ReadyPlanet.com




PERT CHART

PERT CHART การวางแผนลำดับการทำงานในลักษณะงานโปรเจกต์

เครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้ในการวางแผนลำดับการทำงาน เพื่อให้เราเห็นภาพรวม
และวางแผนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ให้ได้มากที่สุด

 

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่เคารพ ฉบับนี้ขอเปลี่ยนมาคุยกันเรื่องการบริหารจัดการบ้างนะครับ เป็นเรื่องของการวางแผนลำดับการทำงานในลักษณะงานโปรเจกต์ อาจจะหนักไปทางทฤษฎีมากหน่อย แต่คิดว่า น่าจะพอเป็นไอเดียเอาไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริงได้นะครับ

 

 

PERT เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้ในการวางแผนลำดับการทำงาน เพื่อให้เราเห็นภาพรวมและวางแผนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ให้ได้มากที่สุด ลองดูรูปที่ 1 ซึ่งเป็นแผนผังการทำงานแบบง่ายๆกันก่อนนะครับ

 

 

 

 

 

 

ตัวอักษร A,B,C,D,E คือ ขั้นตอนการทำงานต่างๆและตัวเลขด้านบนคือ เวลาที่ใช้ในขั้นตอนนั้นๆ ส่วนตัวเลขในวงกลม เป็นเหมือนหลักไมล์ที่แสดงถึงความก้าวหน้าของโปรเจกต์ โดยระหว่างจุดสองจุด หากมีลูกศรเชื่อมแล้ว จุดสองจุดนี้ก็คือ จุดเริ่มและจุดสิ้นสุดของกระบวนการที่อยู่บนลูกศร ตัวเลขหลักไมล์นี้ก็เป็นตัวเลขคร่าวๆนะครับ โดยให้เพิ่มทีละสิบ เพื่อว่าในกรณีที่มีการแทรกงานขึ้นมาก็สามารถใช้ตัวเลขที่อยู่ระหว่างนั้นแทรกลงไปได้ เช่น ถ้ามีการแทรกงานระหว่าง 10 กับ 20 ก็อาจจะเพิ่มจุดหลักไมล์ที่ 15 เป็นต้น การวางแผนโดยใช้ PERT นั้นเริ่มจากการเขียนแผนผังตามลักษณะดังรูปที่ 1  (PERT CHART) สำหรับโปรเจกต์ของเราให้ได้ก่อน หลังจากนั้น เราก็มาหาสายงานวิกฤติ (Critical Path) สำหรับกระบวนการทำงานทั้งหมด  และเมื่อโปรเจกต์ดำเนินไปก็คอยอัพเดทข้อมูลให้สอดคล้องกับการทำงานจริง 

 

สายงานวิกฤติ มีความสำคัญมากเพราะเวลาทั้งหมดที่ใช้ในสายงานวิกฤติ ก็คือ เวลาทั้งหมดที่ใช้สำหรับโครงการ ตามรูปที่ 1 สายงานวิกฤติ คือ เส้นทาง A-C-F ซึ่งใช้เวลาทั้งหมด 7 สัปดาห์  นั่นหมายความว่า เราไม่สามารถเร่งงานให้เร็วกว่า 7 สัปดาห์ได้ หากเราไม่ลดเวลาที่ขั้นตอน A,C, หรือ F เพราะหากเราไปลดเวลาที่ขั้นตอนอื่นท้ายสุดแล้วเราก็ยังคงต้องมารองานที่สายงานวิกฤตินี้เอง

 

รูปที่ 1 เป็นตัวอย่างง่ายๆนะครับ เราใช้ตามองก็พอจะดูสายงานวิกฤติออก แต่ในความเป็นจริงแล้ว โครงการอาจจะมีขั้นตอนหลายสิบขั้นตอน ซึ่งทำให้ระบุสายงานวิกฤติได้ยาก ในส่วนนี้ กระบวนการวางแผนด้วย PERT จะมีขั้นตอน (algorithm)ที่จะคำนวณหาเวลาที่เริ่มต้นได้เร็วสุด, เวลาที่เริ่มได้ช้าที่สุด, เวลาที่เสร็จได้เร็วสุด, เวลาที่เสร็จได้ช้าสุด สำหรับแต่ละขั้นตอนการทำงาน  เวลาเหล่านี้จะถูกนำมาใช้เพื่อหาสายงานวิกฤติให้ได้ในที่สุด นอกจากนี้ ในทางปฏิบัตินั้นการประมาณเวลาสำหรับขั้นตอนการทำงานแต่ละขั้นตอนอาจจะประมาณได้ยาก ซึ่งนักวิชาการก็มีการพัฒนาวิธีการประมาณเวลาในแบบต่างๆ ให้รองรับความผันผวนตรงจุดนี้ด้วย รายละเอียดตรงขั้นตอนการหาสายงานวิกฤติและการประมาณเวลานี้ผมคงไม่อธิบาย ณ ที่นี้ ไม่เช่นนั้นอีกสามฉบับก็คงจะยังไม่จบ หากสนใจก็สามารถหาอ่านได้จากหนังสือวิศวกรรมในหมวดของการวิจัยดำเนินงาน หรือ ค้นหาในอินเตอร์เน็ทดูนะครับ ถ้ามีปัญหาก็อีเมล์มาได้เสมอครับ ฉบับนี้ วารสารเพื่อนสเตนเลสครบรอบ 2 ปี ก็ขอแสดงความยินดี และขอบคุณสำหรับโอกาสที่ทาง TN ให้ผมได้มีพื้นที่ตรงนี้มาตลอดด้วยครับ แล้วพบกันใหม่ครับ

 

 

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อสินค้าได้ที่
บริษัท พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีลเซ็นเตอร์ จำกัด

Tel : 081-618-0778, 081-615-4296, 082-782-8654, 02-753-7753
Fax : 02-753-7770
Email : 
pands_stainless@yahoo.com
LINE : 
@psmetal
Facebook : 
@psstainlesssteel 

 

ดร.อภิชาติ ชยานุภัทร์กุล

ผู้จัดการฝ่ายผลิต บจก. พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีล เซ็นเตอร์

ตีพิมพ์ในวารสารเพื่อนสเตนเลส ปีที่ 2 ฉบับที่ 24/ มีนาคม 2551

  

 

 







[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (36808)

คือว่าดิฉันทำงานวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์เครือข่าย โดยใช้ PERT/CPM ในการก่อสร้างน่ะค่ะ และไม่ค่อยรู้ขั้นการวางแผนเกี่ยวกับการก่อสร้าง จึงอยากขอคำแนะนำน่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะจากนศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาควิชา สถิติ

ผู้แสดงความคิดเห็น กนศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาค (oilmonkeys-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-09-03 18:59:26


ความคิดเห็นที่ 2 (36810)

ในส่วนของงานก่อสร้าง ผมเองไม่ทราบขั้นตอนการทำงานในรายละเอียดเลยครับ แต่ขอแนะนำในส่วนของหลักการที่อาจจะนำไปประยุกต์ใช้นะครับ

ไม่ว่าจะเป็นโครงงานอะไรก็แล้วแต่ ก่อนอื่นเราต้องทราบขอบข่ายงานทั้งหมดที่เราต้องรับผิดชอบก่อน หลังจากนั้นก็แบ่งงานออกเป็นส่วนๆ และเรียงลำดับขั้นตอนการทำงานทั้งหมด

สมมติว่า เรารับผิดชอบในส่วนของงานโครงสร้างตึก ก็อาจจะแบ่งงานเป็นงานถมที่, ลงเสาเข็ม, ตีแบบไม้, ผูกเหล็ก, เทปูน, ก่ออิฐ,ฉาบปูน ฯลฯ

งานต่างๆเหล่านี้ บางงานต้องรอให้งานอื่นเสร็จก่อนถึงจะเริ่มได้ เช่น ก่อนลงเสาเข็มก็ต้องถมที่ก่อน บางงานสามารถทำไปพร้อมกันได้ เช่น ก่ออิฐ, ขัดพื้น, ฉาบปูน ก็ต้องประมาณเวลาในแต่ละงานและเขียนแผนผังวางลำดับขั้นตอนครับ เรื่องรายละเอียดต่างๆทั้งลำดับและเวลาการทำงานนี้ก็ต้องคุยกับผู้รับเหมา หรือ ผู้รับผิดชอบงานในแต่ละส่วน เมื่อได้ข้อมูลครบแล้วจึงจะใช้ทฤษฎีของ PERT/CPM เข้าช่วย

โครงงานใหญ่ที่ซับซ้อน ทำด้วยมือก็คงไม่ไหวแน่ๆครับ โปรแกรมหนึ่งที่นิยมกันมากคือ Microsoft Project ซึ่งหากมีข้อมูลครบถ้วน โปรแกรมก็จะคำนวณเวลาที่ควรจะเริ่ม,เวลาช้าสุดที่เป็นไปได้สำหรับขั้นตอนต่างๆ รวมไปถึงสายงานวิกฤติ และ เรายังสามารถสร้าง/แก้ไข/อัพเดท แผนผังและพิมพ์ออกมาได้ง่ายๆครับ ในเวอร์ชั่นใหม่ๆยังสามารถทำการอัพเดทผ่านอินเตอร์เนทได้ด้วยสำหรับโครงการที่มีหลายไซต์งาน

ถ้าเราเพียงต้องการศึกษา ไม่ได้ไปใช้งานจริง ก็ดาวน์โหลด Demo version ก็ได้ครับ เค้าให้ทดลองใช้ 60 วัน

ตามลิงค์นี้ครับ

http://office.microsoft.com/en-us/project/HA101672711033.aspx

ผู้แสดงความคิดเห็น อภิชาติ วันที่ตอบ 2009-09-04 10:55:38


ความคิดเห็นที่ 3 (36832)
ขอบคุณมากนะคะได้ความรู้เยอะเลยค่ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (oilmonkeys-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-09-09 23:00:18


ความคิดเห็นที่ 4 (37209)

ขอบคุณมากค่ะที่ให้ความรู้

ผู้แสดงความคิดเห็น นึกศึกษาโรงเรียนพณิชยการทุ่งสง วันที่ตอบ 2009-11-30 09:17:31


ความคิดเห็นที่ 5 (37212)
ด้วยความยินดีครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น อภิชาติ วันที่ตอบ 2009-12-01 16:00:09


ความคิดเห็นที่ 6 (37258)

ขอบคุฯมากๆครับ ช่วยได้เยอะกำลังจะสอบพอดีเลยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เชียงใหม่ วันที่ตอบ 2009-12-18 04:02:35


ความคิดเห็นที่ 7 (37940)
อาจารย์คะอยากจะได้ความหมายของเพิร์ทและซีพีเอ็มหลายๆหัวข้อพอจะมีไหมคะพอดีใกล้สอบแล้ว
ผู้แสดงความคิดเห็น ขอนแก่น วันที่ตอบ 2010-05-14 10:17:18


ความคิดเห็นที่ 8 (37944)

ไม่เข้าใจคำถามครับ

ความหมายของเพิร์ทและซีพีเอ็มหลายๆหัวข้อ คือ?

ถ้าเป็นพวกคำนิยามก็หาในหนังสือ หรือ อินเตอร์เน็ทก็มีเยอะครับ

ที่อยากจะแนะนำคือ พยายามทำความเข้าใจวิธีการสร้างและนำไปประยุกต์ใช้

ถ้าเข้าใจตรงนั้นแล้วก็สามารถเขียนความหมายตามความเข้าใจของเราเองได้ไม่ยากครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น อภิชาติ วันที่ตอบ 2010-05-15 09:31:41


ความคิดเห็นที่ 9 (38523)

จะใช้เวลานานเท่าไรแต่ให้ผลการปรับปรุงออกมาสมบูรณ์ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้วสมัยก่อนpertเป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่ายเข้าใจที่สุดเด็กเล็กก็ใช้ได้ดีขอใหประสบผลสำเร็จเร็ววัน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น sao วันที่ตอบ 2010-09-11 12:24:54


ความคิดเห็นที่ 10 (39087)

 

  หนูอยากได้ข้อมูล  Program  Pert  ที่เกี่ยวกับการบริหารการจัดการศึกษา    อ.  เขาให้ทำส่ง  แต่หนูงงมากๆ เลย

ขอความกรุณาช่วยคนยังไม่รู้อย่างหนูสักคนนะคะ 

            ขอบคุณคะ

           พิมสวิยา

ผู้แสดงความคิดเห็น น้ำหวาน (p-dot-tippaworn-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-01-08 13:48:59



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล