ReadyPlanet.com




การจัดความสำคัญของวัสดุคงคลัง

 

      ในกระบวนการผลิตสินค้านั้น เราต้องจัดเก็บวัสดุคงคลังมากมาย ทั้งในส่วนของวัตถุดิบที่มาใช้ประกอบและอยู่ในสินค้าสำเร็จ เช่น หากผลิตเครื่องจักรก็อาจจะมีสเตนเลส, น็อต, ธูปเชื่อม, มอเตอร์ ฯลฯ หรืออุปกรณ์/ชิ้นส่วนต่างๆที่มาช่วยใช้ในการผลิต เช่น หัวนอซเซิลสำหรับตัดแผ่นโลหะ, หัวเจียร์สำหรับแต่งชิ้นงาน ฯลฯ รวมไปถึงอุปกรณ์/ชิ้นส่วนที่นำมาใช้ในการซ่อมบำรุง ซึ่งหากจะนับวัสดุคงคลังที่เราต้องจัดเก็บทั้งหมด ก็จะพบว่า มีจำนวนเยอะมากจนยากที่เราจะให้ความใส่ใจอย่างละเอียดกับทุกๆรายการ ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่มีความจำเป็นต้องทำอย่างนั้นครับ เพราะเป็นการเสียเวลาและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ

          ในการบริหารวัสดุคงคลังนั้น มีวิธีการที่เรียกว่า การแบ่งประเภทวัสดุคงคลังแบบ ABC (ABC Inventory Classification) ซึ่งจะว่าไปแล้ววิธีการนี้ เป็นการประยุกต์ใช้ EOQ กับ Pareto ที่ผมเขียนไว้ในสองฉบับที่ผ่านมา เพื่อให้เราสามารถลำดับความสำคัญในการบริหารได้อย่างเป็นระบบ

          หลักการคือ เราจัดความสำคัญของรายการวัสดุคงคลังต่างๆโดยจัดลำดับมูลค่าของแต่ละรายการ ซึ่งจะคำนวณจากตัวแปรหลักสองตัวคือ ความจำเป็นหรือความต้องการ (Demand) ต่อปี และ มูลค่า (Value) /ชิ้น  โดยนำมาตัวแปรสองตัวนี้มาคูณกัน แล้วจัดลำดับจากมากไปน้อย เช่น

 

ความต้องการ(ชิ้น)/ปี

มูลค่า/ชิ้น

มูลค่ารวม/ปี

 

ลำดับ

มูลค่ารวม/ปี

1,000

50

50,000

 

1

200,000

500

400

200,000

จัดเรียงใหม่เป็น

2

50,000

12

60

720

 

3

2.000

20

100

2,000

 

4

720

 

 

           จะเห็นได้ว่า จากสูตรนี้ สำหรับบางรายการแม้มูลค่าต่อชิ้นจะน้อย แต่หากมีความต้องการมากก็ทำให้มูลค่าของรายการนั้นสูง เมื่อเราเอามาเรียงลำดับใหม่แล้วก็จัดแบ่งประเภททั้งหมด โดยให้ 15-20% แรกของลำดับทั้งหมดเป็นวัสดุคงคลังประเภท A, 30-35% ถัดมาเป็นประเภท B และ 50% สุดท้ายเป็นประเภท C สำหรับประเภท A คือ รายการที่มีความสำคัญมากและต้องการความเอาใจใส่เป็นพิเศษ ประเภท B คือ รายการที่มีความสำคัญปานกลาง และ ประเภท C คือ รายการที่มีความสำคัญน้อย เมือเราจัดประเภทให้กับแต่ละรายการแล้วก็จะต้องหากลยุทธ์ในการบริหารคลังสำหรับแต่ละประเภทให้เหมาะสม ซึ่งในส่วนนี้ก็จะแตกต่างไปตามคุณสมบัติ/ลักษณะ ของวัสดุคงคลัง และประเภทธุรกิจ เช่น วัสดุคงคลังประเภท A เราอาจจะต้องหาข้อมูลให้ละเอียดว่า ผู้ขายรายไหนที่ให้ราคาดี สินค้ามีคุณภาพ และ ต้องใช้เวลาในการจัดส่งนานแค่ไหน เรามีค่าจัดเก็บรักษาของเราเองอย่างไร ความผันผวนของราคาในตลาดเป็นอย่างไร เราควรตรวจสอบสต็อกถี่แค่ไหน ควรสั่งครั้งละเท่าไหร่ สั่งบ่อยแค่ไหน ฯลฯ ซึ่งในส่วนนี้ก็อาจจะเอาทฤษฎี EOQ เข้ามาช่วย แต่สำหรับวัสดุคงคลังประเภท B หรือ C เราอาจจะคอยดูเป็นระยะๆ ไม่ต้องศึกษาอย่างละเอียด เพราะหากทำอย่างละเอียดทุกรายการจะเป็นการเสียเวลาโดยไม่จำเป็น

           วิธีการจัดลำดับนี้เรียกได้ว่า เป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้หลักการ 80/20 ที่ว่า เราให้ความสำคัญกับ input ส่วนน้อย แต่ในส่วนน้อยนี้คือส่วนสำคัญที่มีผลต่อ output มาก โดยใช้มูลค่ารวมต่อปีมาเป็นตัวจัดลำดับความสำคัญนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม การจัดแบ่งประเภท ABC นี้ก็เป็นแนวทางหนึ่งเท่านั้นเองนะครับ ซึ่งในความเป็นจริงเราก็อาจจะต้องปรับให้เหมาะกับธุรกิจของเรา  เช่น เราอาจจะเห็นว่า แค่มูลค่ารวมต่อปีของแต่ละรายการอาจจะเป็นปัจจัยที่ไม่ดีพอในการจัดอันดับ เพราะบางรายการแม้มูลค่ารวมต่อปีอาจจะต่ำ แต่หากขาดไปแล้วจะมีผลกระทบต่อการผลิตมาก ทำให้ทั้งไลน์การผลิตต้องหยุดชะงัก หรือทำให้กระบวนการอื่นๆล่าช้า เราก็อาจจะมีตัวคูณอีกตัวหนึ่งเป็นดัชนีของผลกระทบ อะไรแบบนี้ เป็นต้น เอาละครับฉบับนี้ก็ลาไปก่อน สวัสดีครับ

 

 

ดร.อภิชาติ ชยานุภัทร์กุล

ผู้จัดการฝ่ายผลิต บจก. พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีล เซ็นเตอร์

ตีพิมพ์ในวารสารเพื่อนสเตนเลส ปีที่ 2 ฉบับที่ 27/ มิถุนายน 2551

 







[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (8006)

บทความของ ดร. อ่านเข้าใจง่ายดีมากเลยครับ  อยากให้ช่วยแนะนำหนังสือเกี่ยวกับการจัดการสินค้าคงคลังที่อธิบายง่ายๆ ได้มั้ยครับ  ผมอยากได้ความรู้เพิ่มเติมสำหรับจัดทำ IS ของผมครับ  ขอบคุณมากครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทาวิธ วันที่ตอบ 2009-05-07 16:18:27


ความคิดเห็นที่ 2 (36677)

สวัสดีครับ คุณทาวิธ

ผมเคยเรียนวิชานี้โดยใช้ textbook ของ David F. Pyke , Rein Peterson, Edward A. Silver

ชื่อหนังสือคือ Inventory Management and Production Planning and Scheduling

เป็นหนังสือที่มีทฤษฎีค่อนข้างแน่นทีเดียวครับ ไม่แน่ใจว่าจะหาซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯหรือเปล่า

ส่วนหนังสือของไทย ผมยังไม่เคยอ่านเลยครับ ถ้าให้แนะนำก็คงเป็นหนังสือของสำนักพิมพ์ที่เชื่อถือได้, ดูประวัติและผลงานของผู้เขียน, บรรณานุกรม และเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราสนใจครับ

ยิ่งซื้อหลายเล่มได้ยิ่งดีครับ เพราะผู้เขียนแต่ละท่านก็จะนำเสนอตามแนวทางของตัวเอง บางเล่มอาจจะดีในหัวข้อนี้ บางเล่มก็อาจจะดีในหัวข้ออื่น การอ่านหลายๆเล่มจะทำให้เราได้เนื้อหาที่ครอบคลุมและเข้าใจได้เร็วขึ้นครับ

ขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น อภิชาติ วันที่ตอบ 2009-08-05 10:34:06


ความคิดเห็นที่ 3 (157790)

 คือหนูอยากรู้ว่า EOQ กับ ABC มันเชื่อมโยงกันยังไง?

เงื่อนไขอะไรบ้างที่จะใช้ EOQ ได้
แล้วถ้าเงื่อนไขไม่ผ่านเราสามารถใช้เครื่องมือตัวไหนได้อีกบ้างอ่ะค่ะ

คือหนูจะทำวิจัยแล้ว อ.ถามมาหนูมึนค่ะ (ขอบคุณมากน่ะค่ะ)

oichi_00@hotmail.com
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มีนาคม (oichi_00-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-10-16 23:58:47



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล