ReadyPlanet.com




80/20

มีทฤษฎีที่น่าสนใจอยู่เรื่องหนึ่ง ซึ่งผมได้ลองศึกษาดูแล้วนำมาใช้กับการดำเนินงานและเรื่องราวๆต่างที่พบเห็น แล้วพบว่า เป็นตัวเลขที่น่าสนใจทีเดียวครับ ทฤษฎีนี้ชื่อว่า กฎ 80/20 นักวิชาการผู้คิดค้นหลักการนี้เป็นชาวอิตาลี ชื่อ Vilfredo Pareto ซึ่งเค้าได้ทำการศึกษาเมื่อปี ค.ศ. 1906 ก็เป็นเวลากว่า 100 ปีมาแล้วนะครับ ต่อมาก็ได้พัฒนาเป็นเครื่องมือการบริหารจัดการอย่างหนึ่งในทางวิศวกรรม เรียกว่า Pareto’s Diagram กฎ 80/20 นั้นจะเกี่ยวกับ ปรากฎการณ์ของความไม่สมดุลของสิ่งต่างๆในโลกใบนี้ จุดเริ่มต้นนั้นมาจาก Pareto ได้ลองตั้งข้อสังเกต เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของความมั่งคั่งกับจำนวนประชากรในอิตาลี และพบว่า ร้อยละ 80 ของรายได้ทั้งหมดของประเทศ ไปตกอยู่ที่ ร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และยังพบว่า สัดส่วนลักษณะนี้ก็เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆเช่นกัน จึงตั้งชื่อว่า Pareto Principle หรือ กฎ 80/20  ตัวอย่างที่อาจจะฟังดูใกล้ตัวสักหน่อยก็เช่น  ในคลังสินค้าต่างๆ มูลค่าสินค้าที่เคลื่อนย้ายออกบ่อย 20% แรก จะมีมูลค่ารวมกันถึง 80% ของมูลค่าสินค้าทั้งหมดในคลังสินค้า

ผมลองดูข้อมูลในบริษัทผมเอง ก็พบว่า หลายๆสิ่งที่เกิดขึ้นก็เป็นไปในลักษณะใกล้เคียงกับกฎ 80/20 นี้ เช่น ยอดขาย 80% มาจากจำนวนลูกค้าประมาณ 20%, จำนวนของเสีย 80% มาจากจำนวนสาเหตุประมาณ 20% เป็นต้น ซึ่งก็อาจจะไม่ใช่ 80/20 เป๊ะๆ แต่ก็เรียกว่า ใกล้เคียงทีเดียว อันที่จริง ตัวเลข 80 และ 20 นี้ เป็นเปอร์เซ็นต์ที่มาจากข้อมูลคนละชุด จึงไม่จำเป็นที่ต้องรวมกันแล้วได้ 100 อาจจะเป็น 80/30, 70/25 หรืออาจจะเป็น 90/10 ก็เป็นได้ แต่จุดที่น่าสนใจคือ ความจริงที่ว่า เปอร์เซ็นต์ส่วนใหญ่ของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น (output) มาจากเปอร์เซ็นต์ส่วนน้อยของสิ่งที่ให้กำเนิดมัน (input) ถามว่า ข้อมูลตรงนี้มีประโยชน์อย่างไร? คำตอบคือ ความสัมพันธ์เหล่านี้สามารถช่วยให้เราดำเนินการตัดสินใจในการบริหารงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ  ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเช่น ในปี 1963 บริษัท IBM สำรวจพบว่าร้อยละ 80 ของเวลาและทรัพยากรในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดจะเป็นการใช้งานจากโค้ดของ Operating System เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ดังนั้น IBM จึงได้ปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้ใช้ประโยชน์จากส่วนร้อยละ 20 นี้ให้มากขึ้น ทำให้ส่วนนี้สามารถถูกใช้งานได้อย่างสะดวกและง่ายขึ้น

ในทางวิศวกรรมนั้น มีการนำกฎ 80/20 นี้มาประยุกต์ใช้ เรียกว่า Pareto’s Diagram คือ การศึกษาข้อมูลสองกลุ่มแล้วดูความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ที่ใช้กันมากก็คือ จำนวนของเสียกับจำนวนสาเหตุของเสีย  โดยนำข้อมูลของเสียที่ช่วงเวลาหนึ่ง แล้วเอาจำนวนของเสียเป็นแกน y และ สาเหตุของเสียเป็นแกน x โดยมากจะพบว่า จำนวนของเสียส่วนมากมาจากสาเหตุไม่กี่สาเหตุ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เราควรจะทุ่มทรัพยากรลงไปในการแก้ไขสาเหตุไม่กี่สาเหตุนี้ที่ทำให้เกิดเปอร์เซ็นต์ส่วนใหญ่ของจำนวนของเสียทั้งหมด แทนที่จะสูญเสียทรัพยากรไปในส่วนอื่นๆซึ่งแท้จริงแล้วไม่มีผลต่อจำนวนของเสียทั้งหมดมากนัก

ในปี 1949  George K. Zipf นักสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้นำกฎของ Pareto มาประยุกต์ และเรียกว่า กฎของการออกแรงน้อยที่สุด (Principle of Least Effort) และต่อมาได้นำแนวคิดนี้ไปใช้กันอย่างแพร่หลายในการค้นหาข้อมูลในห้องสมุด นอกจากนั้นวิศวกรอเมริกันชื่อ Joseph Juran ผลักดันให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Quality Revolution ระหว่าง 1950 – 1990 โดยเริ่มกระบวนการพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ญี่ปุ่น ในปี 1953 ต่อมาได้พัฒนากลายเป็นแนวคิดของ Total Quality Control และ Six Sigma ในเวลาต่อมา

            กฎนี้ยังสามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน เหมือนเป็นหลักที่คอยเตือนให้เราทำสิ่งที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดจากทรัพยากรที่มีอยู่ เวลาหนึ่งวันของเรานั้นมีจำกัด พลังงานของเรานั้นมีจำกัด มันควรจะถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ที่สุด และมันควรจะถูกใช้ไปกับเจ้า 20% ที่มีความหมายที่สุดของสิ่งที่เราทำทั้งหมดครับ คำถามสำคัญคือ สำหรับตัวเราเองแล้ว อะไรคือ 20% นั้นที่ทำให้เกิดผล 80% ถ้ามีโอกาส ลองสำรวจตัวเองดูละกันนะครับ ฉบับนี้ก็ขอลาไปก่อน สวัสดีครับ   

 

อ้างอิง http://www.vcharkarn.com โดย ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ 

http://management.about.com/cs/generalmanagement/a/Pareto081202.htm

 

ดร.อภิชาติ ชยานุภัทร์กุล

ผู้จัดการฝ่ายผลิต บจก. พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีล เซ็นเตอร์

ตีพิมพ์ในวารสารเพื่อนสเตนเลส ปีที่ 3 ฉบับที่ 26/ พฤษภาคม 2551




บทความจากวารสารเพื่อนสเตนเลส

ความแตกต่างของการทำวีคัทจากเครื่อง NC และ CNC
งานคิ้วและกรุยเชิงด้วยเทคนิค วีคัท ใช้ในงานตกแต่งอะไรบ้าง?
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
วิธีดูงานเนี้ยบ VS งานหยาบ ในการพับและม้วนโลหะของชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์
ตัดพับโลหะและการเชื่อมโลหะ ขั้นตอนในการทำชิ้นส่วนของเครื่องจักรหลายประเภท
5 สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนออกแบบงานพับเหล็กและงานดัดโค้ง
เทคนิคการทำ วีคัท อย่างไรให้ได้ชิ้นงานที่สวยสำหรับงานตกแต่ง
การนำท่อสแตนเลส ท่อเหล็ก และเพลาเหล็กขนาดต่าง ๆ ไปใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม
การทำสีโลหะทองเหลืองและทองแดง
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
งานสแตนเลสแบบใด ที่เหมาะกับการตัดพลาสมา
ความแตกต่างระหว่างคิ้วสแตนเลสสำเร็จรูปและคิ้วสแตนเลสแบบสั่งทำ
ไอเดีย เลือกสีคิ้วสแตนเลสให้เข้ากับกระเบื้อง สไตล์ Mood&Tone
คุณสมบัติของเหล็กเกรดต่าง ๆ ส่งผลต่อแรงดันในการตัดพับเหล็กอย่างไร
นวัตกรรม Anti-Fingerprint บนสแตนเลสแผ่น
การทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องเลเซอร์เหล็กกับ AutoCAD
เลเซอร์เหล็กรูปแบบใดบ้าง ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
ตัดเลเซอร์ 3D สามารถใช้ตัดงานขึ้นรูปโลหะแบบไหนได้บ้าง
เลเซอร์เหล็กและตัดพับเหล็ก เหมาะกับการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมใดบ้าง
ขั้นตอนการเตรียมพื้นผิวงานสแตนเลสสั่งทํา
เลเซอร์ตัดเหล็กกับความหนา-บางของวัสดุ
งานสแตนเลสสั่งทํากับงานสถาปัตยกรรม
เศษจากการเลเซอร์เหล็ก สามารถนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง
ลักษณะการใช้งานของคิ้วสแตนเลสตัว T และ ตัว U
การออกแบบและเลือกใช้หลอดไฟ LED สำหรับป้ายอักษรโลหะ
วิธีแก้รื้อ แก้ไขป้ายอักษรโลหะ ให้พื้นผิวเสียหายน้อยที่สุด
ปัจจัยที่ทำให้งานขึ้นรูปโลหะไม่ได้คุณภาพ มีอะไรบ้าง
ข้อห้ามที่ไม่ควรทำกับพื้นผิวคิ้ว/กรุยเชิงสแตนเลส
ทำไมต้องใช้ คิ้ว /กรุยเชิงสแตนเลสในการตกแต่งอาคาร
การติดตั้งคิ้วสแตนเลส กรุยเชิงสแตนเลส
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีป้ายอักษรโลหะและป้ายประเภทอื่น ๆ
ประโยชน์ของการใช้ป้ายอักษรโลหะในธุรกิจ
วิธีการบำรุงรักษาป้ายอักษรโลหะเพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนาน
ไอเดียการออกแบบป้ายอักษรโลหะให้เหมาะกับธุรกิจ
ประโยชน์ของการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
วิธีการพับโลหะแผ่น
ขั้นตอนการขัดผิวงานสแตนเลส Finishing stainless steel
การเปรียบเทียบ Punching สแตนเลส กับวิธีการอื่น ๆ ในการปั๊มเจาะรูโลหะ
ข้อดีของการใช้สแตนเลสเป็นหน้ากากอาคาร
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
ประโยชน์และการทำงาน รวมถึงข้อจำกัดของงานวีคัท
ปัจจัยที่สำคัญและเทคนิคการเชื่อมเลเซอร์ในงานอุตสาหกรรม
การบำรุงรักษาเครื่องตัดเลเซอร์ เพื่อให้ได้งานตัดเลเซอร์ที่มีคุณภาพ
ตกแต่งบ้านให้ดูหรูหรา ทันสมัย ด้วยกรุยเชิงสแตนเลส
งานตัดพับเหล็กที่มีคุณภาพ มีลักษณะเป็นอย่างไร
ปัจจัยในเลือกเกรดสแตนเลสแผ่นให้เหมาะกับการใช้งาน
มาทำความรู้จักคุณลักษณะของพื้นผิวสแตนเลสแผ่นแต่ละชนิด
เครื่องเลเซอร์ตัดเหล็ก กับงานอุตสาหกรรม
การตัดสแตนเลสแผ่นด้วยเครื่องจักรเลเซอร์ VS แรงงานคน
คุณสมบัติของราวบันไดสแตนเลสและกับการตกแต่งอาคาร
วิธีการดูแลรักษาสแตนเลสแผ่น (แผ่นสีเงิน)
การทำสีโลหะด้วยสีฝุ่นและสีน้ำมัน แตกต่างกันอย่างไร
งานสแตนเลสสั่งทำ กับการตกแต่งบ้านและอาคาร
ไอเดียออกแบบป้ายอักษรโลหะอย่างไร ให้ร้านค้าดูสวยโดดเด่น
กระบวนการในการขึ้นรูปโลหะ
การเลือกใช้แผ่นสแตนเลสสีในงานประกอบ
ความแตกต่างระหว่าง คิ้วสเเตนเลส บัวสเเตนเลสและอะลูมิเนียม
เครื่องตัดเลเซอร์มีกี่ประเภท
งานสแตนเลสสั่งทำ เชื่อมสแตนเลส เชื่อมเหล็ก
สแตนเลสแผ่นกับการทำฝ้าเพดาน
รอยต่อการเชื่อมเหล็กในงานโครงสร้าง
เครื่องจักรญี่ปุ่นที่มีมาตรฐานสูง ส่งผลต่อคุณภาพของงานตัดพับเหล็ก ตัดสแตนเลสอย่างไร
ทำไมต้องใช้แผ่นสแตนเลสสี ของ BLISS metal
ก่อนทำป้ายอักษรโลหะขนาดใหญ่ ต้องรู้อะไรบ้าง
วิวัฒนาการของการทำสีสแตนเลส
งานสแตนเลสกับงาน Interior Design
งานโลหะ ตัดเลเซอร์ พับ ม้วนโลหะแผ่น เจาะรู เชื่อม ทำสี ครบจบวงจรที่ P&S Stainless
สแตนเลสกับสนิม
ปัจจัยที่มีผลกับราคาของงานขึ้นรูปโลหะ ทำไมราคาของแต่ละที่ถึงต่างกัน
Give and Take
อลูมิเนียม
Big Data Analytics
Win – Win
ธุรกิจเพื่อผู้สูงอายุ
จริยธรรมในธุรกิจ
Infographics
เดินประชุม
Internet of Things (IoT)
โฟกัสกลุ่มเป้าหมาย article
ศรัทธากับความจริง
โลกสมัยใหม่กับพ่อค้าคนกลาง
รถยนต์จากบริษัท IT
พลังแห่งการลืม
AND THIS TOO SHALL PASS
Coworking Space
SMALL IS BEAUTIFUL
การใช้ระบบ IT ในองค์กร
เซกานิก เอฟเฟค
เยี่ยมชมโรงงานที่ญี่ปุ่น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาสเตนเลส
Sheet Metal Exhibitions
เทคโนโลยีที่ล้มเหลว
ไมอีลิน
Frank Gehry กับงานสถาปัตยกรรมสเตนเลส
พัฒนาการของ Metal 3D printer
ความเป็นเยอรมัน
Folding Machine article
ความไร้เหตุผลของความเห็นอกเห็นใจ article
EoS กับ Tesla



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล