูสวยโดดเด่น
กระบวนการในการขึ้นรูปโลหะ
การเลือกใช้แผ่นสแตนเลสสีในงานประกอบ
ความแตกต่างระหว่าง คิ้วสเเตนเลส บัวสเเตนเลสและอะลูมิเนียม
เครื่องตัดเลเซอร์มีกี่ประเภท
งานสแตนเลสสั่งทำ เชื่อมสแตนเลส เชื่อมเหล็ก
สแตนเลสแผ่นกับการทำฝ้าเพดาน
รอยต่อการเชื่อมเหล็กในงานโครงสร้าง
เครื่องจักรญี่ปุ่นที่มีมาตรฐานสูง ส่งผลต่อคุณภาพของงานตัดพับเหล็ก ตัดสแตนเลสอย่างไร
ทำไมต้องใช้แผ่นสแตนเลสสี ของ BLISS metal
ก่อนทำป้ายอักษรโลหะขนาดใหญ่ ต้องรู้อะไรบ้าง
วิวัฒนาการของการทำสีสแตนเลส
งานสแตนเลสกับงาน Interior Design
งานโลหะ ตัดเลเซอร์ พับ ม้วนโลหะแผ่น เจาะรู เชื่อม ทำสี ครบจบวงจรที่ P&S Stainless
สแตนเลสกับสนิม
ปัจจัยที่มีผลกับราคาของงานขึ้นรูปโลหะ ทำไมราคาของแต่ละที่ถึงต่างกัน
Give and Take
อลูมิเนียม
Big Data Analytics
Win – Win
ธุรกิจเพื่อผู้สูงอายุ
จริยธรรมในธุรกิจ
Infographics
เดินประชุม
Internet of Things (IoT)
โฟกัสกลุ่มเป้าหมาย article
ศรัทธากับความจริง
โลกสมัยใหม่กับพ่อค้าคนกลาง
รถยนต์จากบริษัท IT
พลังแห่งการลืม
AND THIS TOO SHALL PASS
Coworking Space
SMALL IS BEAUTIFUL
การใช้ระบบ IT ในองค์กร
เซกานิก เอฟเฟค
เยี่ยมชมโรงงานที่ญี่ปุ่น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาสเตนเลส
Sheet Metal Exhibitions
เทคโนโลยีที่ล้มเหลว
ไมอีลิน
Frank Gehry กับงานสถาปัตยกรรมสเตนเลส
พัฒนาการของ Metal 3D printer
ความเป็นเยอรมัน
Folding Machine article
ความไร้เหตุผลของความเห็นอกเห็นใจ article
EoS กับ Tesla



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล