
EOQ ฉบับนี้ขอเขียนบทความเกี่ยวกับทฤษฎีด้านการบริหารจัดการอีกสักฉบับนะครับ ซึ่งก็จะเป็นเรื่องของการจัดการพัสดุคงคลังในส่วนของการสั่งซื้อ ในการดำเนินธุรกิจนั้น พัสดุคงคลังเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทั้งในธุรกิจซื้อมา-ขายไป และ ธุรกิจการผลิต หากเรามีพัสดุคงคลังน้อยก็จะไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้า หรือ นำไปใช้เพื่อการผลิต ในขณะเดียวกัน หากมีพัสดุคงคลังมากเกินไป ก็จะทำให้ทุนจม, เปลืองเนื้อที่จัดเก็บ และ สำหรับพัสดุบางประเภทก็อาจเสื่อมสภาพไปตามเวลา เช่นพวกเคมีภัณฑ์ หรือ วัตถุดิบบางประเภท คำถามคือ ถ้าเช่นนั้นเราควรจะเก็บเท่าไหร่ และ สั่งซื้อเมื่อไหร่ เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ค่าใช้จ่ายในการบริหารพัสดุคงคลังนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
ตัวอย่างในรูปที่ 1 แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของค่าใช้จ่ายทั้งสองประเภท โดยสมมติว่าปริมาณที่เราต้องการสั่งซื้อทั้งหมด(ต่อปี) คือ 1000 หน่วย เส้นประคือค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสั่งซื้อ และเส้นทึบคือ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ซึ่งจะแปรผันตามจำนวนที่เก็บ เส้นที่อยู่ด้านบนคือค่าใช้จ่ายรวม เราจะเห็นได้ว่า จุดที่ทั้งสองเส้นตัดกันคือ จุดที่ค่าใช้จ่ายรวมน้อยที่สุด เมื่อลากลงมาตัดกับแกน X ก็คือปริมาณสั่งซื้อที่ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุด ในการคำนวณหาค่าปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุดนี้ เราสมมติให้ A = ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ (บาท/ใบสั่งซื้อ) S = ความต้องการผลิตภัณฑ์ของลูกค้า/ฝ่ายผลิต (หน่วย/ปี) I = ค่าเก็บรักษาพัสดุ (บาท/หน่วย/ปี) C = ค่าใช้จ่ายทั้งหมด (บาท/ปี) Q = ปริมาณที่สั่งซื้อในแต่ละครั้ง (หน่วย) ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ/ปี จะเท่ากับ A x (S/Q) บาท ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาพัสดุคงคลัง จะเท่ากับ I x (Q/2) โดย Q/2 คือค่าเฉลี่ยของพัสดุที่อยู่ในคลัง เราจะได้ C = A x (S/Q) + I x (Q/2) เมื่อแก้สมการนี้เราจะได้ปริมาณที่สั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด (Q*) = และ ค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด (C*) =
ในการใช้สูตรคำนวณนี้ เราต้องเข้าใจเสียก่อนว่า แบบจำลองทั้งหมดถูกสมมติขึ้นมาภายใต้สภาวการณ์หนึ่งๆ ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นมีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงอีกมากมาย เช่น ราคาสินค้าในวันนี้กับอีกสองเดือนข้างหน้าอาจจะไม่เท่ากัน หากเราสั่งซื้อไว้ก่อนแม้จะเสียค่าเก็บรักษามากกว่า แต่ก็ทำให้ซื้อได้ถูกลง หรือ หากสั่งเป็นจำนวนมากถึงระดับหนึ่ง จะได้ส่วนลดพิเศษ ซึ่งทำให้เราประหยัดได้มากกว่า แม้จะมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาที่เพิ่มขึ้น หรือ เราจอาจจะมีข้อจำกัดด้านพื้นที่จัดเก็บหรือการเสื่อมสภาพของพัสดุ ทำให้ไม่สามารถเก็บสต๊อกไว้ได้เกินจำนวนหนึ่งๆ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยภายนอกอีกหลายๆปัจจัย ที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา, ภาษี, ราคาน้ำมัน, ความผันผวนของราคาวัสดุในตลาด, ความต้องการผลิตภัณฑ์ของตลาด ฯลฯ ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ต้องอาศัยจากข้อมูลด้านอื่นๆ และ การวิเคราะห์จากประสบการณ์เข้าช่วย ทฤษฎีต่างๆนั้นสามารถช่วยเราได้ในระดับหนึ่งในการสร้างกระบวนการคิด/วิเคราะห์/ประยุกต์ใช้ แต่ผมเชื่อว่า สิ่งที่สำคัญกว่า คือสามัญสำนึกและประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเรื่องแบบนี้ต้องบอกว่า สอนกันยาก เพราะส่วนหนึ่งนั้นมาจากการปลูกฝังจากสภาพแวดล้อม, โอกาส, จังหวะชีวิต ส่วนหนึ่งนั้นมาจากไหวพริบ, ความคิดสร้างสรรค์, จินตนาการ และนั่นคือ เหตุผลที่เถ้าแก่หลายๆคนแม้จะไม่ได้รับการศึกษามากนักแต่สามารถประสบความสำเร็จได้ ส่วนตัวผมเองแล้วจึงเชื่อเสมอว่า การได้พูดคุยหรือศึกษาจากบุคคลเหล่านี้มีคุณค่าไม่น้อยไปกว่าการศึกษาในตำราเลยครับ เอาละครับ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าครับ
อ้างอิง หนังสือการวิจัยดำเนินงาน ภาค Deterministic โดย อ.วิจิตร ตัณฑสุทธิ์ และคณะ
ผู้จัดการฝ่ายผลิต บจก. พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีล เซ็นเตอร์ ตีพิมพ์ในวารสารเพื่อนสเตนเลส ปีที่ 3 ฉบับที่ 25 / เมษยน 2551 |