
การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ![]()
ในช่วง 2-3 ปีมานี้ มีศัพท์ IT ที่เราคงจะได้ยินกันอยู่บ่อยๆอยู่คำหนึ่ง คือ คำว่า cloud computing ภาษาไทยคือ การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ มันคืออะไร ฉบับนี้มาทำความรู้จักเทคโนโลยีนี้กันครับ Cloud computing คือ การใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่าย (โดยทั่วไปคือ อินเตอร์เน็ต) ในรูปแบบบริการต่างๆ เช่น การแลกเปลี่ยน ประมวลผล จัดเก็บ สำรองข้อมูล โดยที่ผู้ให้บริการจะเป็นผู้จัดสรรแบ่งปันทรัพยากรให้ผู้ใช้บริการ ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องทราบการทำงานที่อยู่เบื้องหลังเลย ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม หรือฮาร์ดแวร์ต่างๆที่ใช้ในการประมวลผล เพียงแค่มีอุปกรณ์เชื่อมต่อและ web browser ก็ใช้งานได้เลย ที่มาของคำว่า Cloud นั้นมาจากสัญลักษณ์รูปก้อนเมฆที่ใช้ในการวาดแผนผังของระบบเครือข่าย โดยสัญลักษณ์ก้อนเมฆที่ใช้กันมาแต่เดิมเป็นสัญลักษณ์แทนโครงสร้างพื้นฐานภายในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ว่าที่จริงแล้ว หากพูดกันแค่หลักการของ cloud คือการใช้บริการผ่านระบบเครือข่าย เราก็มีใช้กันมานานแล้วเรียกได้ว่าตั้งแต่มีอินเตอร์เน็ตเลยล่ะครับ แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปในช่วงหลังนี้คือลักษณะการใช้งานเทคโนโลยีต่างๆทั้งในด้าน software เช่น web application, data center และด้านhardware คือ อุปกรณ์ IT สำหรับเชื่อมต่อต่างๆ เช่น pc, laptop, tablet, smart phone เทคโนโลยีใหม่ๆเหล่านี้ทำให้เกิด cloud service ในรูปแบบใหม่ๆขึ้นมา ทุกวันนี้เราก็อาจจะใช้ cloud service กันอยู่แล้วนะครับ ตัวอย่างที่คุ้นๆกันอยู่ก็เช่น Application ของ google ทั้งหลาย อย่างเช่น google docs, google earh, google map ฯลฯ, บริการ social network อย่าง facebook, hi5 หรือ บริการ mail ต่างๆอย่าง hotmail, gmail ฯลฯ จะเห็นว่าการใช้บริการเหล่านี้ เรามีแค่ web browser กับอินเตอร์เน็ตก็ใช้งานได้เลย ไม่ต้องลงโปรแกรมอะไรเพิ่มในอุปกรณ์คอมของเราอีก ที่กล่าวมานั้นเป็น cloud service แบบฟรีสำหรับผู้ใช้งานที่เป็นบุคคลทั่วไป แต่แบบที่คิดค่าบริการและผู้ใช้งานเป็นองค์กรบริษัทก็มีไม่น้อยครับ ตัวอย่างที่นิยมกันมาก เช่น บริการของ Amazon ที่ชื่อ Amazon EC2 (Elastic Compute Cloud) บริการของ Amazon EC2 คือ ให้บริการ virtual server สำหรับจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลผ่านอินเตอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้บริการไม่ต้องใช้ server จริง ข้อดีหลักๆคือ ค่าเช่าและการบำรุงรักษาที่ถูกกว่าใช้ server จริง, มี server กระจายอยู่ทั่วโลกทำให้เลือกได้ว่าจะใช้ server ที่โซนไหน, และสามารถเลือกสมรรถภาพของ server และบริการเสริมต่างๆให้เหมาะสมกับงานของเรา ข้อดีคือ ทำให้เราจ่ายตามที่เราใช้จริงและมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ทรัพยากร ตัวอย่างบริษัทที่ใช้บริการ EC2 เช่น ระบบ Timesmachine ของ NewYork Times ซึ่งใช้ EC2 ในการสังเคราะห์ข่าวและจัดเก็บข่าวตั้งแต่ ค.ศ.1851 การรวบรวมข่าวจำเป็นต้องมีการแปลงข้อมูลของข่าว และเนื่องจากข่าวมีจำนวนมหาศาลจึงต้องใช้พลังในการประมวลผลเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย และจำเป็นต้องใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับบันทึกข่าวเหล่านี้ เว็บ social network อย่าง Facebook ก็เลือกใช้ EC2 สำหรับการขยายความสามารถของระบบให้รองรับจำนวนผู้ใช้จำนวนมากที่เข้ามาใช้ Facebook Apps(application ที่บริการบน Facebook)พร้อมๆกัน รายละเอียดเรื่อง cloud computing ยังมีอีกมาก ท่านที่สนใจลองเข้าไปดูตามลิงค์ด้านล่างนะครับ อภิชาติ ชยานุภัทร์กุล บจก. พี แอนด์ เอส สเตนเลสตีล เซ็นเตอร์ ตีพิมพ์ในวารสารเพื่อนสเตนเลส ปีที่ 7 ฉบับที่ 80/ พฤศจิกายน 2555 อ้างอิง: http://en.wikipedia.org/wiki/Cloud_computing http://www.microsoft.com/thailand/technet/cloud1.aspx |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (156752) | |
ความ รู้เยอะมากครับ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น adsd (tah2361-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-01-07 09:30:55 |
[1] |