ReadyPlanet.com




ความจริง (ครึ่งเดียว) ที่อันตราย

          ฉบับนี้ขอคุยเรื่องการบริหารจัดการทั่วไปที่ไม่เกี่ยวกับงานโลหะแผ่นโดยตรงกันนะครับ พอดีผมได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับการบริหารเล่มหนึ่งชื่อว่า HARD FACTS, DANGEROUS HALF-TRUTHS &  TOTAL NONSENSE – Profiting from Evidence-Based Management เขียนโดย Jeffrey Pfeffer and Robert I. Sutton ผู้เขียนทั้งสองเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย Stanford, สหรัฐอเมริกา เนื้อหาหนังสือนั้นน่าสนใจครับ คือ จะเกี่ยวกับหลักการ, ทฤษฎีต่างๆในการบริหารจัดการที่เราได้ยินได้ฟังอยู่เสมอ หรือ พบเห็นอยู่เป็นประจำจากตำราต่างๆนั้น  ผู้เขียนได้นำมาศึกษาอย่างจริงจัง, แจกแจงรายละเอียดพร้อมกรณีศึกษา และ ชี้ให้เห็นว่า บางอย่างนั้นก็เป็นความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์อีกแล้ว, บางอย่างนั้นเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว และบางอย่างนั้นเป็นเรื่องหลวไหลทั้งเพ การศึกษาของผู้เขียนเริ่มต้นด้วยคำถามจากทฤษฎีเหล่านี้ เช่น องค์กรที่ดีที่สุดมีบุคลากรที่ดีที่สุดจริงหรือ? การจูงใจด้วยเงินเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรจริงหรือ? ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงก็ล้มตาย?  ผู้เขียนได้ศึกษาจากกรณีศึกษาของบริษัทต่างๆมากมาย รวมทั้งงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่างๆนับร้อยๆชิ้น นำมาเป็นหลักฐานสนับสนุนสิ่งที่พวกเขาศึกษาและนำเสนอ ส่วนที่ผมคิดว่าน่าสนใจมากๆ (เพราะความจริงน่าสนใจทุกหัวข้อ) ก็คือในส่วนของความจริงครึ่งเดียว ก็จะขอคุยบางหัวข้อในส่วนนี้ก็แล้วกันครับ

Change or Die? เป็นคำพูดที่ได้ยินกันอยู่เสมอในแวดวงธุรกิจ ว่า ถ้าคุณไม่เปลี่ยนแปลง, สรรค์สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ, หรือนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้ในการทำงาน สักวันหนึ่งคุณก็จะถูกเลียนแบบ และล้มหายตายจากไปจากวงการ ฟังๆดูก็น่าจะจริงใช่ไหมครับ แต่ศาสตราจารย์ทั้งสองท่านมีความเห็นว่า คำพูดดังกล่าวไม่ได้ผิดซะทีเดียวหรอก แต่เป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว เพราะการเปลี่ยนแปลงนั้นแท้จริงแล้วเป็นเหมือนดาบสองคม ตามสถิติจากงานวิจัยพบว่า เมื่อองค์กรหนึ่งได้ทดลองระบบการดำเนินงานใหม่ ส่วนมากมักจะล้มเหลว และบ่อยครั้งผลที่ได้มาจากการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่คุ้มกับสิ่งที่ได้ลงทุนไป หนังสือบริหารมากมายที่ชื่อเรื่องทำนองว่า “เปลี่ยนโดยไม่เจ็บปวด” (Change Without Pain), “การเล็งเห็นสิ่งที่ควรจะทำต่อไป” (Seeing What’s next) หรืออะไรประมาณนี้ ที่มีอยู่มากมายในท้องตลาดนั้น ไม่ใช่สูตรสำเร็จที่จะนำมาใช้ได้อย่างจริงจัง จากการวิจัยของผู้เขียน พบว่า หลายๆกรณีของความผิดพลาดนั้นเกิดจากการประมาณค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงต่ำเกินไป มิหนำซ้ำผู้บริหารมักจะประมาณประโยชน์จากสิ่งที่ได้รับสูงเกินไป สิ่งที่ตามมาคือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมักจะเสียเวลานานกว่าที่คิด, สร้างความเสียหายต่อการดำเนินงาน และ มักจบลงด้วยความล้มเหลว การประมาณการที่ผิดพลาดนั้นส่วนหนึ่งเกิดจากข้อมูลที่ได้รับนั้นบิดเบือนหรือไม่ครบ ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างการนำระบบการวางแผนการใช้ทรัพยากร (Enterprise Resource Planning) เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งในเวบไซต์ของ Oracle (ผู้ผลิตซอฟแวร์) จะยกกรณีตัวอย่างลูกค้ามากมายที่สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา แต่แน่นอนว่า Oracle จะไม่มีทางพูดถึงกรณีทั่วไปที่ลูกค้าเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมากเป็นสองเท่าจากที่คาดการณ์ไว้ แต่จากการวิจัยพบว่า  51% ของการนำระบบ ERP มาใช้ ไม่ประสบความสำเร็จ และมากกว่า 30% ถูกยกเลิกระหว่างการเปลี่ยนแปลง

ถ้าอย่างนั้นเราควรจะทำอย่างไร? อยู่อย่างไม่ต้องเปลี่ยนแปลงหรือ? การปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ใช่คำตอบที่ดีครับ  ผู้เขียนพบว่า ถึงแม้ผู้ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงมักจะถูกมากกว่าผิด แต่ถ้าต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทุกครั้ง องค์กรเหล่านั้นก็แทบจะตายไปเสียทุกรายเหมือนกัน การเปลี่ยนแปลงสามารถประสบความสำเร็จได้ถ้าดำเนินการอย่างถูกต้อง ผู้เขียนได้ให้คำถามเป็นแนวทางไว้ 8 ข้อ อย่างนี้ครับ 1. การดำเนินงานแบบใหม่ดีว่าสิ่งที่คุณทำอยู่แล้วจริงหรือ? 2. การเปลี่ยนแปลงนี้คุ้มค่ากับเวลา, การสูญเสีย, และค่าใช้จ่าย หรือไม่? 3. จะดีกว่าหรือเปล่าหากมันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางภาพลักษณ์ แทนที่จะเป็นการปฏิรูปการดำเนินงานอย่างจริงจัง 4. การเปลี่ยนแปลงนี้ดีสำหรับคุณแต่เลวร้ายสำหรับองค์กรหรือเปล่า? 5. คุณมีอำนาจพอที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงนั้นหรือไม่? 6. บุคลากรของบริษัทระอาจากการเปลี่ยนแปลงอื่นๆที่เกิดขึ้นอยู่แล้วหรือไม่? 7. บุคลากรขององค์กรจะสามารถเรียนรู้และเปิดรับได้หรือไม่ เมื่อการเปลี่ยนแปลงที่วางแผนไว้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอื่นๆตามมาอีก? 8. คุณสามารถยุติโครงการได้หรือไม่, สามารถตระหนักได้หรือไม่ว่า ถึงจุดไหนคือความล้มเหลวและถึงเวลาที่จะต้องยุติ? ในคำถามแต่ละข้อนี้ ผู้เขียนได้ให้แนวทางในการหาคำตอบ พร้อมให้ตัวอย่างกรณีศึกษาความเปลี่ยนแปลงขององค์กรในลักษณะต่างๆมากมาย ทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว เพื่อที่จะลดความเสี่ยงในรูปแบบต่างๆ บางคำถามนี้ผมควรจะต้องแจกแจงเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง น่าเสียดายที่หน้ากระดาษมีไม่มากไม่งั้นคงสาธยายรายละเอียดได้มากกว่านี้

สิ่งที่ผมคิดว่า งานเขียนเล่มนี้แตกต่างจากหนังสือบริหารจัดการเล่มอื่นๆ ก็คือ ทุกอย่างที่นำมาวิเคราะห์ศึกษานั้น อ้างอิงจากหลักฐานที่เกิดขึ้นจริง (Evidence-based) นับสิบๆปีและงานเขียน, กรณีศึกษาที่อ้างอิงได้อีกหลายร้อยชิ้น ไม่ใช่เขียนขึ้นมาโดยอ้างอิงจากหลักการในตำราเป็นหลัก และที่น่าสนใจมากๆ คือ หลักฐานหลายอย่างนั้นค้านกับความรู้ หรือ ความรู้สึกที่มีอยู่เดิมนี่แหละครับ ถ้ามีโอกาสก็ลองหาอ่านดูนะครับ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าครับ

 

ดร.อภิชาติ ชยานุภัทร์กุล

ผู้จัดการฝ่ายผลิต บจก. พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีล เซ็นเตอร์

ตีพิมพ์ในวารสารเพื่อนสเตนเลส ปีที่ 2 ฉบับที่ 20-21 / พฤศจิกายน-ธันวาคม 2550

 




บทความจากวารสารเพื่อนสเตนเลส

ความแตกต่างของการทำวีคัทจากเครื่อง NC และ CNC
งานคิ้วและกรุยเชิงด้วยเทคนิค วีคัท ใช้ในงานตกแต่งอะไรบ้าง?
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
วิธีดูงานเนี้ยบ VS งานหยาบ ในการพับและม้วนโลหะของชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์
ตัดพับโลหะและการเชื่อมโลหะ ขั้นตอนในการทำชิ้นส่วนของเครื่องจักรหลายประเภท
5 สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนออกแบบงานพับเหล็กและงานดัดโค้ง
เทคนิคการทำ วีคัท อย่างไรให้ได้ชิ้นงานที่สวยสำหรับงานตกแต่ง
การนำท่อสแตนเลส ท่อเหล็ก และเพลาเหล็กขนาดต่าง ๆ ไปใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม
การทำสีโลหะทองเหลืองและทองแดง
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
งานสแตนเลสแบบใด ที่เหมาะกับการตัดพลาสมา
ความแตกต่างระหว่างคิ้วสแตนเลสสำเร็จรูปและคิ้วสแตนเลสแบบสั่งทำ
ไอเดีย เลือกสีคิ้วสแตนเลสให้เข้ากับกระเบื้อง สไตล์ Mood&Tone
คุณสมบัติของเหล็กเกรดต่าง ๆ ส่งผลต่อแรงดันในการตัดพับเหล็กอย่างไร
นวัตกรรม Anti-Fingerprint บนสแตนเลสแผ่น
การทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องเลเซอร์เหล็กกับ AutoCAD
เลเซอร์เหล็กรูปแบบใดบ้าง ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
ตัดเลเซอร์ 3D สามารถใช้ตัดงานขึ้นรูปโลหะแบบไหนได้บ้าง
เลเซอร์เหล็กและตัดพับเหล็ก เหมาะกับการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมใดบ้าง
ขั้นตอนการเตรียมพื้นผิวงานสแตนเลสสั่งทํา
เลเซอร์ตัดเหล็กกับความหนา-บางของวัสดุ
งานสแตนเลสสั่งทํากับงานสถาปัตยกรรม
เศษจากการเลเซอร์เหล็ก สามารถนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง
ลักษณะการใช้งานของคิ้วสแตนเลสตัว T และ ตัว U
การออกแบบและเลือกใช้หลอดไฟ LED สำหรับป้ายอักษรโลหะ
วิธีแก้รื้อ แก้ไขป้ายอักษรโลหะ ให้พื้นผิวเสียหายน้อยที่สุด
ปัจจัยที่ทำให้งานขึ้นรูปโลหะไม่ได้คุณภาพ มีอะไรบ้าง
ข้อห้ามที่ไม่ควรทำกับพื้นผิวคิ้ว/กรุยเชิงสแตนเลส
ทำไมต้องใช้ คิ้ว /กรุยเชิงสแตนเลสในการตกแต่งอาคาร
การติดตั้งคิ้วสแตนเลส กรุยเชิงสแตนเลส
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีป้ายอักษรโลหะและป้ายประเภทอื่น ๆ
ประโยชน์ของการใช้ป้ายอักษรโลหะในธุรกิจ
วิธีการบำรุงรักษาป้ายอักษรโลหะเพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนาน
ไอเดียการออกแบบป้ายอักษรโลหะให้เหมาะกับธุรกิจ
ประโยชน์ของการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
วิธีการพับโลหะแผ่น
ขั้นตอนการขัดผิวงานสแตนเลส Finishing stainless steel
การเปรียบเทียบ Punching สแตนเลส กับวิธีการอื่น ๆ ในการปั๊มเจาะรูโลหะ
ข้อดีของการใช้สแตนเลสเป็นหน้ากากอาคาร
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
ประโยชน์และการทำงาน รวมถึงข้อจำกัดของงานวีคัท
ปัจจัยที่สำคัญและเทคนิคการเชื่อมเลเซอร์ในงานอุตสาหกรรม
การบำรุงรักษาเครื่องตัดเลเซอร์ เพื่อให้ได้งานตัดเลเซอร์ที่มีคุณภาพ
ตกแต่งบ้านให้ดูหรูหรา ทันสมัย ด้วยกรุยเชิงสแตนเลส
งานตัดพับเหล็กที่มีคุณภาพ มีลักษณะเป็นอย่างไร
ปัจจัยในเลือกเกรดสแตนเลสแผ่นให้เหมาะกับการใช้งาน
มาทำความรู้จักคุณลักษณะของพื้นผิวสแตนเลสแผ่นแต่ละชนิด
เครื่องเลเซอร์ตัดเหล็ก กับงานอุตสาหกรรม
การตัดสแตนเลสแผ่นด้วยเครื่องจักรเลเซอร์ VS แรงงานคน
คุณสมบัติของราวบันไดสแตนเลสและกับการตกแต่งอาคาร
วิธีการดูแลรักษาสแตนเลสแผ่น (แผ่นสีเงิน)
การทำสีโลหะด้วยสีฝุ่นและสีน้ำมัน แตกต่างกันอย่างไร
งานสแตนเลสสั่งทำ กับการตกแต่งบ้านและอาคาร
ไอเดียออกแบบป้ายอักษรโลหะอย่างไร ให้ร้านค้าดูสวยโดดเด่น
กระบวนการในการขึ้นรูปโลหะ
การเลือกใช้แผ่นสแตนเลสสีในงานประกอบ
ความแตกต่างระหว่าง คิ้วสเเตนเลส บัวสเเตนเลสและอะลูมิเนียม
เครื่องตัดเลเซอร์มีกี่ประเภท
งานสแตนเลสสั่งทำ เชื่อมสแตนเลส เชื่อมเหล็ก
สแตนเลสแผ่นกับการทำฝ้าเพดาน
รอยต่อการเชื่อมเหล็กในงานโครงสร้าง
เครื่องจักรญี่ปุ่นที่มีมาตรฐานสูง ส่งผลต่อคุณภาพของงานตัดพับเหล็ก ตัดสแตนเลสอย่างไร
ทำไมต้องใช้แผ่นสแตนเลสสี ของ BLISS metal
ก่อนทำป้ายอักษรโลหะขนาดใหญ่ ต้องรู้อะไรบ้าง
วิวัฒนาการของการทำสีสแตนเลส
งานสแตนเลสกับงาน Interior Design
งานโลหะ ตัดเลเซอร์ พับ ม้วนโลหะแผ่น เจาะรู เชื่อม ทำสี ครบจบวงจรที่ P&S Stainless
สแตนเลสกับสนิม
ปัจจัยที่มีผลกับราคาของงานขึ้นรูปโลหะ ทำไมราคาของแต่ละที่ถึงต่างกัน
Give and Take
อลูมิเนียม
Big Data Analytics
Win – Win
ธุรกิจเพื่อผู้สูงอายุ
จริยธรรมในธุรกิจ
Infographics
เดินประชุม
Internet of Things (IoT)
โฟกัสกลุ่มเป้าหมาย article
ศรัทธากับความจริง
โลกสมัยใหม่กับพ่อค้าคนกลาง
รถยนต์จากบริษัท IT
พลังแห่งการลืม
AND THIS TOO SHALL PASS
Coworking Space
SMALL IS BEAUTIFUL
การใช้ระบบ IT ในองค์กร
เซกานิก เอฟเฟค
เยี่ยมชมโรงงานที่ญี่ปุ่น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาสเตนเลส
Sheet Metal Exhibitions
เทคโนโลยีที่ล้มเหลว
ไมอีลิน
Frank Gehry กับงานสถาปัตยกรรมสเตนเลส
พัฒนาการของ Metal 3D printer
ความเป็นเยอรมัน
Folding Machine article
ความไร้เหตุผลของความเห็นอกเห็นใจ article
EoS กับ Tesla



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล