ReadyPlanet.com




วิวัฒนาการของการทำสีสแตนเลส

วิวัฒนาการของการทำสีสแตนเลส

วิธีการทำสีสแตนเลสแผ่น ทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยวิธีการไหนดีกว่ากัน

 

 

สำหรับงานออกแบบตกแต่งทั้งภายนอกและภายใน สีของวัสดุประเภทต่าง ๆ อย่างเช่น สแตนเลสแผ่น คิ้วสแตนเลส หรือกรุยเชิงสแตนเลส ที่นำมาใช้ในงานตกแต่ง ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่มีความสำคัญต่อการกำหนดรูปแบบและทิศทางของงานออกแบบเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสแตนเลสแผ่นซึ่งเป็นวัสดุที่มีสีสันค่อนข้างจำกัด เพราะฉะนั้นแล้วหากต้องการให้ชิ้นงานสแตนเลสแผ่นมีความสวยงามและโดดเด่นมากยิ่งขึ้น การทำสี หรือการเคลือบสีจึงเป็นหนึ่งในวิธีสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้งานสแตนเลสแผ่นมีความสวยงามและสามารถนำมาใช้ในการออกแบบตกแต่งอาคารหรือที่พักอาศัยได้อย่างลงตัวมากยิ่งขึ้น

 

ทำไมต้องทำสีสแตนเลสแผ่น

สแตนเลส หรือเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steel) เป็นวัสดุประเภทโลหะผสมที่เกิดจากการนำเหล็กและคาร์บอนมาผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยอาจจะมีการเติมส่วนผสมอื่น ๆ อย่างเช่น โครเมียม นิกเกิล ไนโตรเจน แมงกานีส ทองแดง อะลูมิเนียม หรือโลหะชนิดอื่น ๆ เข้าไปเพื่อช่วยให้สแตนเลสแผ่นมีคุณสมบัติในการด้านของความแข็งแรง ความทนทานต่อทั้งการกัดกร่อนและการเกิดสนิม ความยืดหยุ่นสูง หรือมีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามที่ต้องการ รวมไปถึงสามารถนำมารีดและประกอบขึ้นรูปได้ง่าย เพื่อการนำมาใช้งานได้อย่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสแตนเลสแผ่นที่วางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดส่วนใหญ่นั้นมักจะมีลักษณะพื้นผิวเรียบลื่น และมีความเงางาม ซึ่งความเงางามของสแตนเลสแผ่นจะมากหรือน้อยนั้นจะขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของส่วนผสมต่าง ๆ รวมไปถึงขั้นตอนและวิธีที่นำมาใช้ในการผลิตและขึ้นรูปสแตนเลสแผ่น และสำหรับในด้านของสีสัน สแตนเลสแผ่นส่วนใหญ่มักจะมีสีออกเทา ๆ หรือสีเงินอ่อนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่งผลให้การทำสีสแตนเลสแผ่นจึงถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้สแตนเลสแผ่นมีรูปลักษณ์ที่ดูสวยงาม โดดเด่น และสามารถนำมาใช้ในงานตกแต่งทั้งบริเวณภายนอกและภายในอาคารหรือบ้านพักอาศัยได้อย่างลงตัวมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการทำสีสแตนเลสแผ่นยังสามารถช่วยให้สแตนเลสแผ่นดูมีความกลมกลืนกลับสภาพแวดล้อม หรือมีความคล้ายคลึงกันกับวัสดุอื่น ๆ ที่มีราคาต่ำกว่า อย่างเช่น เหล็ก เพื่อเป็นการช่วยหลอกตาและช่วยป้องกันไม่ให้สแตนเลสถูกขโมยไปได้

 

วิวัฒนาการของการทำสีสแตนเลสแผ่น

1. การชุบด้วยไฟฟ้า (Electroplating) การชุบด้วยไฟฟ้า (Electroplating) เป็นหนึ่งในกรรมวิธีในการชุบโลหะที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการทำสีสแตนเลสแผ่นมาอย่างช้านาน ซึ่งการทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการชุบด้วยไฟฟ้าสามารถทำได้ด้วยการนำเอาสแตนเลสแผ่นที่ต้องการจะทำสีมาต่อเข้ากับขั้วลบ (Cathode) และนำเอาแผ่นโลหะชนิดอื่น ๆ ที่ต้องการนำมาใช้สำหรับเป็นตัวชุบมาต่อเข้ากับขั้วบวก (Anode) ของแหล่งกำเนิดไฟกระแสตรง ก่อนจะนำไปจุ่มลงในสารละลายซึ่งมีส่วนผสมของเกลือของโลหะที่ต้องการจะนำมาชุบสแตนเลสแผ่น แล้วทำการเปิดสวิตช์เพื่อให้ไฟฟ้ากระแสตรงทำหน้าที่ในการละลายโลหะที่ต้องการจะนำมาชุบสแตนเลสแผ่นให้อยู่ในรูปของไอออนบวก ซึ่งไอออนบวกเหล่านี้จะไปทำการจับตัวเป็นชั้นบาง ๆ บนสแตนเลสแผ่น และปรากฏสีออกมา ยกตัวอย่างเช่น หากมีการใช้นิกเกิลเป็นตัวชุบสแตนเลสแผ่น สีที่จะปรากฏออกมาบนสแตนเลสแผ่นหลังจากผ่านขั้นตอนการชุบด้วยไฟฟ้าเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วจะเป็นสีเงินหรือสีเทา เป็นต้น

 

ข้อดีของการทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการชุบด้วยไฟฟ้า

  • การชุบด้วยไฟฟ้าเป็นวิธีการทำสีสแตนเลสแผ่นที่สามารถทำได้ง่าย รวมถึงยังช่วยให้สีเคลือบที่ปรากฏออกมาบนสแตนเลสหลังจากทำการชุบด้วยไฟฟ้าเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วมีความหนาและเฉดสีที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ

  • การทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการชุบด้วยไฟฟ้ามีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างถูกกว่าการทำสีด้วยวิธีการอื่น ๆ


ข้อจำกัดของการทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการชุบด้วยไฟฟ้า

  • สีของสแตนเลสแผ่นที่ได้มาจากการชุบด้วยไฟฟ้ามักจะไม่ค่อยทนทานต่อการเสียดสีและการขีดข่วน และเมื่อใช้งานไปเป็นระยะเวลานาน ๆ สีของสแตนเลสแผ่นอาจเกิดการหลุดลอกได้ง่ายกว่าการทำสีด้วยวิธีการอื่น ๆ จนทำให้ดูไม่สวยงามได้

  • ก่อนการทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการชุบด้วยไฟฟ้าจำเป็นจะต้องทำการเตรียมพื้นผิวของสแตนเลสแผ่นและเก็บงานอย่างละเอียดมากกว่าการทำสีด้วยวิธีการอื่น ๆ


2. การจุ่มในสารละลายร้อน (Hot Solution Treatment)

การทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยวิธีการนำมาจุ่มในสารละลายร้อน (Hot Solution Treatment) เป็นหนึ่งในกรรมวิธีการทำสีสแตนเลสแผ่นที่ปรากฏการใช้งานมานานกว่า 50 ปี แต่โดยส่วนใหญ่แล้วการทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยวิธีการนำมาจุ่มในสารละลายร้อนนั้นไม่ค่อยได้รับความนิยมนำมาใช้สำหรับการทำสีสแตนเลสแผ่นภายในโรงงานสักเท่าไหร่ แต่นิยมนำใช้สำหรับการทำสีสแตนเลสแผ่นเพื่อภายในครัวเรือนหรืออุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดยวิธีการทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยวิธีการดังกล่าวนี้ สามารถทำได้โดยการนำเอาสแตนเลสแผ่นที่ต้องการจะทำสี มาจุ่มลงในสารละลายร้อนที่ประกอบไปด้วยของสารละลายกรดโครมิก (Chromic acid) และกรดซัลฟิวริก (Sulfuric acid) หรือสารละลายด่างที่ประกอบไปด้วยตัวออกซิไดซ์ (Oxidizing agent) ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือดของสารละลายนั้น ๆ ซึ่งกรรมวิธีดังกล่าวนี้จะทำให้เกิดฟิล์มของสารละลายมาเคลือบลงบนพื้นผิวของสแตนเลสแผ่น และปรากฏสีออกมาให้เห็นตั้งแต่สีบรอนซ์ สีทอง ไปจนถึงสีแดง สีม่วง สีน้ำเงิน และสีเขียว

 

ข้อดีของการทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการจุ่มในสารละลายร้อน

  • การทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการจุ่มในสารละลายร้อนเป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่าย โดยที่ผู้ใช้งานสามารถทำได้ด้วยตนเอง และมีค่าใช้จ่ายที่ย่อมเยากว่าการทำสีด้วยวิธีการอื่น ๆ

  • การทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการจุ่มในสารละลายร้อน เหมาะสำหรับการนำมาใช้ทำสีให้กับสแตนเลสแผ่นที่มีอยู่ก่อนแล้ว เพื่อช่วยปรับปรุงรูปลักษณ์ของสแตนเลสแผ่นให้มีความสวยงาม และสามารถนำมาใช้ในงานตกแต่งได้อย่างลงตัวมากยิ่งขึ้น


ข้อจำกัดของการทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการจุ่มในสารละลายร้อน

  • ชั้นของสีที่เคลือบอยู่บนสแตนเลสแผ่นที่ได้มาจากวิธีการจุ่มในสารละลายร้อนนั้นค่อนข้างมีความบาง และมีรูพรุนที่ค่อนข้างมาก จึงทำให้สีเคลือบของสแตนเลสแผ่นไม่ทนทานต่อการเสียดสีหรือขีดข่วน

  • ความเข้มของสีเคลือบบนสแตนเลสแผ่นที่ได้มาจากวิธีการจุ่มในสารละลายร้อนสามารถควบคุมได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากสีที่ปรากฏอยู่บนสแตนเลสแผ่นจะมีความแตกต่างกันออกไปตามความหนาของฟิล์มของสารละลายที่เคลือบอยู่บนพื้นผิวของสแตนเลสแผ่น


3. การพ่นสี (Spray Paint)

การพ่นสี (Spray Paint) ถือเป็น 1 ใน 2 กรรมวิธีในการทำสีสแตนเลสแผ่นที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันนี้ โดยในอดีตการพ่นสีสแตนเลสแผ่นนั้นถือได้ว่าเป็นกรรมวิธีในการทำสีที่สามารถทำได้ค่อนข้างยากเนื่องจากข้อจำกัดด้านพื้นผิวของสแตนเลสแผ่น ที่ค่อนข้างมีความเรียบ ลื่น และมันวาว จึงทำให้สีที่นำมาพ่นนั้นสามารถยึดเกาะกับพื้นผิวของสแตนเลสแผ่นได้ค่อนข้างยาก ส่งผลให้วิธีการทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการพ่นสีส่วนใหญ่จึงจำเป็นจะต้องทำการพ่นสีรองพื้นกัดผิว (Wash primer) ที่มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน ๆ ลงไปก่อนเพื่อทำการกัดพื้นผิวของโลหะ ก่อนจะนำชิ้นงานสแตนเลสแผ่นมาทำการพ่นทับด้วยสีจริงแล้วนำไปเข้าอบที่อุณหภูมิสูง เพื่อช่วยให้สีที่ได้ทำการพ่นลงไปสามารถยึดเกาะกับพื้นผิวของสแตนเลสแผ่นได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่ในปัจจุบันนี้กรรมวิธีในการพ่นสีสแตนเลสแผ่นนั้นได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นการพ่นสีในรูปแบบ 2k (2 Komponent) ที่ประกอบไปด้วยตัวสี และสารเร่งปฏิกริยา อย่างเช่น Hard หรือ Activator ในอัตราส่วนที่เหมาะสม จึงทำให้สีแบบ 2k นี้สามารถนำมาใช้พ่นลงบนพื้นผิวของสแตนเลสแผ่นได้โดยที่ไม่ต้องทำการพ่นสีรองพื้นกัดผิวก่อน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วสีของสแตนเลสแผ่นที่ได้มาจากการทำสีด้วยการพ่นสีแบบ 2k นั้นมักจะมีสีที่ออกใส ๆ จึงทำให้สีแบบ 2k ได้รับความนิยมในการนำมาใช้เป็นสีสำหรับพ่นลงบนสแตนเลสแผ่นเป็นอย่างมากในปัจจุบันนี้

 

ข้อดีของการทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการพ่นสี

  • การทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการพ่นสีไม่จำเป็นจะต้องทำการเตรียมพื้นผิวของสแตนเลสแผ่นอย่างละเอียดเท่ากับการทำสีด้วยวิธีการชุบ

  • การทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการพ่นสีสามารถทำการควบคุมเฉดสีที่ต้องการจะทำการพ่นในแต่ละครั้งได้ง่าย และสามารถทำการล้างสีออกเพื่อทำการพ่นใหม่ได้โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับพื้นของผิวสแตนเลสที่ได้ทำการพ่นสีรองพื้นกัดผิวเอาไว้

  • การทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการพ่นสีแบบ 2k จะให้สีเคลือบบนชิ้นงานสแตนเลสแผ่นที่สวย เงางาม อีกทั้งยังช่วยเพิ่มคุณสมบัติในด้านของการทนทานต่อแสงแดดได้ดีมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้สีของสแตนเลสแผ่นที่ผ่านกรรมวิธีการทำสีด้วยการพ่นสีแบบ 2k จึงไม่ซีด ไม่จางง่าย แม้ผ่านการใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน


ข้อจำกัดของการทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการพ่นสี

  • สีของสแตนเลสแผ่นที่ได้มาจากการพ่นสีมักจะไม่ค่อยทนทานต่อการกระแทก หรือการขีดข่วน ส่งผลให้ผู้ใช้งานจึงจำเป็นจะต้องใช้งานด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้สีของสแตนเลสแผ่นเกิดการถลอกหรือหลุดลอก จนทำให้ดูไม่สวยงามได้

  • สแตนเลสแผ่นที่มีการทำสีด้วยการพ่นสีไม่เหมาะสำหรับการนำมาใช้งานร่วมกับเฟอร์นิเจอร์ประเภทลอยตัวที่จำเป็นจะต้องมีการขยับเคลื่อนย้ายอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากอาจจะส่งผลให้สีที่ทำการพ่นเอาไว้เกิดการหลุดลอกได้

  • การทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการพ่นสีไม่เหมาะสำหรับงานชิ้นใหญ่ ๆ หรืองานที่มีซอกและมุมเยอะ ๆ เนื่องจากอาจทำให้เนื้อสีจมอยู่บริเวณขอบหรือมุมในระหว่างการพ่นสี จนทำให้สีของชิ้นงานสแตนเลสแผ่นดูไม่สวยงามและสม่ำเสมอได้


4. การเคลือบสีแบบ PVD Coating (Physical Vapour Deposition)

สำหรับอีกหนึ่งกรรมวิธีในการทำสีสแตนเลสแผ่นที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบันนี้ และถือได้ว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำสีสแตนเลสแผ่นคงจะหนีไม่พ้น การทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยวิธีการเคลือบแบบ PVD Coating (Physical Vapour Deposition) ที่สามารถทำได้โดยการนำเอาสแตนเลสแผ่นที่ได้รับการขัด และทำความสะอาดพื้นผิวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มาเข้าสู่เตาสุญญากาศที่มีการติดแร่ธาตุ อย่างเช่น ไทเทเนียม และก๊าซชนิดต่าง ๆ ที่เป็นตัวกำเนิดสีเอาไว้ ก่อนจะทำการเปิดสวิตช์เพื่อให้แร่ธาตุและก๊าซชนิดต่าง ๆ ทำปฏิกิริยากันจนเกิดเป็นสีเฉดต่าง ๆ ที่มีความสวยและเงางาม ซึ่งสีเหล่านี้จะเกิดการตกตะกอนลงมาเคลือบพื้นผิวของชิ้นงานสแตนเลสแผ่น จนทำให้ได้ชิ้นงานสแตนเลสแผ่นที่มีสีสันสวยงามและแวววาวกว่าวิธีการทำสีประเภทไหน ๆ

 

ข้อดีของการทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการเคลือบสีแบบ PVD Coating

  • การทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการเคลือบสีแบบ PVD Coating เป็นวิธีการทำสีที่ให้สีสันสวยงาม คงทน และมีความสม่ำเสมอของสีเคลือบมากที่สุด กระบวนการทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการเคลือบสีแบบ PVD Coating มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากในขั้นตอนการทำสีนั้นไม่ก่อให้เกิดการปล่อยสารเคมีอันตรายหรือสารปนเปื้อนใด ๆ ออกมาสู่สิ่งแวดล้อม

  • สีของสแตนเลสแผ่นที่ได้มาจากการเคลือบสีแบบ PVD Coating จะไม่ซีดจางแม้ว่าจะมีการใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งสีเคลือบแบบ PVD Coating ยังสามารถทนทานต่อการกัดกร่อนและสภาพอากาศได้ดีกว่าการทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยวิธีการอื่น ๆ


ข้อจำกัดของการทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการเคลือบสีแบบ PVD Coating

  • การทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการเคลือบสีแบบ PVD Coating ไม่เหมาะสำหรับการนำมาใช้ทำสีชิ้นงานสแตนเลสแผ่นที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากการเคลือบสีแบบ PVD Coating จำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์ อย่างเช่น บ่อชุบ และเตาสุญญากาศ เป็นต้น ซึ่งถ้าหากชิ้นงานสแตนเลสแผ่นมีขนาดที่ใหญ่จนเกินไปก็อาจจะทำให้ไม่สามารถนำชิ้นงานไปลงบ่อชุบ หรือนำมาเข้าเตาสุญญากาศได้ แต่ถ้าหากชิ้นงานสแตนเลสที่มีขนาดใหญ่นั้นสามารถนำลงไปในบ่อชุบ หรือนำเข้าเตาได้

  • การทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการเคลือบสีแบบ PVD Coating ก็นับได้ว่าเป็นวิธีที่ควรนำมาใช้ในการทำสีสแตนเลสแผ่น เพราะการเคลือบสีแบบ PVD Coating ให้สีสันสวยงาม และสม่ำเสมอมากกว่าการทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยวิธีการอื่น ๆ

  • การทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการเคลือบสีแบบ PVD Coating มีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าการทำสีด้วยวิธีการอื่น ๆ

  • สีของสแตนเลสแผ่นที่ได้มาจากการเคลือบสีแบบ PVD Coating สามารถควบคุมเฉดให้เหมือนเดิมทุก lot ได้ยาก และในระหว่างขั้นตอนการทำสีสแตนเลสแผ่นด้วยการเคลือบสีแบบ PVD Coating จะไม่สามารถทราบได้เลยว่าชิ้นงานที่กำลังทำการเคลือบสีนั้นจะมีความสวยงามสมบูรณ์แบบหรือไม่ จนกว่าจะมีการนำชิ้นงานออกมาจากเตาสุญญากาศ


บริษัท พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีลเซ็นเตอร์ จำกัด เราคือบริษัทที่ได้มีการพัฒนาทักษะในการทำงานโลหะมาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันเราสามารถรองรับงานและมีสินค้าจัดจำหน่ายอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น สแตนเลสแผ่นคิ้วสแตนเลสกรุยเชิงสแตนเลส ป้ายอักษรโลหะ รับตัดเลเซอร์ 2D/3D Punching ตัดพลาสม่า พับ ม้วนโลหะแผ่นและโลหะขึ้นรูปทุกชนิด ทั้งหนาและบาง งานขนาดเล็กและใหญ่ เชื่อมประกอบและทำสีตามแบบลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม

 

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อสินค้าได้ที่
บริษัท พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีลเซ็นเตอร์ จำกัด

Tel : 081-618-0778, 081-615-4296, 082-782-8654, 02-753-7753
Fax : 02-753-7770
Email : 
pands_stainless@yahoo.com
LINE : 
@psmetal
Facebook : 
@psstainlesssteel




บทความจากวารสารเพื่อนสเตนเลส

ความแตกต่างของการทำวีคัทจากเครื่อง NC และ CNC
งานคิ้วและกรุยเชิงด้วยเทคนิค วีคัท ใช้ในงานตกแต่งอะไรบ้าง?
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
วิธีดูงานเนี้ยบ VS งานหยาบ ในการพับและม้วนโลหะของชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์
ตัดพับโลหะและการเชื่อมโลหะ ขั้นตอนในการทำชิ้นส่วนของเครื่องจักรหลายประเภท
5 สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนออกแบบงานพับเหล็กและงานดัดโค้ง
เทคนิคการทำ วีคัท อย่างไรให้ได้ชิ้นงานที่สวยสำหรับงานตกแต่ง
การนำท่อสแตนเลส ท่อเหล็ก และเพลาเหล็กขนาดต่าง ๆ ไปใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม
การทำสีโลหะทองเหลืองและทองแดง
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
งานสแตนเลสแบบใด ที่เหมาะกับการตัดพลาสมา
ความแตกต่างระหว่างคิ้วสแตนเลสสำเร็จรูปและคิ้วสแตนเลสแบบสั่งทำ
ไอเดีย เลือกสีคิ้วสแตนเลสให้เข้ากับกระเบื้อง สไตล์ Mood&Tone
คุณสมบัติของเหล็กเกรดต่าง ๆ ส่งผลต่อแรงดันในการตัดพับเหล็กอย่างไร
นวัตกรรม Anti-Fingerprint บนสแตนเลสแผ่น
การทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องเลเซอร์เหล็กกับ AutoCAD
เลเซอร์เหล็กรูปแบบใดบ้าง ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
ตัดเลเซอร์ 3D สามารถใช้ตัดงานขึ้นรูปโลหะแบบไหนได้บ้าง
เลเซอร์เหล็กและตัดพับเหล็ก เหมาะกับการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมใดบ้าง
ขั้นตอนการเตรียมพื้นผิวงานสแตนเลสสั่งทํา
เลเซอร์ตัดเหล็กกับความหนา-บางของวัสดุ
งานสแตนเลสสั่งทํากับงานสถาปัตยกรรม
เศษจากการเลเซอร์เหล็ก สามารถนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง
ลักษณะการใช้งานของคิ้วสแตนเลสตัว T และ ตัว U
การออกแบบและเลือกใช้หลอดไฟ LED สำหรับป้ายอักษรโลหะ
วิธีแก้รื้อ แก้ไขป้ายอักษรโลหะ ให้พื้นผิวเสียหายน้อยที่สุด
ปัจจัยที่ทำให้งานขึ้นรูปโลหะไม่ได้คุณภาพ มีอะไรบ้าง
ข้อห้ามที่ไม่ควรทำกับพื้นผิวคิ้ว/กรุยเชิงสแตนเลส
ทำไมต้องใช้ คิ้ว /กรุยเชิงสแตนเลสในการตกแต่งอาคาร
การติดตั้งคิ้วสแตนเลส กรุยเชิงสแตนเลส
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีป้ายอักษรโลหะและป้ายประเภทอื่น ๆ
ประโยชน์ของการใช้ป้ายอักษรโลหะในธุรกิจ
วิธีการบำรุงรักษาป้ายอักษรโลหะเพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนาน
ไอเดียการออกแบบป้ายอักษรโลหะให้เหมาะกับธุรกิจ
ประโยชน์ของการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
วิธีการพับโลหะแผ่น
ขั้นตอนการขัดผิวงานสแตนเลส Finishing stainless steel
การเปรียบเทียบ Punching สแตนเลส กับวิธีการอื่น ๆ ในการปั๊มเจาะรูโลหะ
ข้อดีของการใช้สแตนเลสเป็นหน้ากากอาคาร
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
ประโยชน์และการทำงาน รวมถึงข้อจำกัดของงานวีคัท
ปัจจัยที่สำคัญและเทคนิคการเชื่อมเลเซอร์ในงานอุตสาหกรรม
การบำรุงรักษาเครื่องตัดเลเซอร์ เพื่อให้ได้งานตัดเลเซอร์ที่มีคุณภาพ
ตกแต่งบ้านให้ดูหรูหรา ทันสมัย ด้วยกรุยเชิงสแตนเลส
งานตัดพับเหล็กที่มีคุณภาพ มีลักษณะเป็นอย่างไร
ปัจจัยในเลือกเกรดสแตนเลสแผ่นให้เหมาะกับการใช้งาน
มาทำความรู้จักคุณลักษณะของพื้นผิวสแตนเลสแผ่นแต่ละชนิด
เครื่องเลเซอร์ตัดเหล็ก กับงานอุตสาหกรรม
การตัดสแตนเลสแผ่นด้วยเครื่องจักรเลเซอร์ VS แรงงานคน
คุณสมบัติของราวบันไดสแตนเลสและกับการตกแต่งอาคาร
วิธีการดูแลรักษาสแตนเลสแผ่น (แผ่นสีเงิน)
การทำสีโลหะด้วยสีฝุ่นและสีน้ำมัน แตกต่างกันอย่างไร
งานสแตนเลสสั่งทำ กับการตกแต่งบ้านและอาคาร
ไอเดียออกแบบป้ายอักษรโลหะอย่างไร ให้ร้านค้าดูสวยโดดเด่น
กระบวนการในการขึ้นรูปโลหะ
การเลือกใช้แผ่นสแตนเลสสีในงานประกอบ
ความแตกต่างระหว่าง คิ้วสเเตนเลส บัวสเเตนเลสและอะลูมิเนียม
เครื่องตัดเลเซอร์มีกี่ประเภท
งานสแตนเลสสั่งทำ เชื่อมสแตนเลส เชื่อมเหล็ก
สแตนเลสแผ่นกับการทำฝ้าเพดาน
รอยต่อการเชื่อมเหล็กในงานโครงสร้าง
เครื่องจักรญี่ปุ่นที่มีมาตรฐานสูง ส่งผลต่อคุณภาพของงานตัดพับเหล็ก ตัดสแตนเลสอย่างไร
ทำไมต้องใช้แผ่นสแตนเลสสี ของ BLISS metal
ก่อนทำป้ายอักษรโลหะขนาดใหญ่ ต้องรู้อะไรบ้าง
งานสแตนเลสกับงาน Interior Design
งานโลหะ ตัดเลเซอร์ พับ ม้วนโลหะแผ่น เจาะรู เชื่อม ทำสี ครบจบวงจรที่ P&S Stainless
สแตนเลสกับสนิม
ปัจจัยที่มีผลกับราคาของงานขึ้นรูปโลหะ ทำไมราคาของแต่ละที่ถึงต่างกัน
Give and Take
อลูมิเนียม
Big Data Analytics
Win – Win
ธุรกิจเพื่อผู้สูงอายุ
จริยธรรมในธุรกิจ
Infographics
เดินประชุม
Internet of Things (IoT)
โฟกัสกลุ่มเป้าหมาย article
ศรัทธากับความจริง
โลกสมัยใหม่กับพ่อค้าคนกลาง
รถยนต์จากบริษัท IT
พลังแห่งการลืม
AND THIS TOO SHALL PASS
Coworking Space
SMALL IS BEAUTIFUL
การใช้ระบบ IT ในองค์กร
เซกานิก เอฟเฟค
เยี่ยมชมโรงงานที่ญี่ปุ่น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาสเตนเลส
Sheet Metal Exhibitions
เทคโนโลยีที่ล้มเหลว
ไมอีลิน
Frank Gehry กับงานสถาปัตยกรรมสเตนเลส
พัฒนาการของ Metal 3D printer
ความเป็นเยอรมัน
Folding Machine article
ความไร้เหตุผลของความเห็นอกเห็นใจ article
EoS กับ Tesla
Human Error