ReadyPlanet.com




การทำสีโลหะด้วยสีฝุ่นและสีน้ำมัน แตกต่างกันอย่างไร

การทำสีโลหะด้วยสีฝุ่นและสีน้ำมัน แตกต่างกันอย่างไร

ข้อดีและข้อเสีย รวมถึงขั้นตอนการทำสีโลหะด้วยสีฝุ่นและสีน้ำมัน

ในการผลิตชิ้นส่วนของอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์, อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า, อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ หรืออุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ รวมไปถึงการตกแต่งบ้านและอาคาร จะต้องมีการนำวัสดุมาทำสีโลหะหรือพ่นสีเคลือบวัสดุก่อนจะนำไปประกอบร่างทั้งสิ้น ซึ่งวัสดุที่ถูกนำมาทำสีโลหะนั้น มีทั้งอลูมิเนียมและเหล็ก โดยสีที่นิยมนำมาใช้ในการทำสีโลหะ มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ สีน้ำมันและสีฝุ่น (สี powder coat) การใช้สีน้ำมันและสีฝุ่นหรือสี powder coat มีข้อบ่งใช้และมีคุณสมบัติหลังการทำสีต่างกัน การจะเลือกใช้สีชนิดใดในการทำสีโลหะนั้น ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุและการนำชิ้นงานที่สำเร็จแล้วไปใช้ เช่น เป็นงานใช้ภายในหรือภายนอก เป็นงานที่ต้องการความโมเดิร์นหรือความหรูหราของชิ้นงาน เป็นงานที่ต้องการความทนทานมากหรือไม่ นอกจากนี้การจะเลือกใช้สีชนิดใด ยังขึ้นอยู่กับงบประมาณและความเชี่ยวชาญของช่างพ่นสีอีกด้วย

 

การทำสีโลหะด้วยสีน้ำมัน

สีน้ำมันเรียกอีกอย่างว่าสีเคลือบเงา เหมาะกับงานไม้และงานทำสีโลหะ เช่น เหล็ก เพราะทาแล้วจะทำให้ผิวหน้าของวัสดุมันเงา เรียบเนียน และสีติดทนนาน แต่งานสีน้ำมันจะต้องผสมตัวทำละลาย เช่น ทินเนอร์หรือน้ำมันสนลงไป เพื่อเจือจางสีให้มีความเข้มข้นน้อยลงก่อนใช้งานเสมอ ซึ่งการเจือจางสีน้ำมันจะช่วยทำให้ทาสีได้เรียบเนียนขึ้นและง่ายขึ้น สีน้ำมันมีให้เลือก 3 ชนิด ได้แก่ สีน้ำมันชนิดเงา, สีน้ำมันชนิดกึ่งเงา และสีน้ำมันชนิดด้าน โดยสีน้ำมันแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่เหมาะกับการใช้งานแตกต่างกัน ดังนี้

  • สีน้ำมันชนิดเงาเหมาะกับการทาภายนอกอาคาร, บ้านน็อคดาวน์, ประตูรั้วเหล็ก
  • สีน้ำมันชนิดกึ่งเงา เหมาะมาทั้งภายนอกและภายในอาคารที่ไม่ต้องการให้พื้นผิวด้านหน้ามีความมันเงาจนเกินไป
  • สีน้ำมันชนิดด้านเหมาะกับการทาสีบ้านหรืออาคารสไตล์ลอฟท์ สามารถใช้ทาทั้งภายในและภายนอกของอาคาร

 

ข้อดีของการใช้สีน้ำมันในการทำสีโลหะ

เนื่องจากสีน้ำมันเป็นสีที่ลอกออกง่าย เพียงแค่ใช้น้ำยาลอกสีทาหรือพ่นลงบนชิ้นงานที่เคลือบด้วยสีน้ำมัน ตัวทำละลายที่อยู่ในน้ำยาลอกสี ก็จะทำให้สีน้ำมันหลุดลอกและพองตัวขึ้นมาจากพื้นผิวโลหะ แล้วจึงใช้เกรียงขูดสีน้ำมันออก ก่อนจะนำไปล้างทำความสะอาด อีกทั้งการทำสีด้วยสีน้ำมันยังไม่ต้องลงทุนในเรื่องของพื้นที่และอุปกรณ์มากเท่ากับสีฝุ่นอีกด้วย การเตรียมโลหะก็มีขั้นตอนที่น้อยกว่าสีฝุ่น แต่สีน้ำมันมีก็มีข้อเสียในการใช้งาน คือหากไม่ใช่สีน้ำมันสูตรน้ำ ก็จะต้องมีการใช้ทินเนอร์ผสม ซึ่งจะทำให้สีมีกลิ่นฉุน และเมื่อทาลงบนพื้นผิววัสดุแล้ว ก็อาจเกิดการสีย่นได้ หากขั้นตอนในการทาสีน้ำมันไม่ถูกต้อง เช่น ทาสีน้ำมันทับสีเก่าที่เสื่อมคุณภาพโดยไม่ขัดพื้นผิววัสดุก่อนทำสี, ทาสีชั้นที่สองทับสีชั้นแรกที่ยังไม่แห้งดี, ทาสีหนามากเกินไป, ตัวทำละลายหรือทินเนอร์ที่ใช้เจือจางสี แรงเกินไป หรือสีรองพื้นกับสีทาทับเป็นสีคนละชนิดกัน ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นได้ หากปฏิบัติตามขั้นตอนการทาสีอย่างถูกต้อง

 

ขั้นตอนการทำสีโลหะด้วยสีน้ำมัน

ควรมีการทาสีรองพื้นกันสนิมก่อนลงสีทับหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้ชิ้นงานเหล็กเป็นสนิม และต้องทาหรือพ่นสีทับหน้า 2 ครั้ง โดยเว้นระยะห่างกัน 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้สีทับหน้าชั้นแรกแห้งสนิทดี เพื่อป้องกันปัญหาสีย่น ซึ่งขั้นตอนการทำสีโลหะด้วยสีน้ำมันมีดังนี้

  • ล้างวัสดุที่จะพ่นให้สะอาด
  • เคลือบน้ำยากันสนิม
  • อบแห้งในเตาอบ
  • ขัดผิวชิ้นงาน ด้วยกระดาษทรายละเอียดเบอร์ 100
  • เป่าลมหลังขัดเสร็จ เพื่อทำความสะอาดเศษเหล็กที่ยังเหลืออยู่
  • แขวนชิ้นงานเพื่อพ่นสี โดยพ่นซ้ำ 2 รอบ
  • อบแห้งในเตาอบ เพื่อให้สีติดทนนาน

 

การทำสีโลหะด้วยสีฝุ่น

สีฝุ่น หรือ สี powder coat เป็นสีทำสีโลหะที่มีลักษณะเป็นผง ทำให้พื้นผิววัสดุมีความมันเงาและสวยงาม ซึ่งในการใช้งานจะต้องนำสีฝุ่นหรือ สี powder coat ไปใส่ในเครื่องพ่นสีฝุ่นที่มีประจุไฟฟ้า +/- และต้องแขวนวัสดุชิ้นงานไว้กับขั้วไฟฟ้า เพื่อให้สีฝุ่นที่พ่นลงไป สามารถเกาะติดอยู่บนพื้นผิวของเหล็กหรือโลหะชนิดอื่น ๆ ได้ หลัก ๆ นั้นสีฝุ่นหรือสี powder coat จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. สีฝุ่นประเภท PE – Polyester เป็นสีฝุ่นหรือสี powder coat ที่มีส่วนผสมของโพลีเอสเตอร์ ทำให้สีฝุ่นชนิดนี้ทนต่อความร้อน แสงแดด รังสียูวี และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง จึงเป็นสีฝุ่นที่เหมาะกับการทำสีโลหะให้แก่ชิ้นงานที่ต้องนำไปใช้งานภายนอก เช่น จานดาวเทียม ประตูรั้ว เก้าอี้ในสวน หรือสิ่งของอื่น ๆ ที่ต้องตั้งไว้กลางแจ้ง
  2. สีฝุ่นประเภท EP – Epoxy เป็นสีฝุ่นที่มีส่วนผสมของอีพอกซี่ เป็นสีฝุ่นชนิดที่ทนทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมี สภาพความเป็นกรด-ด่าง และทนต่อรอยขีดข่วน สีฝุ่น EP จึงเหมาะกับการนำไปทำสีให้กับชิ้นงานที่ต้องใช้ภายในอาคารและต้องทนต่อสารเคมี เช่น ตู้เย็น ถังดับเพลิง และอุปกรณ์หรือเครื่องจักรภายในโรงงานอุตสาหกรรม หรือสิ่งของที่ต้องเจอกับการกัดกร่อนของสารเคมีอยู่บ่อย ๆ
  3. สีฝุ่นประเภท CB – Combine Epoxy/Polyester (Hybrid) สีฝุ่นแบบไฮบริดเป็นสีฝุ่นที่ผสมเรซิ่นโพลีเอสเตอร์และเรซิ่นอีพอกซี่ เป็นสีฝุ่นที่มีการยึดเกาะพื้นผิวโลหะได้ดี จึงทนทานต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้น และยังเป็นสีฝุ่นที่มีลักษณะเป็นฟิล์มเงางาม จึงเหมาะจะนำไปใช้กับชิ้นงานที่ต้องเจอกับความร้อน เช่น เคสคอมพิวเตอร์ ตู้เย็น ไมโครเวฟ ชิ้นส่วนยานยนต์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม

นอกจากนี้สีฝุ่นหรือสี powder coat ยังแบ่งตามลักษณะของผิวสีฝุ่นได้อีกด้วย ได้แก่

  • สีฝุ่นผิวหยาบ ( Texture )
  • สีฝุ่นลายผิวแตก ( veined patterns )
  • สีฝุ่นเงางาม ( Gloss )
  • สีฝุ่นผิวย่น ( Wrinkle )
  • สีฝุ่นสีใส Clear Coat

สีฝุ่นที่ถูกผลิตขึ้นมาให้มีผิวสัมผัสที่หลากหลายนั้น ก็เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งาน ที่ต้องการทำสีโลหะให้มีลักษณะของพื้นผิวที่แตกต่างกันไปตามการออกแบบและการใช้งานของชิ้นงานนั้น ๆ

 

การทำสีโลหะด้วยสีฝุ่นเหมาะกับงานชนิดใดบ้าง

  • การทำสีฝุ่นเหมาะกับงานโครงสร้างภายนอกของอาคารที่ต้องการความทนทานต่อสภาวะอากาศและแสงแดด เช่น เสาเหล็ก รั้ว ประตู เนื่องจากสีฝุ่นหลุดลอกยาก ทนต่อการแรงกระแทกและรอยขีดข่วน
  • งานตกแต่งเฟอร์นิเจอร์โลหะหรือเหล็กที่ต้องการความสวยงามคงทน เช่น โต๊ะหรือเก้าอี้เหล็กสำหรับวางในสวน
  • งานอุตสาหกรรมที่ต้องการให้ชิ้นงานมีเฉดสีที่หลากหลาย เช่น ชิ้นส่วนประตูหน้าต่าง, ขึ้นส่วนรถยนต์ หรือผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

 

การทำสีโลหะโดยใช้สีฝุ่นมีวิธีการใช้งานดังต่อไปนี้

  • ล้างวัสดุที่จะพ่นสีฝุ่นให้สะอาด เพื่อขจัดฝุ่นละอองและคราบไขมันที่ติดอยู่บนวัสดุ
  • นำวัสดุไปแช่บ่อเคมีหลายชนิด 5-12 บ่อ แล้วแต่กระบวนการเตรียมผิวของแต่ละที่ เพื่อเตรียมผิวโลหะให้พร้อมต่อการพ่นสีฝุ่น
  • นำวัสดุชิ้นงานมาล้างทำความสะอาดอีกครั้ง
  • อบวัสดุชิ้นงานที่อุณหภูมิประมาณ 100 องศา เพื่อให้วัสดุแห้ง เมื่อวัสดุเย็นตัวลงแล้ว จึงนำไปเป่าไล่ฝุ่นละอองที่เกาะอยู่บนพื้นผิว ป้องกันการเกิดเม็ดทรายหลังพ่นสี ซึ่งจะทำให้สีของชิ้นงานไม่เรียบเนียน
  • นำวัสดุไปแขวนไว้บนราวที่ติดขั้วไฟฟ้า แล้วพ่นสีฝุ่นบนพื้นผิววัสดุให้มีความหนาประมาณ 60-90 ไมครอน
  • เมื่อพ่นสีเสร็จแล้ว ให้นำชิ้นงานไปอบให้สีแห้ง หากเป็นชิ้นงานที่ใช้ภายใน ให้อบด้วยอุณหภูมิ 180 °C เป็นเวลา 10 นาที และหากเป็นชิ้นงานที่ใช้ภายนอก ให้อบที่อุณหภูมิ 200 °C เป็นเวลา 10 นาที ทั้งนี้ระยะเวลาและอุณหภูมิในการอบ ขึ้นอยู่กับความหนาของวัสดุที่ทำเป็นชิ้นงานด้วย

 

การพ่นวัสดุด้วยสีฝุ่นหรือสี powder coat มีข้อดีแตกต่างจากการใช้สีน้ำมันอย่างไร

  • เมื่อทาสีฝุ่นแล้ว จะทำให้วัสดุมีพื้นผิวที่เรียบเนียนกว่าการใช้สีน้ำมัน และไม่เกิดอาการสีย่นแบบการใช้สีน้ำมัน
  • ไม่ต้องทาสีฝุ่นหรือสี powder coat ซ้ำหลายรอบ เพราะทาสีฝุ่นเพียงแค่รอบเดียวก็ได้สีที่มีความหนาเพียงพอแล้ว
  • ไม่ต้องใช้ตัวทำละลายที่มีกลิ่นฉุน เช่น ทินเนอร์หรือน้ำมันสน ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ
  • สีฝุ่นไม่มีละอองสี และไม่ติดไฟง่าย
  • ต้นทุนต่ำกว่าการใช้สีน้ำมัน เพราะผงสีฝุ่นที่เหลือจากการใช้งานหรือผงสีฝุ่นที่ตกลงมาจากชิ้นงาน สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีก จึงเป็นการประหยัดสีได้ดี
  • สีฝุ่นมีความยืดหยุ่นกว่า จะไม่ลอก ไม่แตกลายงา และไม่ถูกทำลายได้ง่าย เพราะทนต่อการขีดข่วน การพับ ดัดงอ และแรงกระแทก

 

แต่ทั้งนี้การพ่นสีฝุ่นหรือ สี powder coat ในการทำสีโลหะ จะต้องพ่นโดยช่างผู้ชำนาญการเท่านั้น เพราะสีฝุ่นเป็นสีที่ลอกออกยาก ดังนั้นหากเกิดข้อผิดพลาดในการพ่นขึ้นมา เช่น พ่นสีฝุ่นไม่ทั่วถึงหรือพ่นสีฝุ่นได้ไม่สม่ำเสมอ ก็จะต้องลอกสีเดิมออกด้วยวิธีพ่นทราย ซึ่งเป็นวิธีการขัดผิวชิ้นงานโลหะโดยใช้เครื่องพ่นทรายที่มีแรงดันลมพ่นทรายเข้าใส่วัสดุที่ต้องการขัดผิว จากนั้นเม็ดทรายที่มีความคมจะช่วยขัดล้างพื้นผิวของวัสดุให้สีเก่าหลุดลออก แต่วิธีนี้เป็นวิธีที่อาจทำให้ชิ้นงานดูหยาบ และไม่เรียบเนียนอย่างที่ควรจะเป็น หาก็ทำความวัสดุชิ้นงานไม่สะอาดพอหลังการพ่นทราย และการพ่นสีฝุ่นยังมีข้อเสียคือ ลงทุนมาก ต้องทำบ่อเคมี ห้องพ่น ห้องอบ มีค่าบำรุงรักษาเยอะ และต้องเปลี่ยนเคมีในบ่อชุบตามอายุการใช้งาน บ่อชุบต้องใหญ่พอให้จุ่มชิ้นงานลงไปได้มิด

หากคุณกำลังมองหาบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการทำสีโลหะ ไม่ว่าจะเป็นทำสีเหล็กหรือทำสีสแตนเลส พี แอนด์เอส สแตนเลสสตีล เซ็นเตอร์ ก็พร้อมให้บริการโดยช่างพ่นสีผู่ชำนาญการ และยังมีบริการที่ครบจบในที่เดียว เพราะนอกจากการทำสีโลหะแล้ว พี แอนด์ เอส ยังมีบริการตัดโลหะ ขึ้นรูปโลหะ ตัดพับโลหะ วีคัท และเชื่อมโลหะอีกด้วย เพียงมาใช้บริการที่เรา คุณจะไม่ต้องเสียเวลาติดต่อและขนย้ายชิ้นงานไปหลายที่ให้วุ่นวาย อีกทั้งยังเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณของคุณอีกด้วย

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อสินค้าได้ที่
บริษัท พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีลเซ็นเตอร์ จำกัด

Tel : 081-618-0778, 081-615-4296, 082-782-8654, 02-753-7753
Fax : 02-753-7770
Email : 
pands_stainless@yahoo.com
LINE : 
@psmetal
Facebook : 
@psstainlesssteel




บทความจากวารสารเพื่อนสเตนเลส

ความแตกต่างของการทำวีคัทจากเครื่อง NC และ CNC
งานคิ้วและกรุยเชิงด้วยเทคนิค วีคัท ใช้ในงานตกแต่งอะไรบ้าง?
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
วิธีดูงานเนี้ยบ VS งานหยาบ ในการพับและม้วนโลหะของชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์
ตัดพับโลหะและการเชื่อมโลหะ ขั้นตอนในการทำชิ้นส่วนของเครื่องจักรหลายประเภท
5 สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนออกแบบงานพับเหล็กและงานดัดโค้ง
เทคนิคการทำ วีคัท อย่างไรให้ได้ชิ้นงานที่สวยสำหรับงานตกแต่ง
การนำท่อสแตนเลส ท่อเหล็ก และเพลาเหล็กขนาดต่าง ๆ ไปใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม
การทำสีโลหะทองเหลืองและทองแดง
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
งานสแตนเลสแบบใด ที่เหมาะกับการตัดพลาสมา
ความแตกต่างระหว่างคิ้วสแตนเลสสำเร็จรูปและคิ้วสแตนเลสแบบสั่งทำ
ไอเดีย เลือกสีคิ้วสแตนเลสให้เข้ากับกระเบื้อง สไตล์ Mood&Tone
คุณสมบัติของเหล็กเกรดต่าง ๆ ส่งผลต่อแรงดันในการตัดพับเหล็กอย่างไร
นวัตกรรม Anti-Fingerprint บนสแตนเลสแผ่น
การทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องเลเซอร์เหล็กกับ AutoCAD
เลเซอร์เหล็กรูปแบบใดบ้าง ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
ตัดเลเซอร์ 3D สามารถใช้ตัดงานขึ้นรูปโลหะแบบไหนได้บ้าง
เลเซอร์เหล็กและตัดพับเหล็ก เหมาะกับการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมใดบ้าง
ขั้นตอนการเตรียมพื้นผิวงานสแตนเลสสั่งทํา
เลเซอร์ตัดเหล็กกับความหนา-บางของวัสดุ
งานสแตนเลสสั่งทํากับงานสถาปัตยกรรม
เศษจากการเลเซอร์เหล็ก สามารถนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง
ลักษณะการใช้งานของคิ้วสแตนเลสตัว T และ ตัว U
การออกแบบและเลือกใช้หลอดไฟ LED สำหรับป้ายอักษรโลหะ
วิธีแก้รื้อ แก้ไขป้ายอักษรโลหะ ให้พื้นผิวเสียหายน้อยที่สุด
ปัจจัยที่ทำให้งานขึ้นรูปโลหะไม่ได้คุณภาพ มีอะไรบ้าง
ข้อห้ามที่ไม่ควรทำกับพื้นผิวคิ้ว/กรุยเชิงสแตนเลส
ทำไมต้องใช้ คิ้ว /กรุยเชิงสแตนเลสในการตกแต่งอาคาร
การติดตั้งคิ้วสแตนเลส กรุยเชิงสแตนเลส
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีป้ายอักษรโลหะและป้ายประเภทอื่น ๆ
ประโยชน์ของการใช้ป้ายอักษรโลหะในธุรกิจ
วิธีการบำรุงรักษาป้ายอักษรโลหะเพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนาน
ไอเดียการออกแบบป้ายอักษรโลหะให้เหมาะกับธุรกิจ
ประโยชน์ของการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
วิธีการพับโลหะแผ่น
ขั้นตอนการขัดผิวงานสแตนเลส Finishing stainless steel
การเปรียบเทียบ Punching สแตนเลส กับวิธีการอื่น ๆ ในการปั๊มเจาะรูโลหะ
ข้อดีของการใช้สแตนเลสเป็นหน้ากากอาคาร
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
ประโยชน์และการทำงาน รวมถึงข้อจำกัดของงานวีคัท
ปัจจัยที่สำคัญและเทคนิคการเชื่อมเลเซอร์ในงานอุตสาหกรรม
การบำรุงรักษาเครื่องตัดเลเซอร์ เพื่อให้ได้งานตัดเลเซอร์ที่มีคุณภาพ
ตกแต่งบ้านให้ดูหรูหรา ทันสมัย ด้วยกรุยเชิงสแตนเลส
งานตัดพับเหล็กที่มีคุณภาพ มีลักษณะเป็นอย่างไร
ปัจจัยในเลือกเกรดสแตนเลสแผ่นให้เหมาะกับการใช้งาน
มาทำความรู้จักคุณลักษณะของพื้นผิวสแตนเลสแผ่นแต่ละชนิด
เครื่องเลเซอร์ตัดเหล็ก กับงานอุตสาหกรรม
การตัดสแตนเลสแผ่นด้วยเครื่องจักรเลเซอร์ VS แรงงานคน
คุณสมบัติของราวบันไดสแตนเลสและกับการตกแต่งอาคาร
วิธีการดูแลรักษาสแตนเลสแผ่น (แผ่นสีเงิน)
งานสแตนเลสสั่งทำ กับการตกแต่งบ้านและอาคาร
ไอเดียออกแบบป้ายอักษรโลหะอย่างไร ให้ร้านค้าดูสวยโดดเด่น
กระบวนการในการขึ้นรูปโลหะ
การเลือกใช้แผ่นสแตนเลสสีในงานประกอบ
ความแตกต่างระหว่าง คิ้วสเเตนเลส บัวสเเตนเลสและอะลูมิเนียม
เครื่องตัดเลเซอร์มีกี่ประเภท
งานสแตนเลสสั่งทำ เชื่อมสแตนเลส เชื่อมเหล็ก
สแตนเลสแผ่นกับการทำฝ้าเพดาน
รอยต่อการเชื่อมเหล็กในงานโครงสร้าง
เครื่องจักรญี่ปุ่นที่มีมาตรฐานสูง ส่งผลต่อคุณภาพของงานตัดพับเหล็ก ตัดสแตนเลสอย่างไร
ทำไมต้องใช้แผ่นสแตนเลสสี ของ BLISS metal
ก่อนทำป้ายอักษรโลหะขนาดใหญ่ ต้องรู้อะไรบ้าง
วิวัฒนาการของการทำสีสแตนเลส
งานสแตนเลสกับงาน Interior Design
งานโลหะ ตัดเลเซอร์ พับ ม้วนโลหะแผ่น เจาะรู เชื่อม ทำสี ครบจบวงจรที่ P&S Stainless
สแตนเลสกับสนิม
ปัจจัยที่มีผลกับราคาของงานขึ้นรูปโลหะ ทำไมราคาของแต่ละที่ถึงต่างกัน
Give and Take
อลูมิเนียม
Big Data Analytics
Win – Win
ธุรกิจเพื่อผู้สูงอายุ
จริยธรรมในธุรกิจ
Infographics
เดินประชุม
Internet of Things (IoT)
โฟกัสกลุ่มเป้าหมาย article
ศรัทธากับความจริง
โลกสมัยใหม่กับพ่อค้าคนกลาง
รถยนต์จากบริษัท IT
พลังแห่งการลืม
AND THIS TOO SHALL PASS
Coworking Space
SMALL IS BEAUTIFUL
การใช้ระบบ IT ในองค์กร
เซกานิก เอฟเฟค
เยี่ยมชมโรงงานที่ญี่ปุ่น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาสเตนเลส
Sheet Metal Exhibitions
เทคโนโลยีที่ล้มเหลว
ไมอีลิน
Frank Gehry กับงานสถาปัตยกรรมสเตนเลส
พัฒนาการของ Metal 3D printer
ความเป็นเยอรมัน
Folding Machine article
ความไร้เหตุผลของความเห็นอกเห็นใจ article
EoS กับ Tesla
Human Error