ReadyPlanet.com




Mind Map

 

ผมเพิ่งได้อ่านหนังสือ “คัมภีร์ MIND MAP®” เขียนโดย โทนี บูซาน มีประเด็นที่น่าสนใจหลายเรื่องที่น่าหยิบมาคุยกันครับ

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้จะเกี่ยวกับวิธีการใช้สมองให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลักการคือ จะใช้ภาพในการจดจำและต่อยอดความคิด แทนที่จะจดบันทึกหรือเรียบเรียงออกมาเป็นตัวอักษร ซึ่งจากการวิจัยพบว่า มนุษย์เราสามารถจดจำสิ่งที่เป็นภาพได้ดีกว่า ด้วยหลักการพื้นฐานตรงนี้ทำให้เกิดวิธีการใช้สมองแบบที่เรียกว่า “คิดเป็นรัศมี” ซึ่งจะเอื้อให้เกิดการคิดต่อยอดไปได้ไกลกว่ารูปแบบเดิมๆที่ใช้การจดบันทึกหรือวิธีคิดเชิงเส้น

ปี พ.ศ. 2510 ศาสตราจารย์ สเปอร์รีย์ ได้ประกาศผลงานวิจัยที่พบว่า สมองซีกขวามีความเด่นในสติปัญญาด้าน: จังหวะ การรู้ตำแหน่งแห่งที่ องค์รวม (ภาพรวมทั้งหมด) จินตนาการ ฝันกลางวัน สีสัน และมิติ ในขณะที่สมองซีกซ้ายจะมีความโดดเด่นด้าน : คำ ตรรกะ ตัวเลข ลำดับ ลักษณะเชิงเส้น การวิเคราะห์ และรายการ สิ่งที่ศาสตราจารย์สเปอร์รีย์ค้นพบนี้ ได้รับการยืนยันจากนักวิจัยอีกหลายท่านในเวลาต่อมา ที่น่าสนใจ คือ ถึงแม้สมองแต่ละซีกจะมีความถนัดในการทำงานคนละแบบ แต่ทั้งสองซีกก็มีพื้นฐานทักษะในทุกประเภท และทักษะทุกอย่างที่ระบุไว้นั้นโดยความเป็นจริงแล้วมันแพร่กระจายอยู่ทั่วชั้นเปลือกสมอง ซึ่งต่างจากทฤษฎีสมองซ้าย/ขวา เดิมที่แยกกันอย่างเด็ดขาด

รูปแบบของบันทึกเชิงเส้นทั่วไปนั้นจะเป็นลักษณะของ ประโยค/การบอกเล่าโดยใช้วิธีเขียน, การบันทึกรายการใช้วิธีจดตามความคิดที่เกิดขึ้น, ใช้ตัวเลขหรือตัวอักษรกำกับ

วิธีบันทึก/คิดแบบเชิงเส้นนี้ จะไม่มีเรื่องของ จังหวะ/ สีสัน/ การรับรู้ตำแหน่ง/ มิติ/ การเชื่อมโยง/ แบบรูปการมองเห็น/ องค์รวม อยู่เลย ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงานของสมอง ข้อเสียของบันทึกเชิงเส้นทั่วไป ก็คือ  

 

                1. ไม่ตรงประเด็น (ไม่มีคำกุญแจที่ชัดเจนเพราะถูกห้อมล้อมด้วยคำที่สำคัญน้อยกว่า)

                2. จำยาก (ดูจำเจ/มีสีเดียว/ยาวยืด)

                3. เสียเวลา (ในการบันทึก/อ่าน/อ่านซ้ำหาประเด็นหลัก)

                4. ไม่กระตุ้นสมองให้สมองสร้างสรรค์

 

การคิดเป็นรัศมีเป็นกระบวนการคิดแบบเชื่อมโยงซึ่งเกิดขึ้นจากจุดศูนย์กลางจุดหนึ่งหรือเกี่ยวโยงกับจุดนั้น Mind Map เป็นการสะท้อนภาพของการคิดเป็นรัศมี สามารถนำไปใช้ได้ในทุกภาคส่วนของชีวิตเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และคิดได้ชัดเจน

Mind Map มีลักษณะสำคัญอยู่สี่ประการ ได้แก่ 1. หัวข้อคิดหรือแก่นแกน 2. ประเด็นหลัก - จะพุ่งจากศูนย์กลางเป็นเส้นรัศมี-กิ่งแก้ว  3. คำกุญแจ (ประเด็นรองๆ) จะอยู่บนกิ่งก้อย 4. กิ่งเหล่านี้จะมีลักษณะโครงสร้างซึ่งมีจุดต่อเชื่อมออกไปเรื่อยๆ

การทำ Mind Map จะแผ่รัศมีออกจากภาพที่อยู่ตรงศูนย์กลางเสมอ แต่ละคำและแต่ละภาพจะกลายสภาพเป็นศูนย์กลางรองสำหรับความเชื่อมโยง วิธีการทำซึ่งเป็นห่วงโซ่ต่อกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถึงแม้ Mind Map  ที่เขียนบนกระดาษจะเป็นสองมิติ แต่ Mind Map สามารถนำเสนอได้ในหลากหลายมิติ รวมไปถึงมิติของที่ว่าง เวลา และสีสัน

 

 

 

ตัวอย่าง Mind Map แสดงให้เห็นการใช้ภาพ รูปทรง และมิติ

 

หนังสือเล่มนี้จะแบ่งเป็นบทๆ โดยเนื้อหาจะเริ่มตั้งแต่พูดถึงการทำงานของสมอง งานวิจัยต่างๆ กรณีศึกษา หลังจากเริ่มอธิบายเรื่อง Mind Map ก็จะมีแบบฝึกหัดให้ลองคิดและเขียน Mind Map ของตัวเองขึ้นมา

รายละเอียดในหนังสือมีเยอะมากครับ ผมพยายามจะเรียบเรียงเอาเนื้อหาหลักๆมาคุยกัน ด้วยพื้นที่จำกัดก็คงพอจะได้คร่าวๆประมาณนี้ แต่ก็คงพอให้ท่านผู้อ่านเห็นภาพรวม ถ้าสนใจก็ลองหาอ่านดูนะครับ เป็นหนังสือที่น่าสนใจมาก และน่าจะนำมาใช้ประโยชน์ในการทำงานได้ ฉบับนี้ก็ลาไปก่อน สวัสดีครับ

 

 

อ้างอิง “คัมภีร์ MIND MAP” เขียนโดย โทนี บูซาน แปลโดย นภดล จำปา/ ธัญญา ผลอนันต์

 

ดร.อภิชาติ ชยานุภัทร์กุล

ผู้จัดการฝ่ายผลิต บจก. พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีล เซ็นเตอร์

ตีพิมพ์ในวารสารเพื่อนสเตนเลส ปีที่ 4 ฉบับที่ 41/ สิงหาคม 2552


 







[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (37670)
อยากได้ข้อมูลเรื่องนี้  กำลังสนใจทำดุษฎีนิพนธ์  ถ้าอาจารย์หรือท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับการคิดเป็นรัศมี  ส่งข้อมูลมาด้วยครับที่  suthep_ptb@hotmail.com   ขอกราบขอบพระคุณมากครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น top วันที่ตอบ 2010-03-22 20:10:32


ความคิดเห็นที่ 2 (37673)

ง่ายที่สุดก็ไปซื้อหนังสือเลยครับ ผมเห็นยังมีขายอยู่ที่ซีเอ็ด เป็นของสำนักพิมพ์ขวัญข้าว'94

มีหลายเล่มครับ ตามลิงค์

http://www.mindmap.in.th/mybook/mm_book.html

หรือถ้าสนใจเข้าคอร์สอบรมก็ลองดูรายละเอียดในเวบข้างบนได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น อภิชาติ วันที่ตอบ 2010-03-23 13:20:42


ความคิดเห็นที่ 3 (151415)
เค้าก็บอกอยู่ว่าเค้าอ่านหนังสือเรื่อง"คัมภีร์MindMap"ตลกเนอะแค่นี้ก็ยังจับประเด็นไม่ได้จะทำดุษฎีนิพนธ์ขำฟันร่วง
ผู้แสดงความคิดเห็น no need to tell วันที่ตอบ 2012-02-28 09:04:56


ความคิดเห็นที่ 4 (154219)

กากกากากากากกากากากกกกากากากากากากากากากากากากากากากากา

ผู้แสดงความคิดเห็น dkdkkddkdkkdkdkdkdkkd (asdfg5520-at-hotmail-dot-co-dot-th)วันที่ตอบ 2012-12-12 13:05:30



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล