ReadyPlanet.com




EOQ

ฉบับนี้ขอเขียนบทความเกี่ยวกับทฤษฎีด้านการบริหารจัดการอีกสักฉบับนะครับ ซึ่งก็จะเป็นเรื่องของการจัดการพัสดุคงคลังในส่วนของการสั่งซื้อ ในการดำเนินธุรกิจนั้น พัสดุคงคลังเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทั้งในธุรกิจซื้อมา-ขายไป และ ธุรกิจการผลิต หากเรามีพัสดุคงคลังน้อยก็จะไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้า หรือ นำไปใช้เพื่อการผลิต ในขณะเดียวกัน หากมีพัสดุคงคลังมากเกินไป ก็จะทำให้ทุนจม, เปลืองเนื้อที่จัดเก็บ และ สำหรับพัสดุบางประเภทก็อาจเสื่อมสภาพไปตามเวลา เช่นพวกเคมีภัณฑ์ หรือ วัตถุดิบบางประเภท คำถามคือ ถ้าเช่นนั้นเราควรจะเก็บเท่าไหร่ และ สั่งซื้อเมื่อไหร่ เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

ค่าใช้จ่ายในการบริหารพัสดุคงคลังนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. ค่าใช้จ่ายที่แปรผันตามจำนวนครั้งของการสั่งซื้อ คือ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ต้องเสียในกระบวนการสั่งซื้อแต่ละครั้ง เช่น ค่าใช้จ่ายในการติดต่อ/ติดตามการสั่งซื้อ, การขนส่ง, การจัดการด้านบัญชี/เอกสาร
  2. ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาพัสดุ ประกอบด้วย ค่าเช่าสถานที่, ค่าเสื่อมคุณภาพ, ค่าดอกเบี้ยในทุนที่จมไป, ค่าใช้จ่ายในการควบคุมสภาวะการเก็บ เช่น อุณหภูมิ/ความชื้น ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะแปรผันตามจำนวนพัสดุที่เก็บไว้

 เราจะสังเกตเห็นได้ว่า ค่าใช้จ่ายทั้งสองประเภทนี้จะสวนทางกันอยู่ คือ หากเราสั่งซื้อบ่อยๆ ก็จะทำให้เราสามารถเก็บพัสดุน้อยลง หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ เราต้องเสียค่าใช้จ่ายในข้อ 1. มาก แต่จะเสียค่าเก็บรักษาน้อย แต่หากเราเก็บรักษาพัสดุมาก ก็จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อน้อย แต่เสียค่าเก็บรักษามาก การหาขนาดที่ประหยัดในการสั่งซื้อแต่ละครั้ง (Economic Order Quantity) คือการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เข้าช่วยเพื่อให้เราหาปริมาณสั่งซื้อที่ทำให้เสียค่าใช้จ่ายรวมน้อยที่สุด

 

 

 

ตัวอย่างในรูปที่ 1 แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของค่าใช้จ่ายทั้งสองประเภท โดยสมมติว่าปริมาณที่เราต้องการสั่งซื้อทั้งหมด(ต่อปี) คือ 1000 หน่วย  เส้นประคือค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสั่งซื้อ และเส้นทึบคือ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ซึ่งจะแปรผันตามจำนวนที่เก็บ เส้นที่อยู่ด้านบนคือค่าใช้จ่ายรวม เราจะเห็นได้ว่า จุดที่ทั้งสองเส้นตัดกันคือ จุดที่ค่าใช้จ่ายรวมน้อยที่สุด เมื่อลากลงมาตัดกับแกน X ก็คือปริมาณสั่งซื้อที่ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุด ในการคำนวณหาค่าปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุดนี้ เราสมมติให้

A = ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ (บาท/ใบสั่งซื้อ)

S = ความต้องการผลิตภัณฑ์ของลูกค้า/ฝ่ายผลิต (หน่วย/ปี)

I = ค่าเก็บรักษาพัสดุ (บาท/หน่วย/ปี)

C = ค่าใช้จ่ายทั้งหมด (บาท/ปี)

Q = ปริมาณที่สั่งซื้อในแต่ละครั้ง (หน่วย)

ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ/ปี จะเท่ากับ A x (S/Q) บาท

ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาพัสดุคงคลัง จะเท่ากับ I x (Q/2) โดย Q/2 คือค่าเฉลี่ยของพัสดุที่อยู่ในคลัง

เราจะได้  C = A x (S/Q) + I x (Q/2)

เมื่อแก้สมการนี้เราจะได้ปริมาณที่สั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด (Q*) =

และ ค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด (C*) =

 

ในการใช้สูตรคำนวณนี้ เราต้องเข้าใจเสียก่อนว่า แบบจำลองทั้งหมดถูกสมมติขึ้นมาภายใต้สภาวการณ์หนึ่งๆ ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นมีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงอีกมากมาย เช่น ราคาสินค้าในวันนี้กับอีกสองเดือนข้างหน้าอาจจะไม่เท่ากัน หากเราสั่งซื้อไว้ก่อนแม้จะเสียค่าเก็บรักษามากกว่า แต่ก็ทำให้ซื้อได้ถูกลง หรือ  หากสั่งเป็นจำนวนมากถึงระดับหนึ่ง จะได้ส่วนลดพิเศษ ซึ่งทำให้เราประหยัดได้มากกว่า แม้จะมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาที่เพิ่มขึ้น หรือ เราจอาจจะมีข้อจำกัดด้านพื้นที่จัดเก็บหรือการเสื่อมสภาพของพัสดุ ทำให้ไม่สามารถเก็บสต๊อกไว้ได้เกินจำนวนหนึ่งๆ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยภายนอกอีกหลายๆปัจจัย ที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา, ภาษี, ราคาน้ำมัน, ความผันผวนของราคาวัสดุในตลาด, ความต้องการผลิตภัณฑ์ของตลาด ฯลฯ ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ต้องอาศัยจากข้อมูลด้านอื่นๆ และ การวิเคราะห์จากประสบการณ์เข้าช่วย

ทฤษฎีต่างๆนั้นสามารถช่วยเราได้ในระดับหนึ่งในการสร้างกระบวนการคิด/วิเคราะห์/ประยุกต์ใช้  แต่ผมเชื่อว่า สิ่งที่สำคัญกว่า คือสามัญสำนึกและประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเรื่องแบบนี้ต้องบอกว่า สอนกันยาก เพราะส่วนหนึ่งนั้นมาจากการปลูกฝังจากสภาพแวดล้อม, โอกาส, จังหวะชีวิต ส่วนหนึ่งนั้นมาจากไหวพริบ, ความคิดสร้างสรรค์, จินตนาการ และนั่นคือ เหตุผลที่เถ้าแก่หลายๆคนแม้จะไม่ได้รับการศึกษามากนักแต่สามารถประสบความสำเร็จได้ ส่วนตัวผมเองแล้วจึงเชื่อเสมอว่า การได้พูดคุยหรือศึกษาจากบุคคลเหล่านี้มีคุณค่าไม่น้อยไปกว่าการศึกษาในตำราเลยครับ

 เอาละครับ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าครับ

 

 

อ้างอิง หนังสือ”การวิจัยดำเนินงาน ภาค Deterministic” โดย อ.วิจิตร ตัณฑสุทธิ์ และคณะ

 

 

ดร.อภิชาติ ชยานุภัทร์กุล

ผู้จัดการฝ่ายผลิต บจก. พี แอนด์ เอส สเตนเลสสตีล เซ็นเตอร์

ตีพิมพ์ในวารสารเพื่อนสเตนเลส ปีที่ 3 ฉบับที่ 25 / เมษยน 2551 

 




บทความจากวารสารเพื่อนสเตนเลส

ความแตกต่างของการทำวีคัทจากเครื่อง NC และ CNC
งานคิ้วและกรุยเชิงด้วยเทคนิค วีคัท ใช้ในงานตกแต่งอะไรบ้าง?
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
วิธีดูงานเนี้ยบ VS งานหยาบ ในการพับและม้วนโลหะของชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์
ตัดพับโลหะและการเชื่อมโลหะ ขั้นตอนในการทำชิ้นส่วนของเครื่องจักรหลายประเภท
5 สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนออกแบบงานพับเหล็กและงานดัดโค้ง
เทคนิคการทำ วีคัท อย่างไรให้ได้ชิ้นงานที่สวยสำหรับงานตกแต่ง
การนำท่อสแตนเลส ท่อเหล็ก และเพลาเหล็กขนาดต่าง ๆ ไปใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม
การทำสีโลหะทองเหลืองและทองแดง
ไฟเบอร์เลเซอร์ตัดทองแดง ทองเหลือง เหมาะกับการผลิตชิ้นงานแบบไหน
งานสแตนเลสแบบใด ที่เหมาะกับการตัดพลาสมา
ความแตกต่างระหว่างคิ้วสแตนเลสสำเร็จรูปและคิ้วสแตนเลสแบบสั่งทำ
ไอเดีย เลือกสีคิ้วสแตนเลสให้เข้ากับกระเบื้อง สไตล์ Mood&Tone
คุณสมบัติของเหล็กเกรดต่าง ๆ ส่งผลต่อแรงดันในการตัดพับเหล็กอย่างไร
นวัตกรรม Anti-Fingerprint บนสแตนเลสแผ่น
การทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องเลเซอร์เหล็กกับ AutoCAD
เลเซอร์เหล็กรูปแบบใดบ้าง ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
ตัดเลเซอร์ 3D สามารถใช้ตัดงานขึ้นรูปโลหะแบบไหนได้บ้าง
เลเซอร์เหล็กและตัดพับเหล็ก เหมาะกับการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมใดบ้าง
ขั้นตอนการเตรียมพื้นผิวงานสแตนเลสสั่งทํา
เลเซอร์ตัดเหล็กกับความหนา-บางของวัสดุ
งานสแตนเลสสั่งทํากับงานสถาปัตยกรรม
เศษจากการเลเซอร์เหล็ก สามารถนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง
ลักษณะการใช้งานของคิ้วสแตนเลสตัว T และ ตัว U
การออกแบบและเลือกใช้หลอดไฟ LED สำหรับป้ายอักษรโลหะ
วิธีแก้รื้อ แก้ไขป้ายอักษรโลหะ ให้พื้นผิวเสียหายน้อยที่สุด
ปัจจัยที่ทำให้งานขึ้นรูปโลหะไม่ได้คุณภาพ มีอะไรบ้าง
ข้อห้ามที่ไม่ควรทำกับพื้นผิวคิ้ว/กรุยเชิงสแตนเลส
ทำไมต้องใช้ คิ้ว /กรุยเชิงสแตนเลสในการตกแต่งอาคาร
การติดตั้งคิ้วสแตนเลส กรุยเชิงสแตนเลส
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีป้ายอักษรโลหะและป้ายประเภทอื่น ๆ
ประโยชน์ของการใช้ป้ายอักษรโลหะในธุรกิจ
วิธีการบำรุงรักษาป้ายอักษรโลหะเพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนาน
ไอเดียการออกแบบป้ายอักษรโลหะให้เหมาะกับธุรกิจ
ประโยชน์ของการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
วิธีการพับโลหะแผ่น
ขั้นตอนการขัดผิวงานสแตนเลส Finishing stainless steel
การเปรียบเทียบ Punching สแตนเลส กับวิธีการอื่น ๆ ในการปั๊มเจาะรูโลหะ
ข้อดีของการใช้สแตนเลสเป็นหน้ากากอาคาร
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการพับโลหะ ตัดพับเหล็ก
ประโยชน์และการทำงาน รวมถึงข้อจำกัดของงานวีคัท
ปัจจัยที่สำคัญและเทคนิคการเชื่อมเลเซอร์ในงานอุตสาหกรรม
การบำรุงรักษาเครื่องตัดเลเซอร์ เพื่อให้ได้งานตัดเลเซอร์ที่มีคุณภาพ
ตกแต่งบ้านให้ดูหรูหรา ทันสมัย ด้วยกรุยเชิงสแตนเลส
งานตัดพับเหล็กที่มีคุณภาพ มีลักษณะเป็นอย่างไร
ปัจจัยในเลือกเกรดสแตนเลสแผ่นให้เหมาะกับการใช้งาน
มาทำความรู้จักคุณลักษณะของพื้นผิวสแตนเลสแผ่นแต่ละชนิด
เครื่องเลเซอร์ตัดเหล็ก กับงานอุตสาหกรรม
การตัดสแตนเลสแผ่นด้วยเครื่องจักรเลเซอร์ VS แรงงานคน
คุณสมบัติของราวบันไดสแตนเลสและกับการตกแต่งอาคาร
วิธีการดูแลรักษาสแตนเลสแผ่น (แผ่นสีเงิน)
การทำสีโลหะด้วยสีฝุ่นและสีน้ำมัน แตกต่างกันอย่างไร
งานสแตนเลสสั่งทำ กับการตกแต่งบ้านและอาคาร
ไอเดียออกแบบป้ายอักษรโลหะอย่างไร ให้ร้านค้าดูสวยโดดเด่น
กระบวนการในการขึ้นรูปโลหะ
การเลือกใช้แผ่นสแตนเลสสีในงานประกอบ
ความแตกต่างระหว่าง คิ้วสเเตนเลส บัวสเเตนเลสและอะลูมิเนียม
เครื่องตัดเลเซอร์มีกี่ประเภท
งานสแตนเลสสั่งทำ เชื่อมสแตนเลส เชื่อมเหล็ก
สแตนเลสแผ่นกับการทำฝ้าเพดาน
รอยต่อการเชื่อมเหล็กในงานโครงสร้าง
เครื่องจักรญี่ปุ่นที่มีมาตรฐานสูง ส่งผลต่อคุณภาพของงานตัดพับเหล็ก ตัดสแตนเลสอย่างไร
ทำไมต้องใช้แผ่นสแตนเลสสี ของ BLISS metal
ก่อนทำป้ายอักษรโลหะขนาดใหญ่ ต้องรู้อะไรบ้าง
วิวัฒนาการของการทำสีสแตนเลส
งานสแตนเลสกับงาน Interior Design
งานโลหะ ตัดเลเซอร์ พับ ม้วนโลหะแผ่น เจาะรู เชื่อม ทำสี ครบจบวงจรที่ P&S Stainless
สแตนเลสกับสนิม
ปัจจัยที่มีผลกับราคาของงานขึ้นรูปโลหะ ทำไมราคาของแต่ละที่ถึงต่างกัน
Give and Take
อลูมิเนียม
Big Data Analytics
Win – Win
ธุรกิจเพื่อผู้สูงอายุ
จริยธรรมในธุรกิจ
Infographics
เดินประชุม
Internet of Things (IoT)
โฟกัสกลุ่มเป้าหมาย article
ศรัทธากับความจริง
โลกสมัยใหม่กับพ่อค้าคนกลาง
รถยนต์จากบริษัท IT
พลังแห่งการลืม
AND THIS TOO SHALL PASS
Coworking Space
SMALL IS BEAUTIFUL
การใช้ระบบ IT ในองค์กร
เซกานิก เอฟเฟค
เยี่ยมชมโรงงานที่ญี่ปุ่น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาสเตนเลส
Sheet Metal Exhibitions
เทคโนโลยีที่ล้มเหลว
ไมอีลิน
Frank Gehry กับงานสถาปัตยกรรมสเตนเลส
พัฒนาการของ Metal 3D printer
ความเป็นเยอรมัน
Folding Machine article
ความไร้เหตุผลของความเห็นอกเห็นใจ article
EoS กับ Tesla



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล