ReadyPlanet.com




การทำสีโลหะทองเหลืองและทองแดง

การทำสีโลหะทองเหลืองและทองแดง

ใช้น้ำยาออกซิไดเซอร์ในการทำสีโลหะทองเหลืองและทองแดง

 

สำหรับผู้ที่ชื่นชอบของตกแต่งหรือชอบใช้วัสดุที่ทำจากทองเหลืองและทองแดงในสไตล์แอนทีค น่าจะรู้จักทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำหรือการทำ Blackening กันเป็นอย่างดี ซึ่งวัสดุโลหะทั้งสองอย่างนี้ เป็นวัสดุที่ผ่านการทำสีโลหะเพื่อให้มีคราบสีดำเกาะติดเป็นสีเหลือบ ๆ อยู่บนพื้นผิวของทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำ จนทำให้โลหะธรรมดาที่เป็นของใหม่ กลายสภาพเป็นทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำ ที่ดูเหมือนผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนาน และแลดูเป็นของเก่าแอนทีค แล้วรู้หรือไม่ว่าวิธีการทำสีโลหะเพื่อให้ได้ทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำนั้นมีวิธีการอย่างไร ต้องใช้เครื่องมืออะไรบ้างถึงจะสร้างให้เกิดคราบดำเก่า ๆ บนทองเหลืองและทองแดงใหม่ ๆ ได้ และคราบดำ ๆ บนทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำนั้นคืออะไรกันแน่ มันเกิดขึ้นในขั้นตอนการทำสีโลหะได้อย่างไร

 

คราบดำ ๆ บนทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำคืออะไรและเกิดจากอะไร

คราบสีดำเหลือบ ๆ ที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวของทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำ เกิดจากการที่ทองเหลืองและทองแดงทำปฏิกิริยาทางเคมีหรือเกิดการออกซิเดชั่นจากกรรมวิธีรมดำ จนมีคราบสีดำเป็นฟิล์มบาง ๆ เคลือบอยู่บนพื้นผิวของทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำ โดยคราบสีดำนี้จะมีความหนาประมาณ 1-3 ไมครอน ซึ่งจะมีประโยชน์ในการช่วยป้องกันการเกิดสนิมให้กับทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำด้วย

คราบสีดำบนพื้นผิวของทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำนี้ เป็นคราบที่หากปล่อยวัสดุทองเหลืองและทองแดงทิ้งไว้เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่มีการขัดล้างทำความสะอาดและลงน้ำยาขัดโลหะเลย วัสดุก็จะเกิดคราบสีดำขึ้นได้เองตามธรรมชาติ จากการสัมผัสกับอากาศจนเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน แต่กว่าจะเกิดคราบสีดำขึ้นเองก็อาจใช้เวลานานจนเกินไป ดังนั้นการทำสีโลหะให้กลายเป็นทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำ จึงเข้ามาเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ชื่นชอบการผลิตชิ้นงานโลหะเก่า ๆ สไตล์แอนทีค แต่ไม่อยากรอนาน

แต่อย่างไรก็ดีการใช้น้ำยาออกซิไดเซอร์ในการทำสีโลหะกับวัสดุทองเหลืองและทองแดง สีและคราบดำที่เกิดขึ้นจากการทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่น จะมีลักษณะที่ไม่สม่ำเสมอกัน โดยบนพื้นผิวของทองเหลืองและทองแดง จะมีสีดำจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกระจายตัวเป็นสีเหลือบ ๆ จนทั่วทั้งชิ้นงาน และคราบดำนี้บางจุดจะเข้ม บางจุดจะอ่อน และในการทำสีของงานทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำ สีของงานแต่ละชิ้นก็จะออกมาไม่เหมือนกันสักชิ้นด้วยเช่นกัน และแม้จะเป็นการปล่อยให้ชิ้นงานเกิดการออกซิเดชั่นขึ้นเองตามธรรมชาติ สีที่ได้ก็จะมีความไม่สม่ำเสมอ แบบเดียวกันกับชิ้นงานที่ใช้สารเคมีทำให้เกิดออกซิเดชัน ดังนั้นจึงต้องมีความเข้าใจธรรมชาติของการทำสีประเภทนี้ในเบื้องต้น ว่าจะไม่ได้สีที่มีความสม่ำเสมอและไม่ได้สีที่มีความเสถียรในการทำแบบเดียวกับการผสมสีพ่นรถยนต์ ที่จะออกมาเป็นสีเดิมทุกครั้ง

ขั้นตอนการทำทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำ

การทำสีโลหะให้กลายเป็นทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำนั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 2 วิธี คือ การรมดำแบบร้อนและการรมดำแบบเย็น ซึ่งการรมดำทั้งสองแบบนี้มีความแตกต่างกันตรงการต้มหรือไม่ต้มน้ำยารมดำ

  • การทำทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำแบบร้อน
    1. ทำความสะอาดพื้นผิวของชิ้นงานทองเหลืองและ ทองแดงให้เรียบร้อย ด้วยการใช้น้ำยาล้างคราบไขมันให้สะอาด และอาจใช้กระดาษทรายช่วยขัดพื้นผิวให้เรียบด้วยก็ได้

    2. อาจปิดบางส่วนของชิ้นงานที่ไม่ต้องการรมดำเอาไว้ ด้วยการเคลือบซิลิโคน เพื่อให้บริเวณนั้น ๆ ไม่ถูกน้ำยารมดำขณะกำลังทำสีโลหะ

    3. นำสารละลายรมดำที่ประกอบด้วย NaOH และ NaNO3 ไปต้มในหม้อสแตนเลสจนได้อุณหภูมิ 135-145 องศาเซลเซียส จากนั้นนำชิ้นงานทองเหลืองและทองแดงมาต้มเพื่อทำให้กลายเป็นทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำในน้ำยา จากนั้นต้มชิ้นงานให้ทั่วถึงประมาณครึ่งชั่วโมง หรือจนกว่าจะได้สีรมดำของทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำในเฉดที่ต้องการ

    4. นำชิ้นงานทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำขึ้นมาล้างน้ำเปล่าให้สะอาด เช็ดให้แห้งสนิท จากนั้นนำทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำมาทาด้วยน้ำมันปืนหรือน้ำมันเครื่องให้ทั่ว แล้วนำไปตากแดดจนแห้งสักครึ่งชั่วโมง เพื่อป้องกันสนิมให้กับทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำ

  • การทำทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำแบบเย็น
    1. ทำความสะอาดชิ้นงานทองเหลืองและทองแดงก่อนการนำมาทำสีโลหะให้สะอาด ให้ปราศจากน้ำมันเคลือบผิว และขัดพื้นผิวชิ้นงานให้เรียบ

    2. เทน้ำยาสำหรับทำทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำลงในภาชนะสแตนเลส (ไม่ควรใช้ภาชนะชนิดอื่น เพราะอาจถูกน้ำยากัดกร่อน) ข้อควรระวังคือต้องเลือกใช้น้ำยาสูตรสำหรับการทำทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำโดยเฉพาะเท่านั้น เนื่องจากสูตรของสารเคมีในน้ำยาที่ใช้ทำทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำ จะแตกต่างจากน้ำยาที่ใช้รมดำโลหะชนิดอื่น

    3. นำแปรงมาทาน้ำยมรมดำให้ทั่วชิ้นงาน และอาจใช้คอตต้อนบัตหรือแปรงขนาดเล็กทาเก็บรายละเอียดตามซอกมุมเล็ก ๆ ของชิ้นงานทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำ หรือหากชิ้นงานทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำมีขนาดใหญ่ ก็สามารถใช้วิธีชุบลงไปในน้ำยารมดำได้

    4. เมื่อน้ำยารมดำแห้งแล้วให้ล้างทำความสะอาด และนำไปทาน้ำมันหรือวาสลีนเพื่อป้องกันสนิมและขัดให้ทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำขึ้นเงาสวยงาม

 

เคล็ดลับในการเลือกน้ำยาออกซิไดเซอร์ที่ใช้สำหรับการทำทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำให้ถูกต้อง

  • ควรเลือกใช้น้ำยาออกซิไดเซอร์ที่เขียนบนฉลากว่า "Brass Oxidizer" สำหรับงานทองเหลืองรมดำ และใช้น้ำยา "Copper Oxidizer" สำหรับงานทองแดงรมดำเท่านั้น โดยน้ำยารมดำโลหะทั้งสองชนิดนี้ จะมีส่วนผสมของคอปเปอร์คาร์บอเนต (CuCO3) และแอมโมเนีย (NH40H)

  • ห้ามใช้น้ำยาออกซิไดเซอร์ผิดประเภทเด็ดขาด น้ำยาออกซิไดเซอร์สำหรับทองเหลืองรมดำต้องใช้กับทองเหลืองเท่านั้น และน้ำยาออกซิไดเซอร์สำหรับทองแดงรมดำต้องใช้กับทองแดงเท่านั้น ห้ามนำไปใช้กับโลหะชนิดอื่น และห้ามนำน้ำยารมดำสำหรับโลหะชนิดอื่น มาใช้กับทองเหลืองและทองแดงเช่นกัน เพราะโลหะแต่ละชนิดจะมีองค์ประกอบธาตุโลหะที่ต่างกัน ดังนั้นการทำปฏิกิริยากับสารเคมีต่าง ๆ ก็จะแตกต่างกันไปด้วย


และหากคุณกำลังมีต้องการจะ
ทำสีโลหะให้เป็นทองเหลืองรมดำและทองแดงรมดำ ก็สามารถมาใช้บริการทำสีของ พี แอนด์ เอส สแตนเลสสตีล เซ็นเตอร์ ที่มีบริการพ่นสีฝุ่นทั้งสี 1K และ 2K พร้อมบริการงานโลหะด้านอื่น ๆ แบบครบวงจร 

 

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อสินค้าได้ที่
บริษัท พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีลเซ็นเตอร์ จำกัด
Tel : 081-618-0778, 081-615-4296, 082-782-8654, 02-753-7753
Fax : 02-753-7770
Email : 
pands_stainless@yahoo.com
LINE : 
@psmetal
Facebook : 
@psstainlesssteel

 




บทความจากวารสารเพื่อนสเตนเลส

ความแตกต่างของการทำวีคัทจากเครื่อง NC และ CNC
งานคิ้วและกรุยเชิงด้วยเทคนิค วีคัท ใช้ในงานตกแต่งอะไรบ้าง?
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
วิธีดูงานเนี้ยบ VS งานหยาบ ในการพับและม้วนโลหะของชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์
ตัดพับโลหะและการเชื่อมโลหะ ขั้นตอนในการทำชิ้นส่วนของเครื่องจักรหลายประเภท
5 สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนออกแบบงานพับเหล็กและงานดัดโค้ง
เทคนิคการทำ วีคัท อย่างไรให้ได้ชิ้นงานที่สวยสำหรับงานตกแต่ง
การนำท่อสแตนเลส ท่อเหล็ก และเพลาเหล็กขนาดต่าง ๆ ไปใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
งานสแตนเลสแบบใด ที่เหมาะกับการตัดพลาสมา
ความแตกต่างระหว่างคิ้วสแตนเลสสำเร็จรูปและคิ้วสแตนเลสแบบสั่งทำ
ไอเดีย เลือกสีคิ้วสแตนเลสให้เข้ากับกระเบื้อง สไตล์ Mood&Tone
คุณสมบัติของเหล็กเกรดต่าง ๆ ส่งผลต่อแรงดันในการตัดพับเหล็กอย่างไร
นวัตกรรม Anti-Fingerprint บนสแตนเลสแผ่น
การทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องเลเซอร์เหล็กกับ AutoCAD
เลเซอร์เหล็กรูปแบบใดบ้าง ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
ตัดเลเซอร์ 3D สามารถใช้ตัดงานขึ้นรูปโลหะแบบไหนได้บ้าง
เลเซอร์เหล็กและตัดพับเหล็ก เหมาะกับการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมใดบ้าง
ขั้นตอนการเตรียมพื้นผิวงานสแตนเลสสั่งทํา
เลเซอร์ตัดเหล็กกับความหนา-บางของวัสดุ
งานสแตนเลสสั่งทํากับงานสถาปัตยกรรม
เศษจากการเลเซอร์เหล็ก สามารถนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง
ลักษณะการใช้งานของคิ้วสแตนเลสตัว T และ ตัว U
การออกแบบและเลือกใช้หลอดไฟ LED สำหรับป้ายอักษรโลหะ
วิธีแก้รื้อ แก้ไขป้ายอักษรโลหะ ให้พื้นผิวเสียหายน้อยที่สุด
ปัจจัยที่ทำให้งานขึ้นรูปโลหะไม่ได้คุณภาพ มีอะไรบ้าง
ข้อห้ามที่ไม่ควรทำกับพื้นผิวคิ้ว/กรุยเชิงสแตนเลส
ทำไมต้องใช้ คิ้ว /กรุยเชิงสแตนเลสในการตกแต่งอาคาร
การติดตั้งคิ้วสแตนเลส กรุยเชิงสแตนเลส
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีป้ายอักษรโลหะและป้ายประเภทอื่น ๆ
ประโยชน์ของการใช้ป้ายอักษรโลหะในธุรกิจ
วิธีการบำรุงรักษาป้ายอักษรโลหะเพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนาน
ไอเดียการออกแบบป้ายอักษรโลหะให้เหมาะกับธุรกิจ
ประโยชน์ของการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
วิธีการพับโลหะแผ่น
ขั้นตอนการขัดผิวงานสแตนเลส Finishing stainless steel
การเปรียบเทียบ Punching สแตนเลส กับวิธีการอื่น ๆ ในการปั๊มเจาะรูโลหะ
ข้อดีของการใช้สแตนเลสเป็นหน้ากากอาคาร
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
ประโยชน์และการทำงาน รวมถึงข้อจำกัดของงานวีคัท
ปัจจัยที่สำคัญและเทคนิคการเชื่อมเลเซอร์ในงานอุตสาหกรรม
การบำรุงรักษาเครื่องตัดเลเซอร์ เพื่อให้ได้งานตัดเลเซอร์ที่มีคุณภาพ
ตกแต่งบ้านให้ดูหรูหรา ทันสมัย ด้วยกรุยเชิงสแตนเลส
งานตัดพับเหล็กที่มีคุณภาพ มีลักษณะเป็นอย่างไร
ปัจจัยในเลือกเกรดสแตนเลสแผ่นให้เหมาะกับการใช้งาน
มาทำความรู้จักคุณลักษณะของพื้นผิวสแตนเลสแผ่นแต่ละชนิด
เครื่องเลเซอร์ตัดเหล็ก กับงานอุตสาหกรรม
การตัดสแตนเลสแผ่นด้วยเครื่องจักรเลเซอร์ VS แรงงานคน
คุณสมบัติของราวบันไดสแตนเลสและกับการตกแต่งอาคาร
วิธีการดูแลรักษาสแตนเลสแผ่น (แผ่นสีเงิน)
การทำสีโลหะด้วยสีฝุ่นและสีน้ำมัน แตกต่างกันอย่างไร
งานสแตนเลสสั่งทำ กับการตกแต่งบ้านและอาคาร
ไอเดียออกแบบป้ายอักษรโลหะอย่างไร ให้ร้านค้าดูสวยโดดเด่น
กระบวนการในการขึ้นรูปโลหะ
การเลือกใช้แผ่นสแตนเลสสีในงานประกอบ
ความแตกต่างระหว่าง คิ้วสเเตนเลส บัวสเเตนเลสและอะลูมิเนียม
เครื่องตัดเลเซอร์มีกี่ประเภท
งานสแตนเลสสั่งทำ เชื่อมสแตนเลส เชื่อมเหล็ก
สแตนเลสแผ่นกับการทำฝ้าเพดาน
รอยต่อการเชื่อมเหล็กในงานโครงสร้าง
เครื่องจักรญี่ปุ่นที่มีมาตรฐานสูง ส่งผลต่อคุณภาพของงานตัดพับเหล็ก ตัดสแตนเลสอย่างไร
ทำไมต้องใช้แผ่นสแตนเลสสี ของ BLISS metal
ก่อนทำป้ายอักษรโลหะขนาดใหญ่ ต้องรู้อะไรบ้าง
วิวัฒนาการของการทำสีสแตนเลส
งานสแตนเลสกับงาน Interior Design
งานโลหะ ตัดเลเซอร์ พับ ม้วนโลหะแผ่น เจาะรู เชื่อม ทำสี ครบจบวงจรที่ P&S Stainless
สแตนเลสกับสนิม
ปัจจัยที่มีผลกับราคาของงานขึ้นรูปโลหะ ทำไมราคาของแต่ละที่ถึงต่างกัน
Give and Take
อลูมิเนียม
Big Data Analytics
Win – Win
ธุรกิจเพื่อผู้สูงอายุ
จริยธรรมในธุรกิจ
Infographics
เดินประชุม
Internet of Things (IoT)
โฟกัสกลุ่มเป้าหมาย article
ศรัทธากับความจริง
โลกสมัยใหม่กับพ่อค้าคนกลาง
รถยนต์จากบริษัท IT
พลังแห่งการลืม
AND THIS TOO SHALL PASS
Coworking Space
SMALL IS BEAUTIFUL
การใช้ระบบ IT ในองค์กร
เซกานิก เอฟเฟค
เยี่ยมชมโรงงานที่ญี่ปุ่น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาสเตนเลส
Sheet Metal Exhibitions
เทคโนโลยีที่ล้มเหลว
ไมอีลิน
Frank Gehry กับงานสถาปัตยกรรมสเตนเลส
พัฒนาการของ Metal 3D printer
ความเป็นเยอรมัน
Folding Machine article
ความไร้เหตุผลของความเห็นอกเห็นใจ article
EoS กับ Tesla
Human Error