
งานเลเซอร์เหมาะกับงานลักษณะไหนบ้าง
วันก่อนได้คุยกับพี่พจน์ บก.ของเรา พี่พจน์บอกว่า น่าจะลองเขียนเรื่องลักษณะการใช้งานของงานตัดเลเซอร์ดูนะ เพราะช่างบางคนยังไม่รู้ว่า งานลักษณะไหนที่ใช้เลเซอร์ตัดได้ และบางคนอาจจะมองว่า ค่าใช้จ่ายเลเซอร์สูงเกินจุดคุ้มทุนของงานที่รับอยู่ ผมกลับมาคิดแล้วก็เห็นว่า น่าจะเป็นเรื่องดีที่จะลองทบทวนและชี้แจงในประเด็นเหล่านี้ จึงกลับมาดูข้อมูลของลูกค้าและงานที่เคยตัดพับไป พอจะสรุปคร่าวๆได้ดังนี้ครับ 1. กลุ่มผลิตเครื่องจักร/อุปกรณ์ ลูกค้ากลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด และสามารถแบ่งแยกย่อยได้อีกหลายประเภท แต่ผมขอเรียกรวมๆไปเลยละกันนะครับ กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตเครื่องจักรเฉพาะทาง เช่น เครื่องจักรในอุตสาหกรรมอาหาร, เครื่องจักรทางการเกษตร, อุปกรณ์ทำความเย็น ฯลฯ ลูกค้ากลุ่มนี้จะต้องนำชิ้นงานจากการตัดเลเซอร์ไปประกอบรวมกับชิ้นงานที่ผ่านการขึ้นรูปด้วยวิธีอื่นๆ ชิ้นงานแต่ละชิ้นจึงต้องการความแม่นยำสูง เน้นที่ขนาดชิ้นงาน และรูต่างๆ ชิ้นงานเหล่านี้ในกรณีที่ตัดจำนวนไม่มากนักจะเหมาะกับการตัดด้วยเลเซอร์มากกว่ากระบวนการขึ้นรูปอื่นๆ เพราะไม่ต้องทำแม่พิมพ์ขึ้นมา และไม่จำเป็นต้องมาเพิ่มขั้นตอนทำมิลลิ่งหรือกลึงต่อ 2. กลุ่มงานตกแต่ง กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่รับงานตกแต่งเป็นงานๆไปหรือเป็นโปรเจกต์ เช่นงานทำรั้ว/ราวสเตนเลส, โลโก้, ป้ายตัวอักษร, โคมไฟ ฯลฯ งานลักษณะนี้ มักจะเป็นงานสเตนเลสบางๆ เน้นที่ความสวยงามของผิว และความเรียบร้อยของงาน ลักษณะงานบางๆแบบนี้เหมาะกับงานตัดเลเซอร์มาก เพราะ เป็นงานบางซึ่งเครื่องตัดเลเซอร์สามารถตัดได้อย่างรวดเร็ว และความโค้งของเส้นต่อเนื่องสวยงามต่างจากการใช้หัวตอกของเครื่องpunching ลักษณะงานแต่ละแบบนั้นมักจะมีรูปแบบลวดลายซับซ้อน แต่มีจำนวนไม่มากนัก งานส่วนใหญ่มักจะมีความยืดหยุ่นสูง เน้นที่ความสวยงาม และความพอใจของลูกค้า 3. กลุ่มติดตั้งระบบ ลักษณะงานของกลุ่มนี้จะเป็นงาน piping หรือ วางระบบราง ชิ้นงานที่ตัดพับจะเป็นพวกรางยู, รางC, หน้าแปลน, ตัวจับยึดต่างๆ ฯลฯ ลักษณะงานจะเน้นเรื่องความแม่นยำของการพับ หากเป็นงานที่ไม่มีการเจาะรูอะไรก็สามารถใช้เครื่องตัดกรรไกร (shearing) ซอยแล้วพับได้ แต่หากชิ้นงานต้องมีการเจาะรูเพื่อขันน็อต การตัดด้วยเลเซอร์จะเหมาะสมกว่า เพราะจะได้ทั้งความแม่นยำของตำแหน่งรูและขนาดรู และประหยัดเวลาและค่าแรงการเจาะรูในภายหลัง 4. กลุ่มผลิตชิ้นส่วน/อะไหล่ งานของกลุ่มนี้มักจะเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ซึ่งอาจจะนำเอาไปซ่อมแซมอุปกรณ์เดิม, ตัดเป็นเฟือง หรือ หน้าแปลน ซึ่งไม่ใช่ขนาดมาตรฐานที่มีขายอยู่ในท้องตลาด งานลักษณะนี้จะคล้ายๆกับกลุ่มที่ 1 คือ ต้องการความแม่นยำในเรื่องของขนาดต่างๆ ครับ ก็คงพอจะเห็นภาพกว้างๆของลักษณะการใช้งานของชิ้นตัดเลเซอร์นะครับ จุดร่วมที่งานเหล่านี้เหมาะกับการตัดเลเซอร์ก็คือ 1. งานเลเซอร์มีความแม่นยำทำให้ไม่จำเป็นต้องไปเพิ่มขั้นตอนอื่นๆหลังการตัด 2. งานมีจำนวนไม่มากถึงระดับที่จะคุ้มค่าในการทำแม่พิมพ์ ในขณะเดียวกันก็มีงานอีกมากนะครับ ที่เหมาะกับการขึ้นรูปด้วยกระบวนการอื่นๆ เช่น งานโลหะบางๆที่มีการเจาะรูเยอะๆ และมีจำนวนมาก งานลักษณะนี้จะเหมาะกับเครื่อง punching มากกว่า เพราะหัวพิมพ์สามารถเจาะรูแต่ละรูได้อย่างรวดเร็ว หรือ งานโลหะหนาๆที่ไม่ต้องการความละเอียดมาก ก็จะเหมาะกับเครื่องพลาสมามากกว่า เพราะตัดได้เร็วกว่า และค่าใช้จ่ายถูกกว่า ความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการต่างๆ จะทำให้เราสามารถเลือกกระบวนการตัดให้เหมาะสมกับงานของเรา ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และได้งานที่มีคุณภาพครับ ฉบับนี้ก็ลาไปก่อน สวัสดีครับ
ผู้จัดการฝ่ายผลิต บจก. พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีล เซ็นเตอร์ ตีพิมพ์ในวารสารเพื่อนสเตนเลส ปีที่ 4 ฉบับที่ 40/ กรกฎาคม 2552 |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (178073) | |
I am very happy to find this site. I wanted to thank you for this immense read!! Good written. Content writing is passion for me. I have great research qualities. Thanks for sharing this awesome posting. I hope you will like my services for your career and study in higher classes. I absolutely enjoying every petite bit of it and I have you bookmarked to test out new substance you post. | |
ผู้แสดงความคิดเห็น janicenavarro วันที่ตอบ 2020-07-07 14:17:50 |
[1] |