ReadyPlanet.com




ทฤษฎีโลกเล็ก

เคยไปงานเลี้ยงแล้วเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้มั๊ยครับ – รู้จักคนแปลกหน้าจากคนที่เรารู้จักในงาน, ทำความรู้จักทักทาย, พอคุยไปคุยมาสักพัก ใครสักคนก็พูดว่า อ๋อ เป็นเพื่อน xxx นี่เอง แล้วก็ตบท้ายด้วยประโยคสุดคลาสสิคว่า “แหม โลกกลมจริงๆ”

คงเป็นเหตุการณ์ที่เราเคยเจอมานับครั้งไม่ถ้วนนะครับ

ที่จริงแล้วเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของความบังเอิญที่น่าประหลาดใจอะไรครับ ในวงการวิทยาศาสตร์ หัวข้อนี้มีการศึกษากันอย่างจริงจังและพบว่า มีประโยชน์มากมายทีเดียว เรียกว่า ทฤษฏีโลกเล็ก (Small World Theory) เชื่อไหมครับ ทฤษฎีนี้บอกว่า คนทั้งโลกนี้สามารถเชื่อมโยงกันได้โดยผ่านคนเพียง 6 คน ยกตัวอย่างเช่น นายสมชาย อาจจะเชื่อมโยงกับประธานาธิบดีสหรัฐโดยมีเส้นทางดังนี้ สมชายรู้จัก A ซึ่งเป็นเพื่อนกับ B, B เป็นนักเรียนไทยที่อเมริการู้จักกับ C เพราะ C เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา, C รู้จักกับ D ซึ่งเป็นนักการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่ง, D รู้จักกับนักการเมืองตำแหน่งสูงคนหนึ่งคือ E และ E รู้จักกับโอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ เป็นต้น

การวิจัยเรื่องโลกเล็กนั้นเริ่มจาก นักคณิตศาสตร์ชาวฮังการีสองคนพบว่า สิ่งที่ทำให้เราเจอเหตุการณ์โลกเล็กบ่อยๆ คือ ธรรมชาติของการเกี่ยวพัน/ เชื่อมโยงกันภายในสังคม โดยมีปัจจัยสำคัญคือ การเกี่ยวพันกันแบบสุ่ม หมายความว่า เราไม่ได้รู้จักเฉพาะคนที่อยู่ข้างๆ  ในแวดวงอาชีพเดียวกัน หรือ แค่ในเครือญาติ แต่ละคนสามารถจะรู้จักกับใครก็ได้ ถ้าสมมติ ในสังคมมีคน 1 ล้านคน แต่ละคนเกี่ยวพันกับเฉพาะคนที่อยู่ข้างตนอีก 10 คน ถ้ามีข่าวลือเกิดขึ้นจะต้องใช้ขั้นตอนเป็นหมื่นๆขั้น เพื่อที่ข่าวลือจะกระจายไปทั่วสังคม  แต่ถ้าแต่ละคนรู้จักคน 10 คนเท่าเดิม แต่เป็นแบบสุ่มๆ ข่าวลือจะกระจายได้เร็วกว่ามาก เพียงการบอกต่อแค่ 6 ครั้ง ทุกคนก็จะได้รับข่าวลือ

ในปี 1967 นักจิตวิทยาชื่อ มิลแกรม แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ทำการทดลอง โดยเขาส่งกล่องของให้คน 296 คนในรัฐเนบราสก้าและบอสตัน แล้วขอให้คนได้รับส่งต่อให้กับคน”เป้าหมาย” ในแมสซาชูเซตส์ คนได้ส่งกล่องของมิได้ถูกบอกว่า คน”เป้าหมาย”ที่จะต้องส่งต่อนั้นอยู่ที่ไหน: มีเพียงชื่อ อาชีพ และข้อมูลรายละเอียดส่วนตัวอีกไม่กี่อย่าง มิลแกรมขอให้ผู้ได้รับกล่องของ ส่งต่อให้กับใครก็ตามที่รู้จักสนิทสนมเรียกชื่อแรกกันได้ เพื่อจะได้มีโอกาสสามารถส่งต่อกล่องของต่อไปอีก ผลที่ได้คือ กล่องของถูกส่งต่อถึงคนเป้าหมายจากการส่งต่อเพียง 5 ครั้ง แต่เมื่อเร็วๆนี้ นักวิจัยบางคนตั้งคำถามกับการทดลองของมิลแกรม เพราะพบว่า มิลแกรมใช้ข้อมูลส่วนน้อยมาสรุป  ที่จริงแล้ว กล่องของส่วนใหญ่ไปไม่ถึงปลายทาง จึงทำการทดลองซ้ำผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และพบว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ต้องอาศัยการส่งต่อประมาณ 6 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ก็ยังนับว่าเป็นตัวเลขที่น้อยมาก

ที่น่าสนใจคือ ในแต่ละเครือข่ายนั้น จะมีจุดสำคัญ ที่มีการเชื่อมโยงกับจุดอื่นๆมากกว่าปกติ จุดสองจุดใดๆ ถ้าเชื่อมโยงกันผ่านจุดสำคัญเหล่านี้ก็จะทำให้การเชื่อมโยงสั้นลงมาก ในทางกลับกัน หากจุดเหล่านี้เสียหายก็จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวง เช่น ในปี 2003 ที่รัฐโอไฮโอ ระบบตัดวงจรไฟฟ้าเสียหาย ส่งผลให้คน 50 ล้านคนในสหรัฐไม่มีไฟฟ้าใช้ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ธุรกิจสหรัฐสูญเสียประมาณ 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทฤษฎีนี้ยังมีแง่มุมที่น่าศึกษาคือ เรื่องของการแพร่กระจายของโรคระบาด การเกี่ยวพันแบบสุ่มกับผู้ที่นอกบริเวณโรคระบาด ทำให้การระบาดเล็กๆกลายเป็นโรคระบาดใหญ่ได้ นักวิทยาศาสตร์หลายคนก็เชื่อว่า การระบาดของโรคเอดส์ก็อธิบายได้ด้วยทฤษฏีนี้

ก็หยิบมาเล่าสู่กันฟังนะครับ ผมอยากจะเสนอมุมมองว่า เหตุการณ์บางอย่างที่เราคิดว่าเป็นเรื่องบังเอิญนั้น จริงๆแล้วก็มีทฤษฎีที่อธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ และไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจอะไรเลย และเนื้อหาที่มาคุยกันก็เป็นอุทาหรณ์อีกประการหนึ่ง ว่า เราสามารถเชื่อมโยงกับอีกคนที่เราไม่รู้จัก ผ่านคนแค่ไม่กี่คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัยนี้ เทคโนโลยีทำให้โลกเล็กลงเรื่อยๆ การเผยแพร่อะไรก็สามารถทำได้ง่ายๆ จะคิดจะทำอะไรก็ขอให้ใช้สติใคร่ครวญอย่างรอบคอบครับ  ความดีที่เพียรทำมาตลอดชีวิตอาจจะถูกทำลายได้ด้วยความคิดเพียงชั่ววูบ

ขอจบบทความนี้ด้วยวาทะของเบนจามิน แฟรงคลิน มหาบุรุษของสหรัฐ: “Glass, china , and reputation are easily cracked, and never well mended.” – แก้ว เครื่องถ้วยชาม และ ชื่อเสียง แตกร้าวได้ง่ายๆ และ ไม่มีทางที่จะประสานได้เหมือนเดิม

ฉบับนี้ก็สวัสดีครับ

อ้างอิง:  แมททิวส์, โรเบิร์ต. 25 ความคิด พลิกโลก (25 Big Ideas) ชัยวัฒน์ คุประตกุล แปล

ดร.อภิชาติ ชยานุภัทร์กุล

ผู้จัดการฝ่ายผลิต บจก. พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีล เซ็นเตอร์

ตีพิมพ์ในวารสารเพื่อนสเตนเลส ปีที่ 4 ฉบับที่ 38/ พฤษภาคม 2552




บทความจากวารสารเพื่อนสเตนเลส

ความแตกต่างของการทำวีคัทจากเครื่อง NC และ CNC
งานคิ้วและกรุยเชิงด้วยเทคนิค วีคัท ใช้ในงานตกแต่งอะไรบ้าง?
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
วิธีดูงานเนี้ยบ VS งานหยาบ ในการพับและม้วนโลหะของชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์
ตัดพับโลหะและการเชื่อมโลหะ ขั้นตอนในการทำชิ้นส่วนของเครื่องจักรหลายประเภท
5 สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนออกแบบงานพับเหล็กและงานดัดโค้ง
เทคนิคการทำ วีคัท อย่างไรให้ได้ชิ้นงานที่สวยสำหรับงานตกแต่ง
การนำท่อสแตนเลส ท่อเหล็ก และเพลาเหล็กขนาดต่าง ๆ ไปใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม
การทำสีโลหะทองเหลืองและทองแดง
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
งานสแตนเลสแบบใด ที่เหมาะกับการตัดพลาสมา
ความแตกต่างระหว่างคิ้วสแตนเลสสำเร็จรูปและคิ้วสแตนเลสแบบสั่งทำ
ไอเดีย เลือกสีคิ้วสแตนเลสให้เข้ากับกระเบื้อง สไตล์ Mood&Tone
คุณสมบัติของเหล็กเกรดต่าง ๆ ส่งผลต่อแรงดันในการตัดพับเหล็กอย่างไร
นวัตกรรม Anti-Fingerprint บนสแตนเลสแผ่น
การทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องเลเซอร์เหล็กกับ AutoCAD
เลเซอร์เหล็กรูปแบบใดบ้าง ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
ตัดเลเซอร์ 3D สามารถใช้ตัดงานขึ้นรูปโลหะแบบไหนได้บ้าง
เลเซอร์เหล็กและตัดพับเหล็ก เหมาะกับการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมใดบ้าง
ขั้นตอนการเตรียมพื้นผิวงานสแตนเลสสั่งทํา
เลเซอร์ตัดเหล็กกับความหนา-บางของวัสดุ
งานสแตนเลสสั่งทํากับงานสถาปัตยกรรม
เศษจากการเลเซอร์เหล็ก สามารถนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง
ลักษณะการใช้งานของคิ้วสแตนเลสตัว T และ ตัว U
การออกแบบและเลือกใช้หลอดไฟ LED สำหรับป้ายอักษรโลหะ
วิธีแก้รื้อ แก้ไขป้ายอักษรโลหะ ให้พื้นผิวเสียหายน้อยที่สุด
ปัจจัยที่ทำให้งานขึ้นรูปโลหะไม่ได้คุณภาพ มีอะไรบ้าง
ข้อห้ามที่ไม่ควรทำกับพื้นผิวคิ้ว/กรุยเชิงสแตนเลส
ทำไมต้องใช้ คิ้ว /กรุยเชิงสแตนเลสในการตกแต่งอาคาร
การติดตั้งคิ้วสแตนเลส กรุยเชิงสแตนเลส
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีป้ายอักษรโลหะและป้ายประเภทอื่น ๆ
ประโยชน์ของการใช้ป้ายอักษรโลหะในธุรกิจ
วิธีการบำรุงรักษาป้ายอักษรโลหะเพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนาน
ไอเดียการออกแบบป้ายอักษรโลหะให้เหมาะกับธุรกิจ
ประโยชน์ของการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
วิธีการพับโลหะแผ่น
ขั้นตอนการขัดผิวงานสแตนเลส Finishing stainless steel
การเปรียบเทียบ Punching สแตนเลส กับวิธีการอื่น ๆ ในการปั๊มเจาะรูโลหะ
ข้อดีของการใช้สแตนเลสเป็นหน้ากากอาคาร
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
ประโยชน์และการทำงาน รวมถึงข้อจำกัดของงานวีคัท
ปัจจัยที่สำคัญและเทคนิคการเชื่อมเลเซอร์ในงานอุตสาหกรรม
การบำรุงรักษาเครื่องตัดเลเซอร์ เพื่อให้ได้งานตัดเลเซอร์ที่มีคุณภาพ
ตกแต่งบ้านให้ดูหรูหรา ทันสมัย ด้วยกรุยเชิงสแตนเลส
งานตัดพับเหล็กที่มีคุณภาพ มีลักษณะเป็นอย่างไร
ปัจจัยในเลือกเกรดสแตนเลสแผ่นให้เหมาะกับการใช้งาน
มาทำความรู้จักคุณลักษณะของพื้นผิวสแตนเลสแผ่นแต่ละชนิด
เครื่องเลเซอร์ตัดเหล็ก กับงานอุตสาหกรรม
การตัดสแตนเลสแผ่นด้วยเครื่องจักรเลเซอร์ VS แรงงานคน
คุณสมบัติของราวบันไดสแตนเลสและกับการตกแต่งอาคาร
วิธีการดูแลรักษาสแตนเลสแผ่น (แผ่นสีเงิน)
การทำสีโลหะด้วยสีฝุ่นและสีน้ำมัน แตกต่างกันอย่างไร
งานสแตนเลสสั่งทำ กับการตกแต่งบ้านและอาคาร
ไอเดียออกแบบป้ายอักษรโลหะอย่างไร ให้ร้านค้าดูสวยโดดเด่น
กระบวนการในการขึ้นรูปโลหะ
การเลือกใช้แผ่นสแตนเลสสีในงานประกอบ
ความแตกต่างระหว่าง คิ้วสเเตนเลส บัวสเเตนเลสและอะลูมิเนียม
เครื่องตัดเลเซอร์มีกี่ประเภท
งานสแตนเลสสั่งทำ เชื่อมสแตนเลส เชื่อมเหล็ก
สแตนเลสแผ่นกับการทำฝ้าเพดาน
รอยต่อการเชื่อมเหล็กในงานโครงสร้าง
เครื่องจักรญี่ปุ่นที่มีมาตรฐานสูง ส่งผลต่อคุณภาพของงานตัดพับเหล็ก ตัดสแตนเลสอย่างไร
ทำไมต้องใช้แผ่นสแตนเลสสี ของ BLISS metal
ก่อนทำป้ายอักษรโลหะขนาดใหญ่ ต้องรู้อะไรบ้าง
วิวัฒนาการของการทำสีสแตนเลส
งานสแตนเลสกับงาน Interior Design
งานโลหะ ตัดเลเซอร์ พับ ม้วนโลหะแผ่น เจาะรู เชื่อม ทำสี ครบจบวงจรที่ P&S Stainless
สแตนเลสกับสนิม
ปัจจัยที่มีผลกับราคาของงานขึ้นรูปโลหะ ทำไมราคาของแต่ละที่ถึงต่างกัน
Give and Take
อลูมิเนียม
Big Data Analytics
Win – Win
ธุรกิจเพื่อผู้สูงอายุ
จริยธรรมในธุรกิจ
Infographics
เดินประชุม
Internet of Things (IoT)
โฟกัสกลุ่มเป้าหมาย article
ศรัทธากับความจริง
โลกสมัยใหม่กับพ่อค้าคนกลาง
รถยนต์จากบริษัท IT
พลังแห่งการลืม
AND THIS TOO SHALL PASS
Coworking Space
SMALL IS BEAUTIFUL
การใช้ระบบ IT ในองค์กร
เซกานิก เอฟเฟค
เยี่ยมชมโรงงานที่ญี่ปุ่น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาสเตนเลส
Sheet Metal Exhibitions
เทคโนโลยีที่ล้มเหลว
ไมอีลิน
Frank Gehry กับงานสถาปัตยกรรมสเตนเลส
พัฒนาการของ Metal 3D printer
ความเป็นเยอรมัน
Folding Machine article
ความไร้เหตุผลของความเห็นอกเห็นใจ article
EoS กับ Tesla



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (37102)

สุ้ดยอด

ผู้แสดงความคิดเห็น เต้ วันที่ตอบ 2009-11-04 12:27:25



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล