
Size NB ของท่อสเตนเลส
ท่านผู้อ่านที่ใช้ท่อสเตนเลสเป็นประจำคงทราบดีว่า ท่อที่เราใช้กันอยู่นั้นมีอยู่สองประเภท คือ ท่อเงา ซึ่งใช้สำหรับงานเฟอร์นิเจอร์เป็นส่วนใหญ่ และ ท่อผิวด้านใช้สำหรับงาน piping เดินระบบท่อ ท่อสองประเภทนี้ ใช้ระบบกำหนดขนาดต่างกัน กล่าวคือ ท่อเงา ขนาดของท่อเงานั้นก็สมเหตุสมผลดีนะครับ เพราะเรียกขนาดตามวงนอก แต่เจ้า NB size นี่สิ ชวนให้สับสนดีแท้ เพราะ ขนาด NB มาตรฐานที่กำหนดขึ้นมาชวนสับสนอย่างนี้ ถ้าถูกกำหนดมาแต่แรกเริ่มเมื่อมนุษย์เริ่มผลิตท่อได้คงไม่ได้รับการยอมรับแน่ๆ เรื่องนี้มีที่มาที่ไปครับ
สเตนเลสถือกำเนิดขึ้นมาในปี 1912 ในสมัยที่ยังไม่มี สเตนเลส เราใช้เหล็กเป็นหลัก ท่อเหล็กมีการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมมาตั้งแต่เมื่อประมาณ 150 ปีมาแล้ว ในสมัยก่อนนั้น เทคโนโลยีการผลิตท่อเหล็กยังจำกัด แรกเริ่มเดิมที ท่อเหล็กจะกำหนดขนาดตาม ID เป็นหลัก เช่น ท่อเหล็ก ในปี 1927 ทางสมาคมมาตรฐานแห่งอเมริกาได้กำหนดมาตรฐานของท่อเหล็กขึ้นมา โดยมีแค่ 3 ความหนา คือ standard weight (STD), extra-strong (XS) และ double extra-strong (XXS) หลังจากใช้ระบบนี้ไปสักพัก ก็พบว่า ความหนาเพียง 3 ค่านี้ไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย ทางสมาคมจึงได้กำหนดระบบ schedule เพิ่มขึ้นมา โดยแบ่งความหนาให้ละเอียดขึ้นและอ้างอิงตามระดับแรงดันที่รับได้ ทางสมาคมตั้งใจจะให้ระบบ schedule เข้ามาแทนระบบเดิม โดยคาดหวังว่า ระบบเดิมจะถูกแทนที่ไปอย่างสมบูรณ์ด้วยระบบ schedule ในปี 1939 อย่างไรก็ตาม คำเรียกที่ใช้ในระบบเดิมก็ยังมีการใช้กันอยู่จนถึงทุกวันนี้ (บางครั้งก็เรียกว่า standard, extra-heavy (XH), และ double extra-heavy (XXH)) ระบบ schedule เองก็มีการปรับเปลี่ยน แก้ไขหลายครั้ง และมีหลายมาตรฐานตามแต่ละอุตสาหกรรม และประเทศต่างๆหลายประเทศก็กำหนดมาตรฐานของตนเองขึ้นมา ท่อสเตนเลสนั้น เริ่มมีการใช้กันมากขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่แล้ว การเข้ามาของท่อสเตนเลสทำให้เกิดความหนาใหม่ขึ้น เพราะคุณสมบัติของท่อสเตนเลสที่เกิดสนิมได้ยาก ทำให้ไม่ต้องเผื่อความหนาที่จะถูกสนิมกัดกร่อนเหมือนที่เกิดขึ้นในท่อเหล็ก ท่อสเตนเลสจึงสามารถผลิตให้บางลงไปได้อีก จึงมี schedule 5 , schedule 10 ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกวันนี้ ในบ้านเรานั้น ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ระบบของอเมริกันคือ ระบบ ASTM มีบ้างที่ใช้ระบบญี่ปุ่น (JIS) เวลาจะสั่งซื้อก็ตรวจสอบให้ดีนะครับ ฉบับนี้ สวัสดีครับ
บจก. พี แอนด์ เอส สเตนเลส สตีล เซ็นเตอร์ ตีพิมพ์ในวารสารเพื่อนสเตนเลส ปีที่ 4 ฉบับที่ 47/ กุมภาพันธ์ 2553 อ้างอิง http://en.wikipedia.org/wiki/Pipe_(material) http://en.wikipedia.org/wiki/Nominal_Pipe_Size |