ReadyPlanet.com




รอยต่อการเชื่อมเหล็กในงานโครงสร้าง

รอยต่อการเชื่อมเหล็กในงานโครงสร้าง

เทคนิคและวิธีปฏิบัติของการเชื่อมที่ใช้ในอุตสาหกรรมหรืองานโครงสร้างเป็นอย่างดี
รวมถึงประเภทของข้อต่อหรือรอยต่อในการเชื่อมด้วย



ไม่ว่าจะเป็นอาคารบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ มีการใช้งานโครงสร้างเหล็กกันเยอะมากขึ้น เพราะนอกจากความแข็งแรงทนทนแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งของงานดีไซน์เพื่อความสวยงามของการตกแต่งบ้าน อาคารหรือสำนักงานอีกด้วย แต่งานโครงสร้างที่ทำจากเหล็กนั้นข้อเสียที่หลีกเลี่ยงได้ยากมากๆ ก็คือ “รอยต่อ” หากงานโครงสร้างเหล็กที่ต้องการความสวยงามที่ไม่ต้องการรอยต่อ โดยทั่วไปก็มีวิธีเก็บรอยต่อด้วย 2 วิธีหลักๆ คือ การเก็บรอยต่อด้วยสี และการเชื่อมเหล็ก ซึ่งมีรายละเอียด

  • การเก็บรอยต่อด้วยสี นั้นจะต้องเลือกใช้สีที่ไม่ต้องอบ ซึ่งเป็นเลือกใช้เป็นวิธีการโป๊วสีในการเก็บรอยต่อของงานโครงสร้างเหล็ก โดยวิธีการนี้ในการปฏิบัติงานเราจะต้องส่งทีมงานเข้าไปแก้ที่พื้นที่หน้างานของลูกค้า และความซับซ้อนของวิธีการนี้ก็มีค่อนข้างเยอะ เช่น ขนาดชิ้นงาน ขนิดพื้นที่หน้างาน ความยากง่ายของการเก็บรอยต่อ ซึ่งแน่นอนว่าก็จะมีค่าใช้จ่ายในการแก้ไขด้วยวิธีนี้ค่อนข้างสูง


  • การเชื่อมเหล็ก เป็นวิธีการที่มีหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน และโดยทั่วไปช่างต่างๆ ก็มักจะใช้วิธีการนี้ แต่การเก็บรอยต่อด้วยวิธีการนี้ก็จะไม่ค่อยสวยงาม เพราะการเชื่อมนั้นเป็นวิธีการที่ใช้ความร้อนในการเชื่อมต่อโลหะ และจะทำให้โลหะมีโอกาสการพองตัวหรือยุบตัว ซึ่งช่างที่ทำงานจะไม่สามารถคาดคะเนได้เลยว่างานนั้นๆ โลหะจะเกิดการยุบหรือพองตัว

เพราะงานเชื่อมเหล็ก เป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดอดทนและมีความรอบคอบสูง เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงสวยงาม โดยเฉพาะงานโครงสร้างต่างๆ ที่นอกจากจะต้องประณีตในการเชื่อมแล้ว ยังต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์สูงด้วย ฉะนั้น ช่างเชื่อมหรือบริษัทที่รับเชื่อมโลหะชนิดต่างๆ จะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีปฏิบัติของการเชื่อมที่ใช้ในอุตสาหกรรมหรืองานโครงสร้างเป็นอย่างดี ทั้งการเลือกขนาดของแผ่นเหล็กมาตราฐาน ซึ่งขนาดที่นิยมใช้กันก็คือ 4x8 และ 5x10 ฟุต นอกจากนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของข้อต่อหรือรอยต่อในการเชื่อมก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ตามที่ American Welding Society (AWS) สมาคมมาตรฐานลวดเชื่อมของสมาคมการเชื่อมประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เป็นสมาคมเชื่อมที่ยอมรับกันทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศไทยได้ระบุบข้อมูลเกี่ยวกับข้อต่อหรือรอยต่อในงานเชื่อมเหล็กไว้ว่า “งานเชื่อมที่แตกต่างกัน ย่อมต้องใช้ข้อต่อหรือรอยต่อในแต่ละประเภทที่แตกต่างกัน”

โดยรอยต่อของงานเชื่อมนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะถูกออกแบบมาให้ตอบโจทย์ความต้องการในการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้

  1. การเชื่อมรอยต่อชน (Butt Joint Welding) หรือรอยเชื่อมชน
    ก็คือรอยต่อที่นำขอบ โลหะ 2 ชิ้นมาประกบชนกันโดยผิวของชิ้นงานอยู่ในระนาบเดียวกัน และใช้วิธีการ
    เชื่อมเหล็กเพื่อต่อติดกัน ซึ่งการเชื่อมรอยต่อชนิดนี้ถือเป็นรอยต่อทั่วไปในการผลิตโครงสร้างและระบบท่อ การเตรียมงานและวิธีการทำงานค่อนข้างง่าย ไม่ซับซ้อน อีกทั้งยังมีรูปแบบการเชื่อมรอยต่อชนให้เลือกหลายรูปแบบตามความต้องการในการใช้งาน โดยแต่ละแบบก็มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป เช่น รูปร่างของร่อง การแบ่งชั้น ความกว้างของช่องว่าง หรือความหนาของชิ้นงาน นั่นเอง

    รูปแบบของการเชื่อมรอยต่อชน มีดังนี้ 
    • การเชื่อมรอยต่อชนแบบเหลี่ยม
    • การเชื่อมรอยต่อชนตัว J แบบเดี่ยวและคู่
    • การเชื่อมรอยต่อชนตัว V แบบเดี่ยวและคู่
    • การเชื่อมรอยต่อชนตัว U แบบเดี่ยวและคู่

    โดยพื้นผิวของโลหะที่หลอมละลายในระหว่างกระบวนการเชื่อมโลหะนั้น เรียกว่า “Faying Surfaces” หรือพื้นผิวที่สัมผัสกันที่ข้อต่อ อาจเชื่อมต่อกันด้วยการสลักเกลียวหรือหมุดย้ำ กาว การเชื่อมหรือการบัดกรี เป็นต้น ซึ่งประโยชน์ของการหลอมละลายพื้นผิวบริเวณที่ทำการเชื่อมต่อนั้น จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของรอยต่อและทำให้พื้นผิวเรียบเนียนมากยิ่งขึ้นได้ ซึ่งในบางกรณีที่ร่องสำหรับการเชื่อมรอยต่อมีขนาดที่กว้างมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะต้องทำการเชื่อมมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งข้อเสียที่มักจะเกิดขึ้นกับวิธีการเชื่อมรอยต่อชนนี้ก็คือ รอยเชื่อมอาจเกิดการไหม้ทะลุ เหล็กหรือโลหะอื่นๆ มีรอบแตกร้าว เป็นต้น

  2. การเชื่อมรอยต่อรูปตัวที (T Joint Welding)
    คือรอยต่อที่นำขอบของชิ้นงานชิ้นหนึ่งวางบนผิวงานอีกชิ้นหนึ่งตัดกันที่มุม 90° ทำให้ขอบมารวมกันตรงกลางแผ่น เป็นรูปตัว "T" โดยจะบากร่องของขอบชิ้นงานหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาแนวเชื่อมที่เกิดขึ้นบนรอยต่อตัวทีที่เป็นแนวเชื่อมมุม  โดยข้อต่อหรือรอยต่อรูปตัวทีนี้ถือเป็นประเภทของ (Fillet Weld) คือแนวเชื่อมฉาก โดยรอยเชื่อมชนิดนี้จะมีลักษณะ คือ ชิ้นงานทั้งสองจะต้องทำมุมฉากกัน ซึ่งขอบของชิ้นงานชิ้นหนึ่งจะต้องตั้งลงบนผิวของชิ้นงานอีกชิ้นหนึ่ง และจะต้องชิดกันไม่เว้นช่องว่างให้เกิดเป็นรูปสามเหลี่ยมบริเวณแนวเชื่อม อาจจะเชื่อมเป็นแนวเดียวหรือหลายแนวก็ได้ ขึ้นอยู่กับความหนาและการออกแบบรอยเชื่อม  สิ่งสำคัญของการเชื่อมบนรอยต่อประเภทนี้ คือการตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการเจาะเข้าไปในหลังของรอยคาของรอบเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ โดยรูปแบบของการเชื่อมที่สามารถใช้กับรอยต่อรูปตัว T มีดังนี้คือ

    • Plug Weld คือรอยเชื่อมอุด เป็นรอยเชื่อมที่เกิดจากการอุดร่องบนชิ้นงานที่วางเกยกันโดยเจาะรูเฉพาะชิ้นงานแผ่นบน แล้วทำการเชื่อมให้เต็มรู รอยเชื่อมชนิดนี้เหมาะสำหรับงานที่ไม่ต้องการให้ขอบงานมีรอยเชื่อม

    • Slot Weld คือการเชื่อมอุดอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นการต่อแผ่นเหล็ก 2 ชิ้นที่นํามาซ้อนกันโดย การเจาะรูหรือทําช่องเตรียมไว้ก่อน แล้วจึงเชื่อมอุดลงในช่องให้ติดกัน การเชื่อมลักษณะนี้เรียกอีกแบบว่า การเชื่อมต่อแบบทาบสามารถรับแรงเฉือนได้ดี แต่มีข้อเสียคือ ชิ้นส่วนอาจเกิดการบิดงอหรือโก่งตัวได้

    • Bevel Groove Weld คือแนวเชื่อมร่อง มีอยู่ด้วยกันหลายแบบขึ้นอยู่กับความหนาและการบากงานแบบต่างๆ รอยเชื่อมนี้จะใช้เชื่อมต่อชนบริเวณขอบของชิ้นงาน โดยจะเว้นเป็นช่องว่างระหว่างชิ้นงาน จะบากหน้าหรือไม่บากก็ได้แต่จะต้องให้มีช่องว่าง การบากหน้างานนั้นสามารถบากเป็นรูปต่างๆ ได้ เช่น ตัวV ตัวU หรือตัวJ เป็นต้น

    • Fillet Weld คือแนวเชื่อมฉาก โดยชิ้นงานทั้งสองจะต้องทำมุมฉากกัน ซึ่งขอบของชิ้นงานชิ้นหนึ่งจะต้องตั้งลงบนผิวของชิ้นงานอีกชิ้นหนึ่ง และจะต้องชิดกันไม่เว้นช่องว่างให้เกิดเป็นรูปสามเหลี่ยมบริเวณแนวเชื่อม ดังที่เราได้กล่าวไปแล้วนั่นเอง

    • Melt Through Weld คือการเชื่อมแบบหลอมละลายของรอยต่อเชื่อม โดยการทำให้ชิ้นงานหลอมละลาย เมื่อเย็นตัวรอยต่อจะมีความแข็งแรง บางครั้งใช้แรงดันร่วมกับความร้อนหรืออย่างเดียว เพื่อให้เกิดรอยเชื่อม

    • Flare Bevel Groove คือการเชื่อมแบบแฟร์บีเวล เป็นการเชื่อมโลหะที่เป็นงานผิวเรียบกับผิวโค้งเข้าด้วย เช่น การเชื่อมท่อเข้ากับแผ่นเหล็กแบน เป็นต้น

  3. การเชื่อมรอยต่อมุม (Corner Joint)
    คือการเชื่อมรอยต่อที่นำขอบของชิ้นงาน 2 ชิ้นมาชนกันโดยให้ขอบชิ้นงานทำมุมกันเท่ากับ 90 องศา แม้จะมีวิธีการมีความคล้ายคลึงกับข้อต่อเชื่อมรูปตัว T ที่มีความแตกต่างคือตำแหน่งที่วางโลหะไว้ ในข้อต่อ T จะวางอยู่ตรงกลาง แต่รอยต่อมุมนั้นมาบรรจบกันในลักษณะที่เป็นตัว L ซึ่งการนำขอบของชิ้นงานมาชนกันนั้น มีหลายลักษณะขึ้นอยู่กับความหนาของชิ้นงานและการออกแบบ เช่น การต่อมุมโดยให้ขอบด้านนอกชนกันหรือทับกันเต็มความหนา โดยจะทำการบากร่องชิ้นงานหรือไม่ก็ได้ข้อต่อประเภทนี้เป็นข้อต่อที่พบได้บ่อยที่สุดในอุตสาหกรรมแผ่นโลหะ เช่น ในงานสร้างโครงหรือกล่อง ซึ่งรูปแบบของการเชื่อมที่ใช้สำหรับสร้างข้อต่อเข้ามุม ได้แก่ การเชื่อมแบบตัว J, การเชื่อมแบบตัว V, การเชื่อมแบบตัว U, การเชื่อมแนวฉาก หรือ Fillet และการเชื่อมแบบหลอมละลาย เป็นต้น  

  4. การเชื่อมรอยต่อเกย (Lap Joint Welding)
    คือการเชื่อมรอยต่อที่นำชิ้นงาน 2 ชิ้นวางซ้อนกันหรือเกยกัน ซึ่งเป็นวิธีที่ดัดแปลงมาจากข้อต่อชนหรือButt Joint คือการวางโลหะสองชิ้นในรูปแบบทับซ้อนกัน มักใช้ในการต่อสองชิ้นที่มีความหนาต่างกันเข้าด้วยกัน เชื่อมสามารถทำได้ด้านเดียวหรือทั้งสองด้าน ข้อต่อหรือรอยต่อชนิดนี้มักจะมีข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นกับข้อต่อคือ การฉีกขาดของแผ่นโลหะหรือการกัดกร่อนเกิดขึ้น เนื่องจากการทับซ้อนกันของแผ่นโลหะสองชิ้น แต่ก็สามารถป้องกันได้โดยใช้เทคนิคที่ถูกต้อง และปรับเปลี่ยนตัวแปรที่ใช้เชื่อมตามความเหมาะสมนั่นเอง

  5. การเชื่อมรอยต่อขอบ (Edge Joint Welding)
    คือการเชื่อมรอยต่อที่นำขอบของชิ้นงาน 2 ชิ้นมาชนกัน ในลักษณะที่ให้ขอบของชิ้นงานทั้ง 2 ชิดและขนาดกันตลอดแนว หรืออาจจะวางชิ้นงานเอียงทำมุมต่อกันและในการเชื่อมจะเชื่อมที่ผิวหน้าของขอบงานให้ติดกันจุดประสงค์ของการเชื่อมแบบรอยต่อขอบก็คือ การต่อชิ้นส่วนเข้าด้วยกันเพื่อกระจายแรงกด ที่ทำให้เกิดความเค้นในรอยเชื่อม ได้แก่ แรงดึง แรงอัด การบิดเบี้ยวและแรงเฉือน ซึ่งความสามารถของการกระจายแรงกดเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบรอยต่อและความสมบูรณ์ของรอยเชื่อม โดยกระบวนการ
    เชื่อมเหล็กหรือโลหะมีผลอย่างมากในการเลือกการออกแบบของข้อต่อ ฉะนั้นการดำเนินการแต่ละครั้งต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ อย่างแม่นยำ เช่น ความถี่ในการเจาะ, ความร้อนที่ถูกป้อนไปยังรอยเชื่อมที่ใช้ในการออกแบบข้อต่อบางแบบ เป็นต้น

ซึ่งรูปแบบในการเชื่อมโลหะที่สามารถใช้ได้กับรอยต่อขอบ ได้แก่ การเชื่อมแบบตัว J, การเชื่อมแบบตัว V, การเชื่อมแบบตัว U, การเชื่อมแนวฉาก, การเชื่อมรอยต่อชนแบบเหลี่ยม ฯลฯ แต่เนื่องจากชิ้นส่วนที่ทับซ้อนกัน ข้อต่อหรือรอยต่อประเภทนี้ จึงมีแนวโน้มที่จะเกิดการกัดกร่อนได้ง่ายกว่าแบบอื่นๆ นอกจากนั้น ยังมีปัญหาการรวมตัวของตะกรัน การขาดการหลอมรวมและความพรุน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน

ฉะนั้นการเลือกช่างเชื่อมหรือบริษัทที่รับเชื่อมโลหะ, เชื่อมเหล็ก หรือเชื่อมสแตนเลส คุณจะต้องแน่ใจว่าช่างที่ทำงานให้คุณมีความรู้ความเข้าใจฟิสิกส์ของการออกแบบข้อต่อเป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังต้องประเภทของแรงที่ใช้กับการเชื่อม เพื่อออกแบบรอยต่อที่ดีที่สุดไม่ให้แรงเหล่านี้ก่อให้เกิดความผิดพลาดของงานโครงสร้างต่างๆ

ถึงอย่างไรก็ตาม คุณต้องทำความเข้าใจกับรอยต่อการเชื่อมเหล็กในงานโครงสร้างก่อนว่า ไม่ว่าช่างเชื่อมจะมีฝีมือและทักษะมากขนาดไหน รอยต่อก็ยังคงมีปรากฏในงานอยู่ดี การทำงานโครงสร้างก็เช่นกัน การเก็บรอยต่อให้เนียนสวยมากที่สุดคือเทคนิคที่แสดงถึงความชำนาญในการออกแบบรอยต่อการเชื่อมของช่างแต่ละคน ซึ่งบางเทคนิคหรือบางวิธีการอาจจะทำให้ต้นทุนในการเชื่อมที่เสร็จสมบูรณ์แต่ละครั้งมีต้นทุนสูงมากขึ้นนั่นเอง และหากคุณกำลังมองหาบริษัทที่มีช่างเชื่อมผู้ชำนาญงาน พร้อมเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ทันสมัยในงานโละหะชนิดต่างๆ ของคุณ บริษัท P&S Stainless Steel Center รับเชื่อมโลหะ, เชื่อมเหล็ก หรือเชื่อมสแตนเลส ที่มีความชำนาญและเทคนิคของกระบวนการเชื่อมหลากหลายวิธีขึ้น เพื่อปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับลักษณะงานของคุณ ด้วยเครื่องเชื่อมโลหะคุณภาพสูง เพื่อสร้างสรรค์งานที่ดีที่สุดให้คุณ

 

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อสินค้าได้ที่
บริษัท พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีลเซ็นเตอร์ จำกัด

Tel : 081-618-0778, 081-615-4296, 082-782-8654, 02-753-7753
Fax : 02-753-7770
Email : 
pands_stainless@yahoo.com
LINE : 
@psmetal
Facebook : 
@psstainlesssteel




บทความจากวารสารเพื่อนสเตนเลส

ความแตกต่างของการทำวีคัทจากเครื่อง NC และ CNC
งานคิ้วและกรุยเชิงด้วยเทคนิค วีคัท ใช้ในงานตกแต่งอะไรบ้าง?
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
วิธีดูงานเนี้ยบ VS งานหยาบ ในการพับและม้วนโลหะของชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์
ตัดพับโลหะและการเชื่อมโลหะ ขั้นตอนในการทำชิ้นส่วนของเครื่องจักรหลายประเภท
5 สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนออกแบบงานพับเหล็กและงานดัดโค้ง
เทคนิคการทำ วีคัท อย่างไรให้ได้ชิ้นงานที่สวยสำหรับงานตกแต่ง
การนำท่อสแตนเลส ท่อเหล็ก และเพลาเหล็กขนาดต่าง ๆ ไปใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม
การทำสีโลหะทองเหลืองและทองแดง
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
งานสแตนเลสแบบใด ที่เหมาะกับการตัดพลาสมา
ความแตกต่างระหว่างคิ้วสแตนเลสสำเร็จรูปและคิ้วสแตนเลสแบบสั่งทำ
ไอเดีย เลือกสีคิ้วสแตนเลสให้เข้ากับกระเบื้อง สไตล์ Mood&Tone
คุณสมบัติของเหล็กเกรดต่าง ๆ ส่งผลต่อแรงดันในการตัดพับเหล็กอย่างไร
นวัตกรรม Anti-Fingerprint บนสแตนเลสแผ่น
การทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องเลเซอร์เหล็กกับ AutoCAD
เลเซอร์เหล็กรูปแบบใดบ้าง ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
ตัดเลเซอร์ 3D สามารถใช้ตัดงานขึ้นรูปโลหะแบบไหนได้บ้าง
เลเซอร์เหล็กและตัดพับเหล็ก เหมาะกับการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมใดบ้าง
ขั้นตอนการเตรียมพื้นผิวงานสแตนเลสสั่งทํา
เลเซอร์ตัดเหล็กกับความหนา-บางของวัสดุ
งานสแตนเลสสั่งทํากับงานสถาปัตยกรรม
เศษจากการเลเซอร์เหล็ก สามารถนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง
ลักษณะการใช้งานของคิ้วสแตนเลสตัว T และ ตัว U
การออกแบบและเลือกใช้หลอดไฟ LED สำหรับป้ายอักษรโลหะ
วิธีแก้รื้อ แก้ไขป้ายอักษรโลหะ ให้พื้นผิวเสียหายน้อยที่สุด
ปัจจัยที่ทำให้งานขึ้นรูปโลหะไม่ได้คุณภาพ มีอะไรบ้าง
ข้อห้ามที่ไม่ควรทำกับพื้นผิวคิ้ว/กรุยเชิงสแตนเลส
ทำไมต้องใช้ คิ้ว /กรุยเชิงสแตนเลสในการตกแต่งอาคาร
การติดตั้งคิ้วสแตนเลส กรุยเชิงสแตนเลส
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีป้ายอักษรโลหะและป้ายประเภทอื่น ๆ
ประโยชน์ของการใช้ป้ายอักษรโลหะในธุรกิจ
วิธีการบำรุงรักษาป้ายอักษรโลหะเพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนาน
ไอเดียการออกแบบป้ายอักษรโลหะให้เหมาะกับธุรกิจ
ประโยชน์ของการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
วิธีการพับโลหะแผ่น
ขั้นตอนการขัดผิวงานสแตนเลส Finishing stainless steel
การเปรียบเทียบ Punching สแตนเลส กับวิธีการอื่น ๆ ในการปั๊มเจาะรูโลหะ
ข้อดีของการใช้สแตนเลสเป็นหน้ากากอาคาร
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
ประโยชน์และการทำงาน รวมถึงข้อจำกัดของงานวีคัท
ปัจจัยที่สำคัญและเทคนิคการเชื่อมเลเซอร์ในงานอุตสาหกรรม
การบำรุงรักษาเครื่องตัดเลเซอร์ เพื่อให้ได้งานตัดเลเซอร์ที่มีคุณภาพ
ตกแต่งบ้านให้ดูหรูหรา ทันสมัย ด้วยกรุยเชิงสแตนเลส
งานตัดพับเหล็กที่มีคุณภาพ มีลักษณะเป็นอย่างไร
ปัจจัยในเลือกเกรดสแตนเลสแผ่นให้เหมาะกับการใช้งาน
มาทำความรู้จักคุณลักษณะของพื้นผิวสแตนเลสแผ่นแต่ละชนิด
เครื่องเลเซอร์ตัดเหล็ก กับงานอุตสาหกรรม
การตัดสแตนเลสแผ่นด้วยเครื่องจักรเลเซอร์ VS แรงงานคน
คุณสมบัติของราวบันไดสแตนเลสและกับการตกแต่งอาคาร
วิธีการดูแลรักษาสแตนเลสแผ่น (แผ่นสีเงิน)
การทำสีโลหะด้วยสีฝุ่นและสีน้ำมัน แตกต่างกันอย่างไร
งานสแตนเลสสั่งทำ กับการตกแต่งบ้านและอาคาร
ไอเดียออกแบบป้ายอักษรโลหะอย่างไร ให้ร้านค้าดูสวยโดดเด่น
กระบวนการในการขึ้นรูปโลหะ
การเลือกใช้แผ่นสแตนเลสสีในงานประกอบ
ความแตกต่างระหว่าง คิ้วสเเตนเลส บัวสเเตนเลสและอะลูมิเนียม
เครื่องตัดเลเซอร์มีกี่ประเภท
งานสแตนเลสสั่งทำ เชื่อมสแตนเลส เชื่อมเหล็ก
สแตนเลสแผ่นกับการทำฝ้าเพดาน
เครื่องจักรญี่ปุ่นที่มีมาตรฐานสูง ส่งผลต่อคุณภาพของงานตัดพับเหล็ก ตัดสแตนเลสอย่างไร
ทำไมต้องใช้แผ่นสแตนเลสสี ของ BLISS metal
ก่อนทำป้ายอักษรโลหะขนาดใหญ่ ต้องรู้อะไรบ้าง
วิวัฒนาการของการทำสีสแตนเลส
งานสแตนเลสกับงาน Interior Design
งานโลหะ ตัดเลเซอร์ พับ ม้วนโลหะแผ่น เจาะรู เชื่อม ทำสี ครบจบวงจรที่ P&S Stainless
สแตนเลสกับสนิม
ปัจจัยที่มีผลกับราคาของงานขึ้นรูปโลหะ ทำไมราคาของแต่ละที่ถึงต่างกัน
Give and Take
อลูมิเนียม
Big Data Analytics
Win – Win
ธุรกิจเพื่อผู้สูงอายุ
จริยธรรมในธุรกิจ
Infographics
เดินประชุม
Internet of Things (IoT)
โฟกัสกลุ่มเป้าหมาย article
ศรัทธากับความจริง
โลกสมัยใหม่กับพ่อค้าคนกลาง
รถยนต์จากบริษัท IT
พลังแห่งการลืม
AND THIS TOO SHALL PASS
Coworking Space
SMALL IS BEAUTIFUL
การใช้ระบบ IT ในองค์กร
เซกานิก เอฟเฟค
เยี่ยมชมโรงงานที่ญี่ปุ่น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาสเตนเลส
Sheet Metal Exhibitions
เทคโนโลยีที่ล้มเหลว
ไมอีลิน
Frank Gehry กับงานสถาปัตยกรรมสเตนเลส
พัฒนาการของ Metal 3D printer
ความเป็นเยอรมัน
Folding Machine article
ความไร้เหตุผลของความเห็นอกเห็นใจ article
EoS กับ Tesla
Human Error