ReadyPlanet.com




PERT CHART

PERT CHART การวางแผนลำดับการทำงานในลักษณะงานโปรเจกต์

เครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้ในการวางแผนลำดับการทำงาน เพื่อให้เราเห็นภาพรวม
และวางแผนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ให้ได้มากที่สุด

 

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่เคารพ ฉบับนี้ขอเปลี่ยนมาคุยกันเรื่องการบริหารจัดการบ้างนะครับ เป็นเรื่องของการวางแผนลำดับการทำงานในลักษณะงานโปรเจกต์ อาจจะหนักไปทางทฤษฎีมากหน่อย แต่คิดว่า น่าจะพอเป็นไอเดียเอาไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริงได้นะครับ

 

 

PERT เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้ในการวางแผนลำดับการทำงาน เพื่อให้เราเห็นภาพรวมและวางแผนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ให้ได้มากที่สุด ลองดูรูปที่ 1 ซึ่งเป็นแผนผังการทำงานแบบง่ายๆกันก่อนนะครับ

 

 

 

 

 

 

ตัวอักษร A,B,C,D,E คือ ขั้นตอนการทำงานต่างๆและตัวเลขด้านบนคือ เวลาที่ใช้ในขั้นตอนนั้นๆ ส่วนตัวเลขในวงกลม เป็นเหมือนหลักไมล์ที่แสดงถึงความก้าวหน้าของโปรเจกต์ โดยระหว่างจุดสองจุด หากมีลูกศรเชื่อมแล้ว จุดสองจุดนี้ก็คือ จุดเริ่มและจุดสิ้นสุดของกระบวนการที่อยู่บนลูกศร ตัวเลขหลักไมล์นี้ก็เป็นตัวเลขคร่าวๆนะครับ โดยให้เพิ่มทีละสิบ เพื่อว่าในกรณีที่มีการแทรกงานขึ้นมาก็สามารถใช้ตัวเลขที่อยู่ระหว่างนั้นแทรกลงไปได้ เช่น ถ้ามีการแทรกงานระหว่าง 10 กับ 20 ก็อาจจะเพิ่มจุดหลักไมล์ที่ 15 เป็นต้น การวางแผนโดยใช้ PERT นั้นเริ่มจากการเขียนแผนผังตามลักษณะดังรูปที่ 1  (PERT CHART) สำหรับโปรเจกต์ของเราให้ได้ก่อน หลังจากนั้น เราก็มาหาสายงานวิกฤติ (Critical Path) สำหรับกระบวนการทำงานทั้งหมด  และเมื่อโปรเจกต์ดำเนินไปก็คอยอัพเดทข้อมูลให้สอดคล้องกับการทำงานจริง 

 

สายงานวิกฤติ มีความสำคัญมากเพราะเวลาทั้งหมดที่ใช้ในสายงานวิกฤติ ก็คือ เวลาทั้งหมดที่ใช้สำหรับโครงการ ตามรูปที่ 1 สายงานวิกฤติ คือ เส้นทาง A-C-F ซึ่งใช้เวลาทั้งหมด 7 สัปดาห์  นั่นหมายความว่า เราไม่สามารถเร่งงานให้เร็วกว่า 7 สัปดาห์ได้ หากเราไม่ลดเวลาที่ขั้นตอน A,C, หรือ F เพราะหากเราไปลดเวลาที่ขั้นตอนอื่นท้ายสุดแล้วเราก็ยังคงต้องมารองานที่สายงานวิกฤตินี้เอง

 

รูปที่ 1 เป็นตัวอย่างง่ายๆนะครับ เราใช้ตามองก็พอจะดูสายงานวิกฤติออก แต่ในความเป็นจริงแล้ว โครงการอาจจะมีขั้นตอนหลายสิบขั้นตอน ซึ่งทำให้ระบุสายงานวิกฤติได้ยาก ในส่วนนี้ กระบวนการวางแผนด้วย PERT จะมีขั้นตอน (algorithm)ที่จะคำนวณหาเวลาที่เริ่มต้นได้เร็วสุด, เวลาที่เริ่มได้ช้าที่สุด, เวลาที่เสร็จได้เร็วสุด, เวลาที่เสร็จได้ช้าสุด สำหรับแต่ละขั้นตอนการทำงาน  เวลาเหล่านี้จะถูกนำมาใช้เพื่อหาสายงานวิกฤติให้ได้ในที่สุด นอกจากนี้ ในทางปฏิบัตินั้นการประมาณเวลาสำหรับขั้นตอนการทำงานแต่ละขั้นตอนอาจจะประมาณได้ยาก ซึ่งนักวิชาการก็มีการพัฒนาวิธีการประมาณเวลาในแบบต่างๆ ให้รองรับความผันผวนตรงจุดนี้ด้วย รายละเอียดตรงขั้นตอนการหาสายงานวิกฤติและการประมาณเวลานี้ผมคงไม่อธิบาย ณ ที่นี้ ไม่เช่นนั้นอีกสามฉบับก็คงจะยังไม่จบ หากสนใจก็สามารถหาอ่านได้จากหนังสือวิศวกรรมในหมวดของการวิจัยดำเนินงาน หรือ ค้นหาในอินเตอร์เน็ทดูนะครับ ถ้ามีปัญหาก็อีเมล์มาได้เสมอครับ ฉบับนี้ วารสารเพื่อนสเตนเลสครบรอบ 2 ปี ก็ขอแสดงความยินดี และขอบคุณสำหรับโอกาสที่ทาง TN ให้ผมได้มีพื้นที่ตรงนี้มาตลอดด้วยครับ แล้วพบกันใหม่ครับ

 

 

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อสินค้าได้ที่
บริษัท พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีลเซ็นเตอร์ จำกัด

Tel : 081-618-0778, 081-615-4296, 082-782-8654, 02-753-7753
Fax : 02-753-7770
Email : 
pands_stainless@yahoo.com
LINE : 
@psmetal
Facebook : 
@psstainlesssteel 

 

ดร.อภิชาติ ชยานุภัทร์กุล

ผู้จัดการฝ่ายผลิต บจก. พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีล เซ็นเตอร์

ตีพิมพ์ในวารสารเพื่อนสเตนเลส ปีที่ 2 ฉบับที่ 24/ มีนาคม 2551

  

 

 




บทความจากวารสารเพื่อนสเตนเลส

ประโยชน์ของการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
วิธีการพับโลหะแผ่น
ขั้นตอนการขัดผิวงานสแตนเลส Finishing stainless steel
การเปรียบเทียบ Punching สแตนเลส กับวิธีการอื่น ๆ ในการปั๊มเจาะรูโลหะ
ข้อดีของการใช้สแตนเลสเป็นหน้ากากอาคาร
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
ประโยชน์และการทำงาน รวมถึงข้อจำกัดของงานวีคัท
ปัจจัยที่สำคัญและเทคนิคการเชื่อมเลเซอร์ในงานอุตสาหกรรม
การบำรุงรักษาเครื่องตัดเลเซอร์ เพื่อให้ได้งานตัดเลเซอร์ที่มีคุณภาพ
ตกแต่งบ้านให้ดูหรูหรา ทันสมัย ด้วยกรุยเชิงสแตนเลส
งานตัดพับเหล็กที่มีคุณภาพ มีลักษณะเป็นอย่างไร
ปัจจัยในเลือกเกรดสแตนเลสแผ่นให้เหมาะกับการใช้งาน
มาทำความรู้จักคุณลักษณะของพื้นผิวสแตนเลสแผ่นแต่ละชนิด
เครื่องเลเซอร์ตัดเหล็ก กับงานอุตสาหกรรม
การตัดสแตนเลสแผ่นด้วยเครื่องจักรเลเซอร์ VS แรงงานคน
คุณสมบัติของราวบันไดสแตนเลสและกับการตกแต่งอาคาร
วิธีการดูแลรักษาสแตนเลสแผ่น (แผ่นสีเงิน)
การทำสีโลหะด้วยสีฝุ่นและสีน้ำมัน แตกต่างกันอย่างไร
งานสแตนเลสสั่งทำ กับการตกแต่งบ้านและอาคาร
ไอเดียออกแบบป้ายอักษรโลหะอย่างไร ให้ร้านค้าดูสวยโดดเด่น
กระบวนการในการขึ้นรูปโลหะ
การเลือกใช้แผ่นสแตนเลสสีในงานประกอบ
ความแตกต่างระหว่าง คิ้วสเเตนเลส บัวสเเตนเลสและอะลูมิเนียม
เครื่องตัดเลเซอร์มีกี่ประเภท
งานสแตนเลสสั่งทำ เชื่อมสแตนเลส เชื่อมเหล็ก
สแตนเลสแผ่นกับการทำฝ้าเพดาน
รอยต่อการเชื่อมเหล็กในงานโครงสร้าง
เครื่องจักรญี่ปุ่นที่มีมาตรฐานสูง ส่งผลต่อคุณภาพของงานตัดพับเหล็ก ตัดสแตนเลสอย่างไร
ทำไมต้องใช้แผ่นสแตนเลสสี ของ BLISS metal
ก่อนทำป้ายอักษรโลหะขนาดใหญ่ ต้องรู้อะไรบ้าง
วิวัฒนาการของการทำสีสแตนเลส
งานสแตนเลสกับงาน Interior Design
งานโลหะ ตัดเลเซอร์ พับ ม้วนโลหะแผ่น เจาะรู เชื่อม ทำสี ครบจบวงจรที่ P&S Stainless
สแตนเลสกับสนิม
ปัจจัยที่มีผลกับราคาของงานขึ้นรูปโลหะ ทำไมราคาของแต่ละที่ถึงต่างกัน
Give and Take
อลูมิเนียม
Big Data Analytics
Win – Win
ธุรกิจเพื่อผู้สูงอายุ
จริยธรรมในธุรกิจ
Infographics
เดินประชุม
Internet of Things (IoT)
โฟกัสกลุ่มเป้าหมาย article
ศรัทธากับความจริง
โลกสมัยใหม่กับพ่อค้าคนกลาง
รถยนต์จากบริษัท IT
พลังแห่งการลืม
AND THIS TOO SHALL PASS
Coworking Space
SMALL IS BEAUTIFUL
การใช้ระบบ IT ในองค์กร
เซกานิก เอฟเฟค
เยี่ยมชมโรงงานที่ญี่ปุ่น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาสเตนเลส
Sheet Metal Exhibitions
เทคโนโลยีที่ล้มเหลว
ไมอีลิน
Frank Gehry กับงานสถาปัตยกรรมสเตนเลส
พัฒนาการของ Metal 3D printer
ความเป็นเยอรมัน
Folding Machine article
ความไร้เหตุผลของความเห็นอกเห็นใจ article
EoS กับ Tesla
Human Error
Cross Industry Learning
YAG Laser
3D Printer article
เครื่องตัดไฟเบอร์เลเซอร์กำลังมา article
ใช้สเตนเลสให้เกิดประโยชน์สูงสุด article
เศรษฐกิจไทย 2556 article
พฤติกรรมที่ไม่มีเหตุมีผล
การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ article
Tablet กับการใช้งานในองค์กร article
ทำสีให้สเตนเลส
เศรษฐศาสตร์กับโอลิมปิค
ปรับตัวเพื่ออยู่รอด article
เมื่ออาเซียนเปิดตลาดเสรี article
ความสำเร็จของ Google article
เครื่องพับโลหะแผ่น article
2012: 100 ปี สเตนเลส article
กฎหมายของเขา/ของเรา article
Income gap, Moral gap article
127 hours article
GDP กับ GNH article
คิดให้ดีก่อนทำการตลาด article
300 บาท เพื่อไทย เพื่อใคร? article
การจัดเรียงชิ้นงานในการตัดแผ่นโลหะ article
เลเซอร์มาร์ค article
เครื่องตัดเลเซอร์ทำอะไรได้บ้าง? article
เรื่องเล่าดีๆ " จากญี่ปุ่น" ในวันแผ่นดินไหว article
ซื้อขายแบบตลาดซึกิจิ article
ควันหลงจากโศกนาฎกรรม article
แปลกแยก หรือ แตกต่าง? article
สเตนเลสดูเพล็กซ์กับตลาดยุโรป
ใช้สเตนเลสเกรดไหนดี?
ผิวสเตนเลสแผ่น
Size NB ของท่อสเตนเลส



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (36808)

คือว่าดิฉันทำงานวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์เครือข่าย โดยใช้ PERT/CPM ในการก่อสร้างน่ะค่ะ และไม่ค่อยรู้ขั้นการวางแผนเกี่ยวกับการก่อสร้าง จึงอยากขอคำแนะนำน่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะจากนศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาควิชา สถิติ

ผู้แสดงความคิดเห็น กนศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาค (oilmonkeys-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-09-03 18:59:26


ความคิดเห็นที่ 2 (36810)

ในส่วนของงานก่อสร้าง ผมเองไม่ทราบขั้นตอนการทำงานในรายละเอียดเลยครับ แต่ขอแนะนำในส่วนของหลักการที่อาจจะนำไปประยุกต์ใช้นะครับ

ไม่ว่าจะเป็นโครงงานอะไรก็แล้วแต่ ก่อนอื่นเราต้องทราบขอบข่ายงานทั้งหมดที่เราต้องรับผิดชอบก่อน หลังจากนั้นก็แบ่งงานออกเป็นส่วนๆ และเรียงลำดับขั้นตอนการทำงานทั้งหมด

สมมติว่า เรารับผิดชอบในส่วนของงานโครงสร้างตึก ก็อาจจะแบ่งงานเป็นงานถมที่, ลงเสาเข็ม, ตีแบบไม้, ผูกเหล็ก, เทปูน, ก่ออิฐ,ฉาบปูน ฯลฯ

งานต่างๆเหล่านี้ บางงานต้องรอให้งานอื่นเสร็จก่อนถึงจะเริ่มได้ เช่น ก่อนลงเสาเข็มก็ต้องถมที่ก่อน บางงานสามารถทำไปพร้อมกันได้ เช่น ก่ออิฐ, ขัดพื้น, ฉาบปูน ก็ต้องประมาณเวลาในแต่ละงานและเขียนแผนผังวางลำดับขั้นตอนครับ เรื่องรายละเอียดต่างๆทั้งลำดับและเวลาการทำงานนี้ก็ต้องคุยกับผู้รับเหมา หรือ ผู้รับผิดชอบงานในแต่ละส่วน เมื่อได้ข้อมูลครบแล้วจึงจะใช้ทฤษฎีของ PERT/CPM เข้าช่วย

โครงงานใหญ่ที่ซับซ้อน ทำด้วยมือก็คงไม่ไหวแน่ๆครับ โปรแกรมหนึ่งที่นิยมกันมากคือ Microsoft Project ซึ่งหากมีข้อมูลครบถ้วน โปรแกรมก็จะคำนวณเวลาที่ควรจะเริ่ม,เวลาช้าสุดที่เป็นไปได้สำหรับขั้นตอนต่างๆ รวมไปถึงสายงานวิกฤติ และ เรายังสามารถสร้าง/แก้ไข/อัพเดท แผนผังและพิมพ์ออกมาได้ง่ายๆครับ ในเวอร์ชั่นใหม่ๆยังสามารถทำการอัพเดทผ่านอินเตอร์เนทได้ด้วยสำหรับโครงการที่มีหลายไซต์งาน

ถ้าเราเพียงต้องการศึกษา ไม่ได้ไปใช้งานจริง ก็ดาวน์โหลด Demo version ก็ได้ครับ เค้าให้ทดลองใช้ 60 วัน

ตามลิงค์นี้ครับ

http://office.microsoft.com/en-us/project/HA101672711033.aspx

ผู้แสดงความคิดเห็น อภิชาติ วันที่ตอบ 2009-09-04 10:55:38


ความคิดเห็นที่ 3 (36832)
ขอบคุณมากนะคะได้ความรู้เยอะเลยค่ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (oilmonkeys-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-09-09 23:00:18


ความคิดเห็นที่ 4 (37209)

ขอบคุณมากค่ะที่ให้ความรู้

ผู้แสดงความคิดเห็น นึกศึกษาโรงเรียนพณิชยการทุ่งสง วันที่ตอบ 2009-11-30 09:17:31


ความคิดเห็นที่ 5 (37212)
ด้วยความยินดีครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น อภิชาติ วันที่ตอบ 2009-12-01 16:00:09


ความคิดเห็นที่ 6 (37258)

ขอบคุฯมากๆครับ ช่วยได้เยอะกำลังจะสอบพอดีเลยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เชียงใหม่ วันที่ตอบ 2009-12-18 04:02:35


ความคิดเห็นที่ 7 (37940)
อาจารย์คะอยากจะได้ความหมายของเพิร์ทและซีพีเอ็มหลายๆหัวข้อพอจะมีไหมคะพอดีใกล้สอบแล้ว
ผู้แสดงความคิดเห็น ขอนแก่น วันที่ตอบ 2010-05-14 10:17:18


ความคิดเห็นที่ 8 (37944)

ไม่เข้าใจคำถามครับ

ความหมายของเพิร์ทและซีพีเอ็มหลายๆหัวข้อ คือ?

ถ้าเป็นพวกคำนิยามก็หาในหนังสือ หรือ อินเตอร์เน็ทก็มีเยอะครับ

ที่อยากจะแนะนำคือ พยายามทำความเข้าใจวิธีการสร้างและนำไปประยุกต์ใช้

ถ้าเข้าใจตรงนั้นแล้วก็สามารถเขียนความหมายตามความเข้าใจของเราเองได้ไม่ยากครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น อภิชาติ วันที่ตอบ 2010-05-15 09:31:41


ความคิดเห็นที่ 9 (38523)

จะใช้เวลานานเท่าไรแต่ให้ผลการปรับปรุงออกมาสมบูรณ์ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้วสมัยก่อนpertเป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่ายเข้าใจที่สุดเด็กเล็กก็ใช้ได้ดีขอใหประสบผลสำเร็จเร็ววัน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น sao วันที่ตอบ 2010-09-11 12:24:54


ความคิดเห็นที่ 10 (39087)

 

  หนูอยากได้ข้อมูล  Program  Pert  ที่เกี่ยวกับการบริหารการจัดการศึกษา    อ.  เขาให้ทำส่ง  แต่หนูงงมากๆ เลย

ขอความกรุณาช่วยคนยังไม่รู้อย่างหนูสักคนนะคะ 

            ขอบคุณคะ

           พิมสวิยา

ผู้แสดงความคิดเห็น น้ำหวาน (p-dot-tippaworn-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-01-08 13:48:59



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล