ReadyPlanet.com




Size NB ของท่อสเตนเลส

 

 

ท่านผู้อ่านที่ใช้ท่อสเตนเลสเป็นประจำคงทราบดีว่า ท่อที่เราใช้กันอยู่นั้นมีอยู่สองประเภท คือ ท่อเงา ซึ่งใช้สำหรับงานเฟอร์นิเจอร์เป็นส่วนใหญ่ และ ท่อผิวด้านใช้สำหรับงาน piping เดินระบบท่อ ท่อสองประเภทนี้ ใช้ระบบกำหนดขนาดต่างกัน กล่าวคือ ท่อเงา 1” หนา 1mm ก็จะมีขนาด OD = 25.4mm ID = 23.4mm  ในขณะที่ ท่อด้านจะกำหนดขนาดเป็น NB (Nominal Bore) size หรือที่บ้านเราเรียกกันว่า ไซส์แป๊บ และกำหนดความหนาด้วย schedule เช่น pipe ขนาด 1” schedule 10 (ASTM) จะมี OD (Outside Diameter) เท่ากับ 33.4mm และมีความหนา 2.77mm ซึ่งเท่ากับมี ID (Internal Diameter) 27.9mm

ขนาดของท่อเงานั้นก็สมเหตุสมผลดีนะครับ เพราะเรียกขนาดตามวงนอก แต่เจ้า NB size นี่สิ ชวนให้สับสนดีแท้ เพราะ ขนาด NB นั้น ไม่ใช่ทั้งวงนอกหรือวงใน ถ้าอยากทราบขนาดวงนอก/วงในที่แท้จริงก็ต้องมาเปิดตาราง ซึ่งตาราง NB นี้ก็มีหลายมาตรฐานนะครับ มีทั้งขนาดของอเมริกา (ASTM) ญี่ปุ่น (JIS) ยุโรป (DIN) แล้วทำไมต้องมากำหนดอะไรให้มันสับสนอย่างนี้ด้วยล่ะ

มาตรฐานที่กำหนดขึ้นมาชวนสับสนอย่างนี้ ถ้าถูกกำหนดมาแต่แรกเริ่มเมื่อมนุษย์เริ่มผลิตท่อได้คงไม่ได้รับการยอมรับแน่ๆ

เรื่องนี้มีที่มาที่ไปครับ…

สเตนเลสถือกำเนิดขึ้นมาในปี 1912 ในสมัยที่ยังไม่มี สเตนเลส เราใช้เหล็กเป็นหลัก ท่อเหล็กมีการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมมาตั้งแต่เมื่อประมาณ 150 ปีมาแล้ว ในสมัยก่อนนั้น เทคโนโลยีการผลิตท่อเหล็กยังจำกัด แรกเริ่มเดิมที ท่อเหล็กจะกำหนดขนาดตาม ID เป็นหลัก เช่น ท่อเหล็ก 1” ก็จะมีขนาดวงในเท่ากับ จริง และมีความหนาอยู่ค่าเดียวสำหรับแต่ละขนาด ซึ่งก็ไม่มีอะไรให้สับสนครับ ต่อมา เมื่อเทคโนโลยีในการผลิตท่อพัฒนาขึ้น เราสามารถผลิตท่อได้บางลงและมีหลายความหนาเพื่อให้เลือกใช้ได้เหมาะสมกับลักษณะงาน คราวนี้เริ่มมีปัญหาครับ เพราะ หากยึดตามระบบเดิมคือยึด ID เป็นหลักในการใช้งาน ท่อแต่ละขนาดจะมีค่า OD หลายค่าและไม่สามารถใช้ร่วมกับท่อเดิมที่มีอยู่ได้ เพื่อให้สามารถใช้ร่วมกับท่อเดิมที่มีใช้งานอยู่แล้ว ท่อแต่ละขนาดที่ผลิตได้หลากหลายความหนานั้นจึงยึดตาม OD เป็นหลัก และให้ ID เปลี่ยนไปตามความหนา คราวนี้ OD ของท่อ 1” ใหม่เลยต้องเท่ากับ OD ของท่อ ที่เคยใช้กันมาแต่แรก คือ ID (ของท่อระบบเก่า) รวมความหนา แต่พอยึดตาม ODเป็นหลัก เลยกลายเป็นว่า ID ของท่อใหม่ก็ไม่ใช่ 1” อีกต่อไป แต่จะขึ้นอยู่กับความหนาที่เปลี่ยนไป เพราะฉะนั้น ท่อ NB ขนาด จึงไม่มีทั้ง OD หรือ ID ที่มีขนาด แต่จำเป็นต้องเรียกว่า ท่อ 1” อยู่ เพื่อให้ใช้งานได้กับท่อในระบบเดิม ที่มาของตัวเลขชวนสับสนก็เป็นแบบนี้ล่ะครับ

ในปี 1927 ทางสมาคมมาตรฐานแห่งอเมริกาได้กำหนดมาตรฐานของท่อเหล็กขึ้นมา โดยมีแค่ 3 ความหนา คือ standard weight (STD), extra-strong (XS) และ double extra-strong (XXS) หลังจากใช้ระบบนี้ไปสักพัก ก็พบว่า ความหนาเพียง 3 ค่านี้ไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย ทางสมาคมจึงได้กำหนดระบบ schedule เพิ่มขึ้นมา โดยแบ่งความหนาให้ละเอียดขึ้นและอ้างอิงตามระดับแรงดันที่รับได้ ทางสมาคมตั้งใจจะให้ระบบ schedule เข้ามาแทนระบบเดิม โดยคาดหวังว่า ระบบเดิมจะถูกแทนที่ไปอย่างสมบูรณ์ด้วยระบบ schedule ในปี 1939 อย่างไรก็ตาม คำเรียกที่ใช้ในระบบเดิมก็ยังมีการใช้กันอยู่จนถึงทุกวันนี้ (บางครั้งก็เรียกว่า standard, extra-heavy (XH), และ double extra-heavy (XXH)) ระบบ schedule เองก็มีการปรับเปลี่ยน แก้ไขหลายครั้ง และมีหลายมาตรฐานตามแต่ละอุตสาหกรรม และประเทศต่างๆหลายประเทศก็กำหนดมาตรฐานของตนเองขึ้นมา

ท่อสเตนเลสนั้น เริ่มมีการใช้กันมากขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่แล้ว  การเข้ามาของท่อสเตนเลสทำให้เกิดความหนาใหม่ขึ้น เพราะคุณสมบัติของท่อสเตนเลสที่เกิดสนิมได้ยาก ทำให้ไม่ต้องเผื่อความหนาที่จะถูกสนิมกัดกร่อนเหมือนที่เกิดขึ้นในท่อเหล็ก ท่อสเตนเลสจึงสามารถผลิตให้บางลงไปได้อีก จึงมี schedule 5 , schedule 10 ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกวันนี้

ในบ้านเรานั้น ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ระบบของอเมริกันคือ ระบบ ASTM มีบ้างที่ใช้ระบบญี่ปุ่น (JIS) เวลาจะสั่งซื้อก็ตรวจสอบให้ดีนะครับ

ฉบับนี้ สวัสดีครับ

 
ดร. อภิชาติ ชยานุภัทร์กุล

บจก. พี แอนด์ เอส สเตนเลส สตีล เซ็นเตอร์

ตีพิมพ์ในวารสารเพื่อนสเตนเลส ปีที่ 4 ฉบับที่ 47/ กุมภาพันธ์ 2553


 

อ้างอิง

http://en.wikipedia.org/wiki/Pipe_(material)

http://en.wikipedia.org/wiki/Nominal_Pipe_Size





บทความจากวารสารเพื่อนสเตนเลส

ความแตกต่างของการทำวีคัทจากเครื่อง NC และ CNC
งานคิ้วและกรุยเชิงด้วยเทคนิค วีคัท ใช้ในงานตกแต่งอะไรบ้าง?
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
วิธีดูงานเนี้ยบ VS งานหยาบ ในการพับและม้วนโลหะของชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์
ตัดพับโลหะและการเชื่อมโลหะ ขั้นตอนในการทำชิ้นส่วนของเครื่องจักรหลายประเภท
5 สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนออกแบบงานพับเหล็กและงานดัดโค้ง
เทคนิคการทำ วีคัท อย่างไรให้ได้ชิ้นงานที่สวยสำหรับงานตกแต่ง
การนำท่อสแตนเลส ท่อเหล็ก และเพลาเหล็กขนาดต่าง ๆ ไปใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม
การทำสีโลหะทองเหลืองและทองแดง
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
งานสแตนเลสแบบใด ที่เหมาะกับการตัดพลาสมา
ความแตกต่างระหว่างคิ้วสแตนเลสสำเร็จรูปและคิ้วสแตนเลสแบบสั่งทำ
ไอเดีย เลือกสีคิ้วสแตนเลสให้เข้ากับกระเบื้อง สไตล์ Mood&Tone
คุณสมบัติของเหล็กเกรดต่าง ๆ ส่งผลต่อแรงดันในการตัดพับเหล็กอย่างไร
นวัตกรรม Anti-Fingerprint บนสแตนเลสแผ่น
การทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องเลเซอร์เหล็กกับ AutoCAD
เลเซอร์เหล็กรูปแบบใดบ้าง ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
ตัดเลเซอร์ 3D สามารถใช้ตัดงานขึ้นรูปโลหะแบบไหนได้บ้าง
เลเซอร์เหล็กและตัดพับเหล็ก เหมาะกับการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมใดบ้าง
ขั้นตอนการเตรียมพื้นผิวงานสแตนเลสสั่งทํา
เลเซอร์ตัดเหล็กกับความหนา-บางของวัสดุ
งานสแตนเลสสั่งทํากับงานสถาปัตยกรรม
เศษจากการเลเซอร์เหล็ก สามารถนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง
ลักษณะการใช้งานของคิ้วสแตนเลสตัว T และ ตัว U
การออกแบบและเลือกใช้หลอดไฟ LED สำหรับป้ายอักษรโลหะ
วิธีแก้รื้อ แก้ไขป้ายอักษรโลหะ ให้พื้นผิวเสียหายน้อยที่สุด
ปัจจัยที่ทำให้งานขึ้นรูปโลหะไม่ได้คุณภาพ มีอะไรบ้าง
ข้อห้ามที่ไม่ควรทำกับพื้นผิวคิ้ว/กรุยเชิงสแตนเลส
ทำไมต้องใช้ คิ้ว /กรุยเชิงสแตนเลสในการตกแต่งอาคาร
การติดตั้งคิ้วสแตนเลส กรุยเชิงสแตนเลส
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีป้ายอักษรโลหะและป้ายประเภทอื่น ๆ
ประโยชน์ของการใช้ป้ายอักษรโลหะในธุรกิจ
วิธีการบำรุงรักษาป้ายอักษรโลหะเพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนาน
ไอเดียการออกแบบป้ายอักษรโลหะให้เหมาะกับธุรกิจ
ประโยชน์ของการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
วิธีการพับโลหะแผ่น
ขั้นตอนการขัดผิวงานสแตนเลส Finishing stainless steel
การเปรียบเทียบ Punching สแตนเลส กับวิธีการอื่น ๆ ในการปั๊มเจาะรูโลหะ
ข้อดีของการใช้สแตนเลสเป็นหน้ากากอาคาร
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
ประโยชน์และการทำงาน รวมถึงข้อจำกัดของงานวีคัท
ปัจจัยที่สำคัญและเทคนิคการเชื่อมเลเซอร์ในงานอุตสาหกรรม
การบำรุงรักษาเครื่องตัดเลเซอร์ เพื่อให้ได้งานตัดเลเซอร์ที่มีคุณภาพ
ตกแต่งบ้านให้ดูหรูหรา ทันสมัย ด้วยกรุยเชิงสแตนเลส
งานตัดพับเหล็กที่มีคุณภาพ มีลักษณะเป็นอย่างไร
ปัจจัยในเลือกเกรดสแตนเลสแผ่นให้เหมาะกับการใช้งาน
มาทำความรู้จักคุณลักษณะของพื้นผิวสแตนเลสแผ่นแต่ละชนิด
เครื่องเลเซอร์ตัดเหล็ก กับงานอุตสาหกรรม
การตัดสแตนเลสแผ่นด้วยเครื่องจักรเลเซอร์ VS แรงงานคน
คุณสมบัติของราวบันไดสแตนเลสและกับการตกแต่งอาคาร
วิธีการดูแลรักษาสแตนเลสแผ่น (แผ่นสีเงิน)
การทำสีโลหะด้วยสีฝุ่นและสีน้ำมัน แตกต่างกันอย่างไร
งานสแตนเลสสั่งทำ กับการตกแต่งบ้านและอาคาร
ไอเดียออกแบบป้ายอักษรโลหะอย่างไร ให้ร้านค้าดูสวยโดดเด่น
กระบวนการในการขึ้นรูปโลหะ
การเลือกใช้แผ่นสแตนเลสสีในงานประกอบ
ความแตกต่างระหว่าง คิ้วสเเตนเลส บัวสเเตนเลสและอะลูมิเนียม
เครื่องตัดเลเซอร์มีกี่ประเภท
งานสแตนเลสสั่งทำ เชื่อมสแตนเลส เชื่อมเหล็ก
สแตนเลสแผ่นกับการทำฝ้าเพดาน
รอยต่อการเชื่อมเหล็กในงานโครงสร้าง
เครื่องจักรญี่ปุ่นที่มีมาตรฐานสูง ส่งผลต่อคุณภาพของงานตัดพับเหล็ก ตัดสแตนเลสอย่างไร
ทำไมต้องใช้แผ่นสแตนเลสสี ของ BLISS metal
ก่อนทำป้ายอักษรโลหะขนาดใหญ่ ต้องรู้อะไรบ้าง
วิวัฒนาการของการทำสีสแตนเลส
งานสแตนเลสกับงาน Interior Design
งานโลหะ ตัดเลเซอร์ พับ ม้วนโลหะแผ่น เจาะรู เชื่อม ทำสี ครบจบวงจรที่ P&S Stainless
สแตนเลสกับสนิม
ปัจจัยที่มีผลกับราคาของงานขึ้นรูปโลหะ ทำไมราคาของแต่ละที่ถึงต่างกัน
Give and Take
อลูมิเนียม
Big Data Analytics
Win – Win
ธุรกิจเพื่อผู้สูงอายุ
จริยธรรมในธุรกิจ
Infographics
เดินประชุม
Internet of Things (IoT)
โฟกัสกลุ่มเป้าหมาย article
ศรัทธากับความจริง
โลกสมัยใหม่กับพ่อค้าคนกลาง
รถยนต์จากบริษัท IT
พลังแห่งการลืม
AND THIS TOO SHALL PASS
Coworking Space
SMALL IS BEAUTIFUL
การใช้ระบบ IT ในองค์กร
เซกานิก เอฟเฟค
เยี่ยมชมโรงงานที่ญี่ปุ่น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาสเตนเลส
Sheet Metal Exhibitions
เทคโนโลยีที่ล้มเหลว
ไมอีลิน
Frank Gehry กับงานสถาปัตยกรรมสเตนเลส
พัฒนาการของ Metal 3D printer
ความเป็นเยอรมัน
Folding Machine article
ความไร้เหตุผลของความเห็นอกเห็นใจ article
EoS กับ Tesla



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล