
GDP กับ GNH ![]()
ช่วงนี้ติดตามข่าวนโยบายใหม่ๆของรัฐบาลแล้วก็งงๆไปกับไอเดียแปลกๆของรัฐบาลหลายๆเรื่อง ก็คงต้องคอยดูกันต่อไปนะครับว่าจะได้ผลแค่ไหน อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ หลายๆประเทศต่างมุ่งเป้าหมายไปที่ตัวเลข GDP (Gross Domestic Product) นัยว่า หากสามารถทำตัวเลข GDP ได้สูงๆแล้วประชาชนจะอยู่ดีกินดี เพราะฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งอันที่จริงแล้ว นอกจาก GDP แล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับฐานะทางเศรษฐกิจนะครับ แต่ประเด็นที่ผมอยากจะคุย คือ ถ้าฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นแล้วประชาชนจะมีความสุขจริงหรือ? หากเป้าหมายของสังคมๆหนึ่ง คือ การให้คนในสังคมมีความสุข ก็ควรตั้งเป้าไปที่ความสุขของคนในสังคมโดยตรง ไม่จำเป็นต้องมาวัดกันที่ตัวเลขต่างๆที่ชี้วัดฐานะทางเศรษฐกิจ....มิใช่หรือ? แน่นอนครับ ระดับความสุขนั้นค่อนข้างเป็นเรื่องนามธรรม การวัดนั้นทำได้ลำบาก กระนั้น บรรดานักวิชาการก็พยายามรวบรวมปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อความสุขของคนในสังคม แล้วนำปัจจัยเหล่านั้นมาให้น้ำหนักหาวิธีคิดคำนวณออกมาเป็นตัวเลขจนได้ ตัวเลขนี้ เรียกว่า Gross Nation Happiness (GNH) ที่น่าสนใจคือ มีประเทศหนึ่งที่ใช้ GNH เป็นมาตรวัดที่สำคัญในการวัดความสำเร็จของการพัฒนาประเทศครับ ประเทศนั้น คือ ประเทศภูฏาน ไอเดียนี้เริ่มมาจากกษัตริย์องค์ก่อนซึ่งอยู่ในฐานะผู้นำประเทศด้วย ท่านต้องการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเน้นการยกระดับจิตใจและการอยู่ร่วมกันในสังคม ไปพร้อมๆกับความเจริญทางวัตถุ โดยหลักการคือ ภูฏานพยายาม ปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วโดยยังตระหนักอยู่เสมอว่า จะต้องรักษาวัฒนธรรมของตนเอง,ทำตัวให้กลมกลืนกับธรรมชาติ, เน้นความสุขของส่วนรวม
ไอนสไตน์เคยตั้งคำถามกับตัวเองว่า เขาแปลกใจที่ทำไมมนุษย์เราได้ประดิษฐ์สิ่งต่างๆขึ้นมามากมายที่ทำให้ชีวิต สะดวกสบายขึ้น แต่มนุษย์กลับไม่ได้มีความสุขมากขึ้นเท่าใดนัก แล้วถ้ามีแล้วจะมีความสุขเพิ่มขึ้นไหม.. แต่เรื่องนี้ก็คงบอกอะไรได้อย่างหนึ่งว่า การที่คนเราจะมีความสุขได้นั้น ไม่ได้ต้องการอะไรมากมายเลย เพียงแค่มีความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันกับตัวเอง, คนรอบตัว, สังคม, ธรรมชาติ ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านหาจุดสมดุลในชีวิตของตัวเองให้เจอนะครับ
ดร. บจก. พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีล เซ็นเตอร์ ตีพิมพ์ในวารสารเพื่อนสเตนเลส ปีที่ 7 ฉบับที่ 67/ ตุลาคม 2554 |