การเปรียบเทียบ Punching สแตนเลส กับวิธีการอื่น ๆ ในการปั๊มเจาะรูโลหะ
ข้อดีข้อเสียและผลลัพธ์ที่แตกต่างกันของการ Punching กับวิธีการอื่น ๆ
การปั๊มเจาะรูโลหะหรือสเตนเลส แบ่งออกได้เป็น 4 วิธีใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือการทำ Punching, Stamping, Water Jet Cutter หรือเจาะด้วยแรงดันน้ำ และการเจาะด้วยเลเซอร์ เป็นการเจาะรูโลหะหรือสเตนเลสในลักษณะของการกดและการใช้แรงดันที่คล้ายคลึงกัน แต่รูปแบบการทำงานและแรงในการกด สร้างความแตกต่างในการให้ผลลัพธ์ รวมถึงรูปแบบการใช้งานเป็นอย่างมาก ผลลัพธ์ที่แตกต่างทำให้ขั้นตอนและกระบวนการเจาะรูลงบนวัตถุ แตกต่างออกไปด้วยเช่นกัน ทั้งด้านค่าใช้จ่ายและลักษณะการใช้งาน ลองมาดูความแตกต่าง ระหว่างวิธีการทั้งสี่รูปแบบนี้กันว่า เมื่อเปรียบเทียบกับวิธี Punching แล้วมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง
การทำ Punching บน สเตนเลส
ลักษณะของการทำ Punching จะใช้การกดทับด้วยแม่พิมพ์ต้นแบบ ที่มีลวดลายและรูปแบบ ที่จะทำให้รูปทรงในการเจาะรูนั้นแตกต่างกันออกไป โดยปกติแล้ว การทำ Punching จะมีหัว Punching tools ที่แตกต่างกันผลิตออกมาเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว โดยใช้ระบบ CNC ในการควบคุมการเจาะ หรือตัด ส่วนใหญ่วัสดุที่ใช้วิธีนี้ในการเจาะ จะได้รูปแบบซ้ำ ๆ เดิม ๆ ที่เป็นมาตรฐาน เหมาะกับการต้องเจาะรูหลาย ๆ รู จึงถูกนำไปเข้ากระบวนการเพื่อดัดแปลง ขึ้นรูปในรูปแบบอื่นต่อ เหมาะกับการเจาะในปริมาณมาก ๆ เพราะว่าสามารถทำได้อย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น แต่ก็ไม่สามารถเจาะสเตนเลสที่มีความหนา 3-4 มิลลิเมตรได้ และเมื่อไหร่ก็ตามที่มีลักษณะตัดเป็นแนวโค้ง การใช้ Punching Machine อาจจะได้ผลลัพธ์รอยโค้งที่ไม่เรียบเท่าที่ควร
การเจาะโดยใช้แรงดันน้ำหรือ Water Jet Cutter
หากเทียบกับการ Punching แล้ว วิธีการใช้แรงดันน้ำสามารถทำได้ดีกว่าในเรื่องของระยะการตัด และความหนาของวัตถุในการตัด ที่สามารถตัดวัสดุที่มีความหน้าได้มากถึง 100 มิลลิเมตรเลยทีเดียว และยังรักษาและคงรูปของวัสดุที่ทำการตัดได้ดีกว่า ไม่เกิดรอยกดทับ หรือร่องรอยการตัด ทำให้สามารถตัดโลหะหรือสเตนเลส เหล่านั้นให้เป็นรูปร่างแบบไหนก็ได้ ที่สำคัญ เทคโนโลยีนี้ สามารถนำไปใช้งานได้กับหลากหลาย วัสดุ และยังไม่มีฝุ่นละอองในระหว่างการตัด เจาะ อีกด้วย แต่การใช้วิธีนี้อาจจะมีข้อเสียตรงที่ อุปกรณ์มีราคาแพงไปสักหน่อย
การเจาะด้วย Laser
เป็นการใช้แสงที่มีความเข้มข้นสูงในการยิงตามคลื่นความถี่ระยะแคบ ทำให้สามารถตัดวัตถุได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เพียงแค่เล็งไปให้ตรงจุดที่ต้องการตัดแยกโลหะเท่านั้น คุณจะได้งานตัดที่เรียบและสวยงาม โดยกระบวนการทำงานด้วยแสงเลเซอร์ จะเป็นการใช้ความร้อนจากเครื่องยิงแสง ส่งไปยังวัตถุให้หลอมละลาย จนแยกออกจากกัน ทำให้มีความเร็วในการตัดสูงมาก เหมาะสำหรับงานที่ใช้ในปริมาณมาก ๆ และการตัดโลหะด้วยวิธีนี้ ยังทำให้เกิดแก๊สน้อยลง และได้ชิ้นงานที่มีคุณภาพมากกว่าอีกด้วย รูปแบบการตัดสามารถใช้ในงานที่มีความซับซ้อนได้ ส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในงานตัด ตกแต่งเหล็ก หรือหน้ากากอาคารที่ต้องการความสวยงามและ โค้งมนได้รูป
การเจาะแบบ Stamping
การทำ Stamping จะมีลักษณะการเจาะคล้าย ๆ กับการทำ Punching ซึ่งแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยตรงที่ การทำแม่พิมพ์ในการปั๊มนั้น จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพราะว่าการ Stamp จะใช้กับงานที่มีรายละเอียดค่อนข้างมาก เน้นลวดลายและความสวยงามมากกว่า ปริมาณ แต่เนื่องจากต้นทุนในการผลิตแม่พิมพ์ค่อนข้างสูง จึงเน้นใช้กับงานที่มีจำนวนการผลิตค่อนข้างเยอะ เพื่อให้คุ้มค่ากับการสร้างแม่พิมพ์ 1 ตัวหรือ 1 ลาย ซึ่งหลังจากมีการเจาะแบบ Stamping ลงบนพื้นผิวโลหะ หรือสเตนเลสแล้ว จะสามารถนำไปใช้งานได้เลย มีจุดเด่นที่มีความเร็วในการผลิตมากพอ ๆ กับการ Punching เลยทีเดียว
เปรียบเทียบการทำ Punching และ Stamping
เนื่องจากมีลักษณะการใช้งานที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน จึงทำให้ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ อาจจะยังสับสนระหว่างความแตกต่างของการใช้งานทั้งสองแบบนี้ทางเราจึงอยากนำมาเปรียบเทียบให้เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ด้านการใช้งาน
- Punching เน้นใช้งานกับรูปแบบการเจาะโลหะที่มีจำนวนมาก เป็นรูปทรงเรขาคณิต
- Stamping เน้นใช้งานกับงานที่มีความซับซ้อนมาก ๆ หรือมีลวดลายรูปทรงต่าง ๆ เข้ามาด้วยด้านค่าใช้จ่าย
- Punching มีค่าใช้จ่ายถูกกว่ามากเพราะว่าสามารถหาซื้อหัว standard มาใช้งานได้เลย
- Stamping ก่อนจะทำการปั๊ม จำเป็นจะต้องออกแบบลวดลายแม่พิมพ์ก่อน มีค่าใช้จ่ายสูงด้านปริมาณงาน
- Punching ให้ปริมาณงานมากในระดับหนึ่ง เน้นงานเจาะรูติด ๆ กันหลาย ๆ รูในชิ้นงานเดียวได้ ทำให้มีความเร็วในการผลิตค่อนข้างสูง แต่อาจจะได้ชิ้นงานน้อยกว่า
- Stamping ให้ปริมาณงานที่มากกว่าแบบ Punching เพราะว่าสามารถปั๊มครั้งเดียวและได้งาน หรือลวดลายตามที่ต้องการได้เลยโดยไม่ต้องเจาะหลายรู
เลือกเทคโนโลยีตัดให้เหมาะสม นำไปสู่ต้นทุนการผลิตที่เหมาะสมได้
อย่างที่อธิบายไปแล้วข้างต้นว่า การเจาะ ตัด สเตนเลส หรือวัสดุอื่น ๆ ควรจะใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือตามคุณสมบัติการใช้งานให้เหมาะสม เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และการนำไปใช้ที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด หากเป็นงานที่เน้นความสวยงาม มีลวดลายและโค้งมน การใช้เลเซอร์เจาะ หรือ Punching ก็คงจะได้ผลงานออกมาเนี้ยบและสวยงามที่สุด ใช้กับวัตถุที่มีความโค้งมนได้ ในขณะเดียวกัน หากเน้นงานที่มีปริมาณมาก ๆ หรือเน้นการทำ Mass production การใช้ หรือ Water Jet ก็ไม่เหมาะสมเช่นกัน สำหรับ Mass production งาน Stamping ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะฉะนั้นควรคำนึงถึงคุณลักษณะการใช้งานของเครื่องมือแต่ละแบบก่อนจะนำไปทำการผลิตเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อสินค้าได้ที่
บริษัท พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีลเซ็นเตอร์ จำกัด
Tel : 081-618-0778, 081-615-4296, 082-782-8654, 02-753-7753
Fax : 02-753-7770
Email : pands_stainless@yahoo.com
LINE : @psmetal
Facebook : @psstainlesssteel