ปัจจัยที่สำคัญและเทคนิคการเชื่อมเลเซอร์ในงานอุตสาหกรรม ปัจจัยที่สำคัญและเทคนิคการเชื่อมเลเซอร์ในงานอุตสาหกรรมเทคนิคที่ใช้นิยมใช้ในการเชื่อมเลเซอร์
เนื่องจากการเชื่อมต่อเหล็กแทบจะเป็นส่วนหนึ่งในงานอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นตลอดเวลา การใช้วิธีการเชื่อมเลเซอร์นั้น เนื่องจากเป็นลำแสงที่มีความเข้มและเป็นเส้นตรง สามารถส่งผ่านความร้อนไปยังพื้นผิวโลหะ อะลูมิเนียม และอื่น ๆ ให้สามารถเชื่อมต่อหรือละลายเข้าหากันได้ ซึ่งเทคนิคนี้เรียกได้ว่า TIG แต่ในขณะเดียวกันก็มีอีกหนึ่งเทคนิคที่ใช้นิยมใช้ในการเชื่อมเลเซอร์ เป็นการเติมเนื้อโลหะด้วยลำแสง โดยวิธีการเชื่อมจะทำการเล็งแสงไปที่จุดเดียวของปลายลวดเชื่อม วิธีการเติมลักษณะนี้จะเรียกว่าเทคนิค MIG เป็นการโฟกัสการเติมหรือเชื่อมวัสดุจากจุดเดียวของเครื่องมือ ทำให้สามารถควบคุมทิศทางได้ง่ายกว่า
เทคโนโลยีที่ช่วยให้การเชื่อมเลเซอร์ แตกต่างและมีประสิทธิภาพมากกว่าเทคโนโลยีถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการใช้เทคนิคการเชื่อมเลเซอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งสร้างความได้เปรียบมากกว่าการใช้ไฟเชื่อมโดยทั่วไป นั่นก็คือเทคนิคการประสานวัสดุที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน เรียกวิธีการนี้ว่า Multi-Material Joining เป็นรูปแบบหนึ่งของการเชื่อมเลเซอร์ คือการนำวัสดุที่มีความแตกต่างกันมาผสานเข้าด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น การนำเหล็กกับพลาสติกมาเชื่อมต่อให้เป็นวัสดุชิ้นเดียว ซึ่งการใช้วิธีเชื่อมเลเซอร์จะสามารถควบคุมตำแหน่งความร้อนให้อยู่เฉพาะบนวัสดุที่เป็นเหล็กได้ โดยไม่สร้างความเสียหายให้กับวัสดุที่เป็นพลาสติก
เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างแสงธรรมดาและแสงเลเซอร์ก่อนที่จะลงลึกด้านเทคนิคในการเชื่อมเลเซอร์ไปกว่านี้ เรามาทำความรู้จักกับลักษณะของลำแสงเลเซอร์ ที่แตกต่างจากแสงธรรมดาทั่วไปกันก่อน สำหรับใครที่ยังไม่ทราบว่าทำไมลำแสงถึงสามารถตัดโลหะหรือทำการเชื่อมต่อกับวัสดุอื่น ๆ ได้ คุณสามารถเรียนรู้ได้จากความแตกต่างด้านการผลิตแสง และคุณลักษณะที่แตกต่างกันของลำแสงทั้งสองรูปแบบได้ ดังต่อไปนี้
ความเข้มข้นสูงของแสงเลเซอร์ที่เหมาะสมสำหรับงานอุตสาหกรรมในกระบวนการเชื่อมเลเซอร์นั้น สามารถสร้างความเร็วในการเชื่อมต่อโลหะ และลดขั้นตอนจากการเชื่อมแบบปกติทั่วไปในสมัยก่อนได้ รวมถึงสามารถประหยัดเวลาและลดต้นทุนการผลิตในระยะยาวได้อย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในงานอุตสาหกรรมที่มีจำนวนการผลิตต่อวันค่อนข้างมาก หรือเรียกอีกอย่างว่า Mass Production ซึ่งแน่นอนว่าผู้ประกอบทุกท่านจะต้องมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพและคุณภาพในการผลิตด้วย ดำเนินไปพร้อม ๆ กันกับความคุ้มค่าสูงสุดด้านการลงทุนเสมอ Spot Welding หรือการเชื่อมต่อแบบจุด หนึ่งตัวอย่างการเชื่อมเลเซอร์ ที่วิธีการเชื่อมในสมัยก่อนไม่สามารถทำได้คือการเชื่อมแบบ Spot Welding นั่นก็คือการเชื่อมวัสดุจากทั้งสองด้านพร้อมกันด้วยการยิงเพียงครั้งเดียว โดยการใช้เครื่องมือเข้าไปเชื่อมวัสดุจากด้านใดด้านหนึ่งเรียกว่าการเชื่อมแบบ Single Side Access โดยสามารถนำเทคนิคนี้ไปใช้ได้ง่ายกับ
การใช้การเชื่อมเลเซอร์ในงานอุตสาหกรรมลดต้นทุนได้อย่างไรบ้างการลดต้นทุนในงานอุตสาหกรรมด้วยการเชื่อมเลเซอร์ คุณสามารถประหยัดได้ตั้งแต่จำนวนและเวลาของทรัพยากรบุคคล เพราะช่วยให้มีความเร็วในการทำงานที่สูงขึ้น และยังสามารถป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการเชื่อมที่ผิดพลาด ระหว่างวัสดุสองชิ้นที่แตกต่างกันได้อีกด้วย รวมถึงยังรักษาคุณภาพการใช้งานของเครื่องมือ ไม่สึกหรอง่ายในระหว่างการใช้งาน จึงทำให้การเชื่อมเลเซอร์ ทั้งประหยัดมากกว่า เสียหายน้อยกว่า และสามารถลดต้นทุนได้อย่างมากสำหรับงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่มีอุปกรณ์และวัสดุที่ต้องเชื่อมค่อนข้างมากในแต่ละวัน
คุณสมบัติการใช้ระบบเชื่อมด้วยเลเซอร์ ที่มีทั้งความปลอดภัยและคุ้มค่าวิธีการเชื่อมเลเซอร์นั้นเป็นกระบวนการเชื่อมที่ไม่มีอันตรายเท่ากับการเชื่อมโลหะหรือพลาสติกในสมัยก่อน สามารถใช้งานกับวัสดุที่หลากหลาย เพราะควบคุมความร้อนได้ง่าย รวมถึงมีประสิทธิภาพสำหรับการเชื่อมของวัตถุมีความลึกได้มากกว่า จากรังสีความเข้มข้นของแสง เกิดการหลอมรวมและสามารถเชื่อมต่อวัสดุสองชิ้นได้แม้ยิงเพียงด้านเดียว มีกระบวนการเชื่อมต่อที่ไม่ใช้แรงมาก จึงมีความปลอดภัยในการใช้งานสูง แต่ยังคงต้องใช้เครื่องป้องกันอย่างถูกวิธีขณะใช้งานอยู่เสมอ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อสินค้าได้ที่
|