ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีป้ายอักษรโลหะและป้ายประเภทอื่น ๆ
ติดตั้งป้ายอักษรโลหะและป้ายประเภทอื่น ๆ ให้กับกิจการร้านค้าหรือบริษัท จะต้องเสียภาษีอย่างไร
หากบริษัท ห้างร้าน หรือร้านค้าของคุณ มีการติดตั้งป้ายอักษรโลหะ เพื่อแสดงชื่อของธุรกิจ ชื่อยี่ห้อ เครื่องหมายการค้า เพื่อประกอบธุรกิจการค้า คุณก็มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายอักษรโลหะ หรือป้ายแบบอื่น ๆ และเสียภาษีป้ายที่อยู่ในที่ดิน อาคาร หรือสำนักงานของคุณ
โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการเสียภาษีป้ายอักษรโลหะและป้ายอื่น ๆ ดังนี้
- ป้ายอักษรโลหะที่ไม่มีขอบเขตกำหนด หากเป็นป้ายอักษรโลหะที่ไม่มีขอบเขตกำหนด เช่น เป็นป้ายอักษรโลหะแบบไดคัท ไม่มีพื้นหลัง ให้ถือเอาตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ที่อยู่ริมสุดของป้ายเป็นขอบเขตกำหนดส่วนที่กว้างที่สุดและยาวที่สุดของป้ายอักษรโลหะ แล้วคำนวณออกมาให้เป็นตารางเซ็นติเมตร (หากหน่วยวัดมีเศษ แต่เศษของ 500 ตารางเซนติเมตรเกินครึ่ง ให้ปัดเป็น 500 ตารางเซนติเมตร)
- ป้ายอักษรโลหะที่มีขอบเขตกำหนด ป้ายอักษรโลหะที่มีพื้นหลังของตัวอักษร ให้ยึดเอาขอบริมสุดของพื้นหลังนั้นเป็นจุดสิ้นสุด และวัดขนาดจากขอบด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ทั้งแนวตั้งและแนวนอน
- อัตราการคิดค่าภาษีป้ายอักษรโลหะ และป้ายแบบอื่น ๆ
- ป้ายอักษรโลหะหรือป้ายแบบอื่น ๆ ที่มีอักษรเป็นภาษาไทยล้วน คิดภาษีในอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
- ป้ายอักษรโลหะที่มีอักษรภาษาไทยปนกับอักษรภาษาต่างประเทศ และ/หรือปนกับภาพ และ/หรือเครื่องหมายอื่น ให้คิดภาษีในอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
- ป้ายอักษรโลหะที่ไม่มีอักษรภาษาไทย ไม่ว่าจะภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ บนป้ายอักษรโลหะหรือไม่ก็ตาม/ป้ายอักษรโลหะที่มีอักษรภาษาไทย แต่ตัวอักษรทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรภาษาต่างประเทศ ให้คิดอัตราภาษี 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
- ป้ายอักษรโลหะทุกประเภท หากคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท
- ป้ายอักษรโลหะที่มีการแก้ไขตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายใด ๆ บนป้ายอักษรโลหะ หลังจากได้มีการเสียป้ายอักษรโลหะแล้ว ให้คิดอัตราภาษีส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเข้ามาบนป้ายอักษรโลหะ ตามอัตราในข้อข้างต้น แต่ให้เสียเฉพาะภาษาส่วนที่เพิ่มมา ไม่ต้องเสียภาษีป้ายทั้งหมด
- ขั้นตอนการเสียภาษีป้ายอักษรโลหะหรือป้ายประเภทอื่น ๆ ผู้เสียภาษีป้ายอักษรโลหะและป้ายชนิดอื่น ๆ ขอรับแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ได้ที่สำนักงานเขตโดยไม่มีค่าใช้จ่าย กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน แล้วนำส่งให้กับเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตในท้องที่ที่ป้ายอักษรโลหะหรือป้ายประเภทอื่น ๆ ติดตั้งหรือแสดงอยู่ หากเป็นป้ายที่ติดตั้งบนยานพาหนะเคลื่อนที่ ให้ยื่นเสียภาษีป้าย ณ สำนักงานเขตที่จดทะเบียนยานพาหนะนั้น ๆ สามารถส่งได้ทั้งทางไปรษณีย์และยื่นแบบเสียภาษีด้วยตนเองที่สำนักเขต หรือเซ็นต์เอกสารมอบอำนาจให้ผู้อื่นจัดการยื่นเสียภาษีแทน
- เอกสารยื่นประกอบการเสียภาษีป้ายอักษรโลหะและป้ายประเภทอื่น ๆ
- การยื่นภาษีป้ายใหม่ - ใบอนุญาตติดตั้งป้าย - ใบเสร็จรับเงินค่าทำป้าย - สำเนาทะเบียนบ้าน - บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ / บัตร พนักงานรัฐวิสาหกิจ/บัตร ประจำตัวผู้เสียภาษี - แนบหนังสือรับรองสำนักงาน ทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท, ทะเบียนพาณิชย์และหลัก ฐานของสรรพากร เช่น ภ.พ.01, ภ.พ.09, ภ.พ.20 ใน กรณีที่กรณีเจ้าของป้ายเป็นนิติบุคคล - หนังสือมอบอำนาจพร้อมติด อากรแสตมป์ตามกฎหมาย (กรณีไม่สามารถยื่นแบบได้ ด้วยตนเอง)
- กรณียื่นเสียภาษีป้ายเดิม - แบบยื่นเสียภาษีป้ายภ.ป. 1 - ใบเสร็จรับเงินการเสียภาษี ครั้งสุดท้าย - กรณีเจ้าของป้ายเป็น นิติบุคคล ให้แนบหนังสือ รับรองบริษัท
- การชำระภาษีป้ายอักษรโลหะหรือป้ายประเภทอื่น ๆ ผู้ยื่นแบบเสียภาษีป้ายอักษรโลหะหรือป้ายประเภทอื่น ๆ จะได้รับหนังสือแจ้งประเมินภาษี (ภ.ป.3) หลังจากยื่นแบบ และต้องชำระเงินภาษีป้ายที่สำนักงานเขตที่ป้ายนั้นติดตั้งอยู่หรือกองการเงิน สำนักการคลัง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือประเมินภาษี และสามารถชำระภาษีป้ายอักษรโลหะหรือป้ายประเภทอื่น ๆ ด้วยการส่งธนาณัติหรือตั๋วแลกเงินของธนาคารที่สั่งจ่ายให้แก่กรุงเทพมหานครก็ได้เช่นกัน โดยถือว่าวันที่ทำการส่ง เป็นวันรับชำระภาษีป้าย
- การขอผ่อนชำระการจ่ายภาษีป้ายอักษรโลหะหรือป้ายประเภทอื่น ๆ หากภาษีป้ายที่ต้องชำระมีจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ผู้เสียภาษีป้ายอักษรโลหะหรือป้ายประเภทอื่น ๆ สามารถทำหนังสือขอผ่อนชำระก่อนครบกำหนดชำระภาษีป้ายได้ โดยสามารถขอผ่อนชำระได้ 3 งวด และต้องจ่ายงวดที่ 1 ก่อนครบกำหนดชำระค่าภาษีป้าย และชำระงวดที่สองภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระภาษีงวดแรก และงวดที่ 3 ต้องชำระภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระภาษีของงวดที่สอง
- การชำระเงินเพิ่ม
- หากไม่ยื่นเสียภาษีป้ายอักษรโลหะหรือป้ายประเภทอื่น ๆภายในระยะเวลาที่กำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของจำนวนเงินภาษีป้ายที่ได้รับการประเมิน ยกเว้นกรณีที่เจ้าของป้ายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายก่อนที่เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบว่ามีการละเว้นการยื่นแบบเสียภาษี จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละห้าของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายทั้งหมด
- หากยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้อง เช่น คำนวณพื้นที่ป้ายไม่ถูกต้องหรือคิดอัตราภาษีของป้ายผิดประเภท ทำให้จำนวนเงินภาษีที่ต้องจ่ายลดน้อยลง จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติมใหม่ ยกเว้นในกรณีที่เจ้าของป้ายมาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ก่อนที่เจ้าหน้าที่แจ้งถึงการประเมินที่ไม่ถูกต้อง
- หากผู้เสียภาษีป้ายอักษรโลหะหรือป้ายประเภทอื่น ๆ ไม่ชำระภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มเป็นร้อยละสองต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายที่ได้รับการประเมินจากเจ้าหน้าที่ โดยเศษของเดือนจะกี่วันก็ตาม ให้นับเป็นหนึ่งเดือน
การเสียภาษีป้ายอักษรโลหะหรือป้ายประเภทอื่น ๆ เป็นสิ่งที่เจ้าของกิจการต่าง ๆ ไม่ควรละเว้น และควรยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีป้ายให้ถูกต้องครบถ้วน และหากคุณกำลังต้องการสั่งทำป้ายอักษรโลหะแบบต่าง ๆ พี แอนด์เอส สแตนเลสสตีล เซ็นเตอร์ ก็พร้อมให้บริการทำป้ายอักษรโลหะตามแบบ และตัดพับโลหะ เชื่อมประกอบ พร้อมติดตั้งป้ายอักษรโลหะให้แก่คุณ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อสินค้าได้ที่
บริษัท พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีลเซ็นเตอร์ จำกัด
Tel : 081-618-0778, 081-615-4296, 082-782-8654, 02-753-7753
Fax : 02-753-7770
Email : pands_stainless@yahoo.com
LINE : @psmetal
Facebook : @psstainlesssteel